Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79704
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | คาลิล พิศสุวรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-12T00:34:34Z | - |
dc.date.available | 2024-07-12T00:34:34Z | - |
dc.date.issued | 2024-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79704 | - |
dc.description.abstract | This research explores the interaction of 'skaters' and 'skateboarders' with 'modern urban space', which is driven by the logic of 'Capitalism' through Henri Lefebvre's theory of social space construction and Michel de Certeau's everyday practices. This research explores ‘skate spots’ in the Bangkok city as a social space in which the process of assembling arises from the interaction between three groups of actors: capital (Capital), state (State) and skateboarders (Skateboarders). Skateboarding often brings conflict with the order of urban society. It was perceived as antithetical to the modern urban order. and lead to confrontations and negotiations between skaters and representatives of capital and the state in various areas of the modern urban space. In the eyes of a skater The city is like a giant skating rink. This often leads to a way of using the city that is different from that of ordinary people and those in power who try to create order. And how skating can be seen as damaging or disruptive to the city. Rather, it is a form of questioning the urban space and power that flows within the modern urban space.Skaters should therefore be recognized as citizens. that even though they look at the city with eyes and perspectives that are different from the modern urban discourse of modern city dwellers But those eyes In a sense, it leads to questioning the existing order of modern cities. Revealing the nature of cities is different from common sense urban discourse. A skateboarder's skateboarding is a unique voice in the midst of common sense modernity. This voice is one that confirms the value and existence of diversity in modern urban society. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | เด็กสเกตบอร์ดในเมืองใหญ่: การประกอบสร้างพื้นที่ทางสังคมของผู้เล่นสเกตบอร์ดในพื้นที่เมืองสมัยใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Skateboarding and the construction of social spaces in modern urban space | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | กีฬาสเก็ตบอร์ด | - |
thailis.controlvocab.thash | กีฬา | - |
thailis.controlvocab.thash | เมือง -- พื้นที่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยชิ้นนี้ได้สำรวจปฏิสัมพันธ์ของ ‘เด็กสเกต’ และ ‘สเกตบอร์ด’ กับ ‘พื้นที่เมืองสมัยใหม่’ ซึ่งขับเคลื่อนอยู่ภายใต้ตรรกะของ ‘ระบบทุนนิยม’ ผ่านทฤษฎีการประกอบสร้างพื้นที่ทางสังคมของ Henri Lefebvre และปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของ Michel de Certeau โดยงานวิจัยชิ้นนี้มองเมืองในฐานะพื้นที่ทางสังคม ซึ่งประกอบสร้างขึ้นจากพื้นที่ทางสังคมอื่นๆ อย่างมีพลวัต ผู้วิจัยจึงได้มุ่งศึกษา ‘พื้นที่สเกต’ ในฐานะ ‘พื้นที่ทางสังคม’ แบบหนึ่งของพื้นที่เมือง โดยที่กระบวนการในการประกอบสร้างพื้นที่สเกตขึ้นมานั้น จะเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ทุน (Capital) รัฐ (State) และเด็กสเกต (Skateboarders) ขณะเดียวกัน เมื่อสเกตบอร์ดเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สอยพื้นที่เมืองสำหรับการวาดลีลาและลวดลาย การเล่นสเกตบอร์ดจึงมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งกับความเป็นระเบียบของสังคมเมือง ถูกรับรู้ในฐานะปฏิปักษ์ต่อระเบียบของเมืองสมัยใหม่ และนำมาสู่การเผชิญหน้าและต่อรองระหว่างเด็กสเกตกับตัวแทนของทุนและรัฐในพื้นที่ต่างๆ ของเมืองสมัยใหม่ ผู้วิจัยพบว่า ในสายตาของเด็กสเกต เมืองเป็นเสมือนลานสเกตขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะนำไปสู่วิธีการใช้สอยเมืองที่แตกต่างออกไปจากคนทั่วไปและผู้มีอำนาจที่พยายามจะสร้างระเบียบให้กับเมือง อย่างไรก็ดี แม้ว่าวิธีการมองเมืองของเด็กสเกต และวิธีการเล่นสเกตอาจถูกมองว่าสร้างความเสียหายหรือความวุ่นวายให้กับเมือง หากแต่มันก็คือรูปแบบหนึ่งของการตั้งคำถามต่อพื้นที่เมืองและอำนาจที่ไหลเวียนอยู่ภายในเมืองสมัยใหม่ เด็กสเกตจึงควรถูกรับรู้ในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง ที่แม้ว่าพวกเขาจะมองเมืองด้วยสายตาและมุมมองที่แตกต่างไปจากวาทกรรมเมืองสมัยใหม่ของชาวเมืองสมัยใหม่ แต่สายตาเหล่านั้น ในความหมายหนึ่งก็นำไปสู่การตั้งคำถามต่อระเบียบที่เป็นอยู่ของเมืองสมัยใหม่ การเปิดเผยให้เห็นธรรมชาติของเมืองที่แตกต่างออกไปจากวาทกรรมเมืองในระดับสามัญสำนึก การเล่นสเกตบอร์ดของเด็กสเกตคือการเปล่งเสียงอันแตกต่างขึ้นมาท่ามกลางกระแสความเป็นสมัยใหม่แบบสามัญสำนึกทั่วไป โดยเสียงที่เปล่งขึ้นมานี้คือเสียงหนึ่งซึ่งได้ช่วยยืนยันถึงคุณค่าและการมีอยู่ของความแตกต่างหลากหลายในสังคมเมืองสมัยใหม่ ที่โดยเนื้อแท้แล้วไม่เคยมีเนื้อหาอันเป็นเอกภาพแต่อย่างใด | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620431001-คาลิล พิศสุวรรณ.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.