Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79746
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตุลยา ตุลาดิลก-
dc.contributor.authorกมลรัช ผดุงกิจen_US
dc.date.accessioned2024-07-14T16:58:14Z-
dc.date.available2024-07-14T16:58:14Z-
dc.date.issued2567-03-25-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79746-
dc.description.abstractThis independent study investigated the factors affecting investment types of Master of Business Administration students at Chiang Mai University. Data were collected through questionnaires distributed to the entire population of Master of Business Administration students enrolled between 2019 – 2023 (student ID numbers 62-66), totaling 273 people. Questionnaires were distributed both online and offline. A total of 204 completed questionnaires were received, representing a 74.73% response rate. Data analysis employed descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and inferential statistics consisting of t-test, ANOVA. The majority of respondents were female, aged 22-26 years old, student ID 63. Their average monthly income ranged from 15,001 to 25,000 baht. Necessary and consumption expenses typically accounted for 20-40% of their income. Risk tolerance focused on consistent returns with minimal principal loss, while investment goals included generating regular income, achieving profit, and securing financial stability. The most popular investment type among respondents was the money market. This included options like bank deposits, savings lotteries, savings cooperatives, and life insurance. This study investigates the factors influencing investment affecting investment types of Master of Business Administration students at Chiang Mai University. The analysis identified six key priorities: risk, investment limitations, rate of return, duration, economic forecasts, and information sources, respectively. The study further explored the sub-factors within each priority. Risk focused on the issuing company's reliability. Investment limitations prioritized legitimacy and authorization. Rate of return emphasized the amount of profit generated. Duration valued the time it takes to see returns. Economic forecasts aimed for investments exceeding inflation. Lastly, information sources were most influenced by friend's investment disclosure. Finally, the hypothesis testing revealed that when gender, income, consumption, risk tolerance, and investment type are different, factors affecting investment types would be different.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการลงทุนของนักศึกษาen_US
dc.subjectMaster of Business Administration Studentsen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการลงทุนของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting investment types of master of Business Administration students at Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- นักศึกษา-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashการบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashการบริหารธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นอุดมศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการลงทุน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการลงทุนของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รหัสนักศึกษา 62 – 66 จำนวน 273 คน โดยแจกแบบสอบถามทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ได้รับการตอบกลับทั้งสิ้น จำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 74.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย สถิติทดสอบ t-test และ ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 22 – 26 ปี รหัสนักศึกษา 63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท รายจ่ายผูกพันต่อเดือนร้อยละ 20 – 40 ของรายได้ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อเดือนร้อยละ 20 – 40 ของรายได้ การยอมรับความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สามารถสูญเสียเงินต้นได้บางส่วน เน้นโอกาสได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป้าหมายการลงทุนเพื่อให้มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ ทำกำไรได้ มีความมั่นคงทางการเงิน รูปแบบการลงทุนที่ผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจเลือกมากที่สุด คือ การลงทุนในตลาดเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร, สลากออมทรัพย์, สหกรณ์ออมทรัพย์, ประกันชีวิต ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการลงทุนของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ความเสี่ยง รองลงมาคือ ข้อจำกัดในการลงทุน อัตราผลตอบแทน ระยะเวลา การคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน ตามลำดับ โดยปัจจัยย่อยสามารถสรุปได้ ดังนี้ ด้านความเสี่ยง ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกตราสาร/ระดมทุน ด้านข้อจำกัดในการลงทุน ให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยการลงทุนมีกฎหมายคุ้มครองหรือได้รับอนุญาตจากรัฐ ด้านอัตราผลตอบแทน ให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยการคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ด้านระยะเวลา ให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยระยะเวลาในการลงทุนจนได้ผลตอบแทนต้องคุ้มค่า ด้านการคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแต่ละปี และด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน ให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยการเผยแพร่การลงทุนของเพื่อน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อเดือน การยอมรับความเสี่ยง และรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการลงทุนแตกต่างกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631532036-กมลรัช ผดุงกิจ.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.