Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79766
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Kwanjit Duangsonk | - |
dc.contributor.advisor | Hathairat Thananchai | - |
dc.contributor.advisor | Apichai Tuanyok | - |
dc.contributor.author | Jedsada Kaewrakmuk | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-15T10:16:49Z | - |
dc.date.available | 2024-07-15T10:16:49Z | - |
dc.date.issued | 2024-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79766 | - |
dc.description.abstract | Melioidosis, caused by Burkholderia pseudomallei, is a severe bacterial disease prevalent in Thailand, particularly in the Northeast region, with high mortality rates. However, its incidence in southern Thailand has been less documented. This study focused on improving melioidosis surveillance in southern provinces, Songkhla and Phatthalung, where the disease was believed to be underreported. Over seven years, from 2014 to 2020, 473 cases were diagnosed, with a median age of 54, 60% of the patients were adults over 50 years of age, and 71.2% were male. Approximately 40% of the treated patients died, with a median time from admission to death of five days. Approximately, 60% of patients had at least one clinical risk factors: 40% had diabetes. Bacteremia and pneumonia were common manifestations. The number of monthly cases was associated with the amount of rainfall. The average annual incidence was 2.87 cases per 100,000 population, lower than the Northeast, but with comparable mortality rates, confirming the endemicity of melioidosis in southern Thailand. We also investigated the epidemiology and environmental presence of B. pseudomallei in southern Thailand. Multi-locus sequence typing (MLST) of 263 clinical isolates from 156 patients identified 72 distinct sequence types (STs), with some matching those from environmental samples collected by Finkelstein in southern Thailand during 1964-1967. Certain STs, including ST288, 84, 54, 289 and 64 were frequently found among patients. Additionally, we observed strain diversity with multiple STs in 13 of 59 patients, indicating exposure to various genotypes in environment. Environmental surveys in Songkhla Province revealed B. pseudomallei in soil and water samples, with a quarter of soil locations and water sources testing positive. Positive soil samples were prevalent in undisturbed area, animal farming and non-agricultural zones, while positive water samples were from waterfalls and streams. Rice paddies showed a lower positivity rate. These findings suggest a significant proportion of recent melioidosis cases stem from B. pseudomallei strains persisting in the environment for decades. Further characterization of recent environmental isolates is needed to understand the contemporary landscape of B. pseudomallei infections in southern Thailand, aiding regional threat assessment. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Molecular epidemiology of Melioidosis in Southern Thailand | en_US |
dc.title.alternative | การศึกษาระบาดวิทยาของโรคเมลิออยโดสิสในภาคใต้ของประเทศไทยด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Epidemiology | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Melioidosis | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Molecular biology | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | โรคเมลิออยโดสิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต มีสาเหตุมาจากเชื้อ Burkholderia pseudomallei พบโรคนี้ได้ทั่วประเทศไทย โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในภาคใต้ของประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเมลิออยโดสิส โดยทำการศึกษาที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ที่คาดว่ามีการรายงานการติดเชื้อที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลในช่วงปี 2014-2020 พบจำนวนผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาจำนวน 473 ราย โดยค่ามัธยฐานของอายุอยู่ที่ 54 ปี และ 60% ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ป่วย 71.2% เป็นเพศชาย พบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 40% ผู้ป่วยราว 60% มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคประจำตัวและพบว่า 40% เป็นเบาหวาน พยาธิสภาพที่พบได้มากเป็นติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบ พบอุบัติการณ์ของโรคได้สูงในฤดูฝน โดยเฉลี่ยพบอุบัติการณ์ 2.8 ราย ต่อ 100,000 ประชากร ถึงแม้ว่าในภาคใต้จะพบอุบัติการณ์ของโรคที่ต่ำกว่าที่รายงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่อัตราการเสียชีวิตก็อยู่ในระดับเดียวกัน จากข้อมูลสามารถกล่าวได้ว่า ภาคใต้ของประเทศไทยก็เป็นแหล่งระบาดของโรคเมลิออยโดสิสเช่นกัน วิทยานิพนธ์นี้ยังได้ทำการศึกษาทางระบาดวิทยาทางอณูชีววิทยา ด้วยเทคนิค Multi-locus sequence typing (MLST) และการหาเชื้อ B. pseudomallei จากสิ่งแวดล้อม โดยทำการศึกษา MLST จากเชื้อจำนวน 263 isolates ที่แยกได้จากผู้ป่วยจำนวน 156 ราย พบความแตกต่างของเชื้อเป็น 72 sequence types (STs) ซึ่งบาง ST มีความสอดคล้องกับเชื้อที่ถูกรายงานโดย Finkelstein ซึ่งได้ทำการศึกษาเชื้อจากสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ระหว่างปี 1964-1967. เชื้อ ST288, 84, 54, 289 และ 64 สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยจำนวน 59 ราย ที่ได้ทำ MLST มากกว่า 1 isolates พบผู้ป่วยจำนวน 13 ราย มีการติดเชื้อหลาย ST แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยมีการสัมผัสและได้รับเชื้อที่หลากหลายจากสิ่งแวดล้อมและยังสามารถบอกได้ว่า เชื้อที่เข้าสู่ผู้ป่วยในปัจจุบันเป็นเชื้อสายพันธ์เดิมเมื่อ 60 ปีก่อน ชี้ให้เห็นว่าเชื้อในสิ่งแวดล้อมในอดีตยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การศึกษาหาเชื้อจากสิ่งแวดล้อมในจังหวัดสงขลาในวิทยานิพนธ์นี้สามารถแยกเชื้อด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงจากตัวอย่างดินและน้ำ ซึ่งพบเชื้อได้ประมาณ 25% ของจำนวนสถานที่สุ่มเก็บตัวอย่าง โดยตัวอย่างดินพบเชื้อได้สูงจากพื้นที่รกร้าง ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ที่ไม่มีกิจกรรมทางการเกษตร ในขณะที่ตัวอย่างน้ำ ที่ผลเพาะเชื้อให้ผลบวก เป็นตัวอย่างที่มาจากน้ำตก และลำธาร แต่พบได้น้อยจากทุ่งนา การศึกษาลักษณะของสิ่งแวดล้อมและสามารถเพาะเลี้ยงแยกเชื้อได้ ทำให้มีความเข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศ ที่เป็นแหล่งเชื้อในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อที่ส่งต่อผู้คนในภูมิภาคที่ทำการศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | MED: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610751006-Jedsada Thesis.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.