Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79758
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorพงษ์กฤษฏิ์ จิโนen_US
dc.date.accessioned2024-07-15T01:29:42Z-
dc.date.available2024-07-15T01:29:42Z-
dc.date.issued2567-04-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79758-
dc.description.abstractThe study titled " Civil Society Politics in Public Legal Space: A Case Study of the Internet Law Reform Dialogue 2009-2020" has the following research questions: (1) What laws restricted freedom and political expression in Thailand during 2009-2020? (2) How did the Internet Law Reform Dialogue engage with civil society politics between 2009-2020? (3) What roles did the Internet Law Reform Dialogue play in collecting, campaigning, promoting, or monitoring laws and enhancing civil society politics during 2009-2020? The objectives of the study were (1) to investigate Thai politics during 2009-2020 that impacted the enforcement of laws related to public spaces for political expression, (2) to study the role of the Internet Law Reform Dialogue in promoting people's politics in Thai society during 2009-2020, (3) to examine civil society organizations that could collect, campaign, promote or monitor laws during that period. The study employed qualitative research methods, utilizing documentary research and in-depth interviews. Related documents of the Internet Law Reform Dialogue and relevant laws were studied. Interviews were conducted with 30 samples: six project staff, four academics, and 20 general public. The findings showed that the Internet Law Reform Dialogue included three main roles: (1) supporting expression of opinions in public political spaces and supporting political movements of the people, (2) building a legal database and driving political movements in important public political spaces, especially collecting data on political movements during 2019-2020, and (3) supporting civil society politics that allowed the public to participate in driving social policies and monitoring laws. The study also found that political power relations limited the public political spaces for the people, especially the restriction during 2009-2020 when the state selectively enforced many laws limiting political expression and activities. Therefore, it is crucial to support organizations that build public understanding of laws and political expression in public spaces, similar to the Internet Law Reform Dialogue, in Thai society.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเมืองเรื่องการต่อสู้ (Contentious Politic)en_US
dc.subjectโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)en_US
dc.titleการเมืองภาคประชาชนในพื้นที่สาธารณะทางกฎหมาย กรณีศึกษา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน พ.ศ.2552-2563en_US
dc.title.alternativeCivil society politics in public legal space: a case study of the Internet Law Reform Dialogue A.D.2009-2020en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการสื่อสารทางการเมือง-
thailis.controlvocab.thashประชาชน -- กิจกรรมทางการเมือง-
thailis.controlvocab.thashเสรีภาพในการแสดงออก-
thailis.controlvocab.thashเสรีภาพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง “การเมืองภาคประชาชนในพื้นที่สาธารณะทางกฎหมาย กรณีศึกษาโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน พ.ศ. 2552-2563” มีคำถามวิจัยประกอบด้วย (1) กฎหมายใดที่มีผลต่อการจำกัดเสรีภาพและการแสดงออกทางการเมืองในการเมืองไทยช่วง พ.ศ.2552 – 2563 (3)โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนมีบทบาทหรือหน้าที่ในการรวบรวม รณรงค์ ส่งเสริม หรือ ตรวจสอบกฎหมาย และ เสริมสร้างการเมืองภาคประชาชนระหว่างพ.ศ. 2552 -2563 อย่างไร และ (3) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนทำงานเชื่อมโยงกับการเมืองภาคประชาชนในระหว่างปี 2552 จนถึงปี 2563 อย่างไร และมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ (1) เพื่อศึกษาการเมืองไทยในช่วง 2552 –2564 ที่ส่งการผลต่อบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สาธารณะทางการเมืองในช่วง 2552 –2564 (2) เพื่อศึกษาพื้นที่สาธารณะทางการเมืองกรณีโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (Internet Law Reform Dialogue หรือ iLaw) ว่ามีบทบาทในส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนในสังคมไทยช่วง 2552 –2563 อย่างไร (3)เพื่อศึกษาองค์กรภาคประชาชนที่สามารถในการรวบรวมข้อคิดเห็น รณรงค์ ส่งเสริม หรือตรวจสอบกฎหมายในการเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality research) ด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ทั้งนี้ได้ศึกษาวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน จำนวน 6 คน 2. นักวิชาการ จำนวน 4 คน และ ประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าบทบาทของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ประการแรกคือ บทบาทในการสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะทางการเมืองและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในทางการเมือง ประการที่สองคือบทบาทในการสนับสนุนการเมืองภาคประชาสังคมที่ทำให้ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายทางสังคมและตรวจสอบกฏหมายต่างๆ และประการสุดท้ายคือ บทบาทในการทำฐานข้อมูลทางกฎหมายและการขับเคลื่อนทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะทางการเมืองที่สำคัญ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวทางการเมือง ระหว่าง พ.ศ. 2562-2563 นอกจากนี้ยังพบว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการเมืองได้ส่งผลต่อการจำกัดพื้นที่สาธารณะทางการเมืองของภาคประชาชน โดยเฉพาะการจำกัดพื้นที่สาธารณะทางการเมือง พ.ศ.2552 ถึง พ.ศ.2563 โดยปรากฏในรูปแบบที่รัฐเลือกบังคับใช้กฎหมายจำนวนมากที่ส่งต่อการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมือง ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนให้มีองค์กรที่สร้างความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย และการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะทางการเมืองแก่ประชาชนในลักษณะเดียวกันกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนให้มีมากขึ้นในสังคมไทยen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621931010-พงษ์กฤษฏิ์ จิโน.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.