Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79709
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อลงกต แก้วโชติช่วงกูล | - |
dc.contributor.author | ภัสราวรีย์ ยินดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-12T00:56:18Z | - |
dc.date.available | 2024-07-12T00:56:18Z | - |
dc.date.issued | 2567-04-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79709 | - |
dc.description.abstract | According to the development of an information system for inventory management of honey products, the researcher had objectives to design and develop an information system for planning and managing inventory of packaging and labeling materials and to improve the system of demand forecasting for honey products to suit customers’ demands in each period, as well as to plan and manage the inventory. The data used in this study included average sales of finished honey goods, a total of 18 SKUs, and average demand for packages and labels for 21 SKUs. The mentioned data were from 2018 to 2020, and the tools used to develop the inventory management system use programming languages including 1) PHP language and 2) HTML language, etc. Moreover, MySQL is a program implemented for database management to develop the system, and the theories utilized to analyze the data in this research consisted of: 1) ABC analysis; 2) demand forecasting like simple moving average (SMA), weighted moving average (WMA), exponential smoothing, etc. 3) analysis of variance (VC), 4) determination of economic order quantity (Expo) and analysis of re-order points and inventory safety points, and 5) determination of the order quantity of silver meal and least unit cost, etc. The results were summarized as follows: 1) the development system developed in the form of a web application for inventory management of honey products since it is easy to access and convenient for use; 2) For the forecasting of honey goods for 18 SKU, it was concluded that the most suitable forecasting method by simple moving average for two items, weighted moving average (WMA), was seven items and nine items for economic order quantity (Expo). Also, the result of forecasting showed the tendency or opportunity that the total inventory materials will be used in 341,824 pieces divided into 170,912 packages and 170,912 labels, and 3) 21 SKUs analyzed by planning and management for inventory of packaging and labeling materials. It could be concluded that 1) ABC analysis for packages and labels discovered six items, accounting for 79.30% of the collection value in group A. For packages and labels in group B, there were six items, as calculated for 14.47% of the collection value, and in group C, there were nine items, or 6.22% of the value. 2) In the analysis of patterns or methods for determining the order quantity of packaging and labels for 21 SKUs, it was summarized that the priority classification: Type A had 1 fixed need and 5 unstable needs; Type B had 6 unstable needs; and Type C had 1 fixed need and 8 unstable needs. In addition, the policy used to manage inventory with constant and inconstant demand were determining economic order quantity (EOQ), silver meal (SM) and least unit cost (LUC). The ordering packages and labels for 21 SKUs were found to be: two items were compiled by economic order (EOQ), ten items for silver meal methods (SM), seven items for least unit cost methods (LUC), and two items for silver meal (SM) and least unit cost (LUC). The analysis was done to determine the appropriate order quantity. Anyhow, the researcher had an opinion that the economic order quantity (EOQ) is easy and convenient to order; thus, this method was chosen with all 21 items, and the total cost was 32,627.87 baht. To summarize, the EOQ could reduce total costs by 44,098.62 baht, or 56.73%, and when compared to before using the EOQ, the total cost was 66,153.45 baht. After using EOQ, which had a total cost of 32,627.37 baht, it showed that it could reduce the total cost by 32,525.58, or 49.17%. 4) Four factors were considered in the assessment of the information system development for honey goods inventory management: Aspects 1 and 2 both had high levels of opinion and overall averages of 4.5 and 4, respectively; aspect 3 was easy to use and had an overall average of 4.33 and a high level of opinion, and aspect 4 was correctness in the operating system, with an overall average of 4.83 and the highest level of opinion. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง | en_US |
dc.title.alternative | Development of information technology system for inventory management of honey products | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การควบคุมสินค้าคงคลัง | - |
thailis.controlvocab.thash | สินค้าคงคลัง | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการวัสดุ | - |
thailis.controlvocab.thash | น้ำผึ้ง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | จากการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการวางแผนและจัดการวัสดุคงคลังของบรรจุภัณฑ์และฉลาก และเพื่อพัฒนาระบบการพยากรณ์ความต้องการของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งที่เหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละช่วงเวลา และใช้ในการวางแผนและจัดการคลัง โดยข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้แก่ ข้อมูลยอดขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งสำเร็จรูป (Finished Goods) จำนวน 18 SKU และข้อมูลความต้องการเฉลี่ยของบรรจุภัณฑ์และฉลาก จำนวน 21 SKU โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลของปี 2561 ถึง 2563 และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลังใช้ภาษาโปรแกรมมิ่ง ได้แก่ 1) ภาษา PHP และ 2) ภาษา HTML เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้โปรแกรม MySQL เป็นโปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูลในการพัฒนาระบบ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัย มีดังนี้ 1) ทฤษฎีการหาระดับความสำคัญ (ABC Analysis) 2) ทฤษฎีการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) เช่น วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (WMA) และวิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียล (Exponential Smoothing) เป็นต้น 3) ทฤษฎีการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (VC) 4) การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อแบบ Economic Order Quantity รวมถึงการวิเคราะห์จุดสั่งซื้อซ้ำและจุดความปลอดภัยของสินค้าคงคลัง และ 5) การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อแบบ Silver Meal และ Least Unit Cost เป็นต้น ผลการศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งที่ได้พัฒนาออกมาให้อยู่ในรูปแบบของ Web Application เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้งานสะดวก 2) ผลการพยากรณ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง จำนวน 18 SKU สรุปได้ว่าวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมของวิธีการวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) มีจำนวน 2 รายการ วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (WMA) มีจำนวน 7 รายการ และวิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียล (Expo) มีจำนวน 9 รายการ เป็นต้น และจากผลพยากรณ์จะมีแนวโน้มหรือโอกาสที่วัสดุคงคลังรวมจะถูกใช้ 341,824 ชิ้น โดยแบ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ 170,912 ชิ้น และฉลาก 170,912 ชิ้น 3) ผลการวิเคราะห์ด้านการวางแผนและการจัดการสินค้าคงคลังของบรรจุภัณฑ์และฉลาก จำนวน 21 SKU สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การหาระดับความสำคัญ (ABC Analysis) บรรจุภัณฑ์และฉลากกลุ่ม A มีจำนวน 6 รายการ คิดเป็น 79.30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการสะสม บรรจุภัณฑ์และฉลากกลุ่ม B มีจำนวน 6 รายการคิดเป็น 14.47 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการสะสม บรรจุภัณฑ์และฉลากกลุ่ม C มีจำนวน 9 รายการ คิดเป็น 6.22 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการสะสม 2) การวิเคราะห์หารูปแบบหรือวิธีการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อของบรรจุภัณฑ์และฉลาก จำนวน 21 SKU สามารถสรุปได้ว่าจากการจัดระดับความสำคัญประเภท A มีความต้องการคงที่ 1 รายการ และความต้องการไม่คงที่ 5 รายการ ประเภท B มีต้องการไม่คงที่ 6 รายการ และประเภท C มีความต้องการคงที่ 1 รายการ และความต้องการไม่คงที่ 8 รายการ โดยนโยบายที่ใช้ในการจัดการวัสดุคงคลังที่มีความต้องการคงที่คือ การหาปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) และนโยบายที่ใช้ในการจัดการวัสดุคงคลังที่มีความต้องการไม่คงที่คือ การหาปริมาณการสั่งซื้อแบบ Silver Meal (SM) และ Least Unit Cost (LUC) เมื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมแล้วพบว่ารูปแบบการสั่งซื้อของรายการบรรจุภัณฑ์และฉลาก จำนวน 21 SKU ที่มีวิธีการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) 2 รายการ วิธีการสั่งซื้อแบบ Silver Meal (SM) มีจำนวน 10 รายการ วิธีการสั่งซื้อแบบ Least Unit Cost (LUC) มีจำนวน 7 รายการ และวิธีการสั่งซื้อแบบได้ทั้ง Silver Meal (SM) และ Least Unit Cost (LUC) มีจำนวน 2 รายการ มีต้นทุนรวมเท่ากับ 77,726.49 บาท แต่ผู้วิจัยคิดว่ารูปแบบการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) มีความง่ายและสะดวกต่อการสั่งซื้อจึงเลือกใช้วิธีการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) กับทุกรายการทั้งหมด 21 รายการ และมีต้นทุนรวม 33,627.87 บาท ดังนั้นการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) สามารถลดต้นทุนรวมลง 44,098.62 บาท หรือคิดเป็น 56.73 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบก่อนการใช้ตัวแบบ EOQ ที่มีต้นทุนรวม 66,153.45 บาท และหลังใช้ตัวแบบ EOQ ที่มี 33,627.87 บาท จะเห็นได้ว่าสามารถลดต้นทุนรวมลงได้ 32,525.58 บาท หรือคิดเป็น 49.17 เปอร์เซ็นต์ 4) ผลการประเมินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ 4.5 และระดับความเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ 4 และระดับความเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ 4.33 และระดับความเห็นอยู่ในระดับมาก และด้านที่ 4 ด้านความถูกต้องในการประมวลผลของระบบ ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ 4.83 และระดับความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นต้น | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620631065-ภัสราวรีย์ ยินดี.pdf | 23.39 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.