Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79769
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญลักษณ์ พิชญกุล-
dc.contributor.authorมาศอุษา ฉัตรแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-07-15T10:46:23Z-
dc.date.available2024-07-15T10:46:23Z-
dc.date.issued2567-03-18-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79769-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to understand the attitudes towards working in the digital age of human resources employees of private companies in Thailand. And the information can be used to improve the human resource management structure to be modern and most efficient. Create competitiveness in the digital age of human resources employees. The tools used to collect data include online questionnaires. The sample group consisted of 400 employees of the human resources department of a private company in Thailand. The statistics used in the data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the study found that a total of 400 human resources employees. General information: Most are female, aged 23-40 years, with 10 years of work experience or more. They are human resources employees at the officer level working in the manufacturing business group. in a large business group. Number of employees more than 200 people and working in the eastern region. The total number of employees under responsibility is more than 1,000 people. The results of the study according to the theory used in the study found that Knowledge and understanding of the work roles of human resources employees in the digital age, including all roles, is at the highest level. The mean knowledge and understanding of the role of being a strategic partner and the role of being a supporter (Employee Champion) was at the highest level. As for the role of being a change agent and the role of being a human resource expert has an average level of knowledge and understanding at a high level. The results of the study according to the theory used in the study found that Feelings about the work role of human resources employees in the digital age, overall, for every role, are at the level of strong agreement. The role of being a strategic partner, the role of being a change agent and the role of being a human resources expert had an average level of feeling at the level of strongly agree. As for the role of being a supporter (Employee Champion), it was at the level of agreement. The results of the study according to the theory used in the study found that the average level of behavior towards working in the digital age of employees in the human resources department included an overview of every aspect of their role. It is at the level of behavior that is done frequently. These 3 roles are the strategic partner role, the change agent role, and the human resources expert role has an average level of behavior that is frequently performed as well. with only the role of being a supporter (Employee Champion) having an average level on a habitually.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectทัศนคติต่อการทำงานในยุคดิจิทัลen_US
dc.subjectพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์en_US
dc.subjectบริษัทเอกชนในประเทศไทยen_US
dc.titleทัศนคติต่อการทำงานในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริษัทเอกชนในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeAttitude towards work in the digital era of human resources department employee of private companies in Thailanden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพนักงานบริษัท -- ทัศนคติ-
thailis.controlvocab.thashการบริหารงานบุคคล-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-
thailis.controlvocab.thashบริษัทเอกชน -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติต่อการทำงานในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริษัทเอกชนในประเทศไทย และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ให้มีความทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริษัทเอกชนในประเทศไทย จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) มาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) เพื่อใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติต่อการทำงานในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำแนกตามขนาดธุรกิจและประเภทธุรกิจ และ ใช้วิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) เพื่อดูค่าเฉลี่ยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดจำนวน 400 คน ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 23-40 ปี ประสบการณ์ทำงาน 10 ปี ขึ้นไป เป็นพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในระดับพนักงาน/เจ้าหน้าที่ (Officer) ปฏิบัติงานในกลุ่มธุรกิจการผลิต (Manufacturing) อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ (จำนวนพนักงานมากกว่า 200 คน) โดยปฏิบัติงานอยู่เขตพื้นที่ภาคตะวันออก มีจำนวนพนักงานทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบมากกว่า 1,000 คน ผลการศึกษาตามทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทในการทำงานของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลภาพรวมทุกบทบาทอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในบทบาทการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) และบทบาทการเป็นผู้สนับสนุน (Employee Champion) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และบทบาทการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Administrative Expert) มีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาตามทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพบว่า ความรู้สึกที่มีต่อบทบาทในการทำงานของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลภาพรวมทุกบทบาทอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยบทบาทการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) บทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และบทบาทการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Administrative Expert) มีค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนบทบาทการเป็นผู้สนับสนุน (Employee Champion) อยู่ในระดับเห็นด้วย ผลการศึกษาตามทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพบว่า พบว่าค่าเฉลี่ยระดับของพฤติกรรมที่มีต่อการทำงานในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ภาพรวมของบทบาททุกด้าน อยู่ในระดับพฤติกรรมที่ทำบ่อยครั้ง ซึ่งบทบาททั้ง 3 ด้าน คือ บทบาทการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) บทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และบทบาทการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Administrative Expert) มีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมที่ทำบ่อยครั้งเช่นกัน โดยมีเพียงบทบาทการเป็นผู้สนับสนุน (Employee Champion) เท่านั้นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเป็นประจำ ผลการทดสอบสมมติฐานการศึกษา พบว่า ทั้งขนาดธุรกิจและประเภทธุรกิจ ส่งผลให้ทัศนคติต่อการทำงานในยุคดิจิทัลของพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
มาศอุษา ฉัตรแก้ว-621532122.pdf3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.