Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79690
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณัย สายประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | เมธาวี จินดามณี | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-09T12:00:36Z | - |
dc.date.available | 2024-07-09T12:00:36Z | - |
dc.date.issued | 2567-05-30 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79690 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to examine the quality of work life of employees at Provincial Electricity Authority, Tak province and the relationship between demographic characteristics and the quality of work life of employees at Provincial Electricity Authority, Tak province. The demographic characteristics considered include the affiliated agency, gender, marital status, age, education level, duration of employment, job position, and average monthly compensation, applying Walton’s (1973) 8 components of quality of work life: (1) adequate and fair compensation, (2) safe and healthy working conditions, (3) immediate opportunity to use and develop human capacities, (4) future opportunity for continued growth and security, (5) social integration in the work organization, (6) constitutionalism in the work organization, (7) work and the total life space, and (8) the social relevance of work life. Data were collected using questionnaires from 125 employees at Provincial Electricity Authority, Tak province. Descriptive statistics such as frequency and percentage were used to describe demographic data and quality of work life information. Crosstabs analysis was employed to explore the relationships between demographic characteristics and the quality of work life of employees at Provincial Electricity Authority, Tak province. The study found that most of the employees were affiliated with Provincial Electricity Authority, Tak province, were male, married or living together, aged 31-40, held a bachelor’s degree, had been working for 5 years or less, held an academic or professional staff position at levels 4-7, and had an average monthly compensation of 20,001-40,000 baht. The study results indicate that the overall quality of work life of employees at Provincial Electricity Authority, Tak province was perceived at a high level. The factor with the highest level of perception was the social relevance of work life, followed by social integration in the work organization, immediate opportunity to use and develop human capacities, future opportunity for continued growth and security, work and the total life space, constitutionalism in the work organization, safe and healthy working conditions, and adequate and fair compensation, respectively. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | en_US |
dc.subject | การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดตาก | en_US |
dc.title | คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตาก | en_US |
dc.title.alternative | Quality of work life of employees at provincial electricity authority, Tak province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ลำปาง) | - |
thailis.controlvocab.thash | คุณภาพชีวิตการทำงาน -- แม่เมาะ (ลำปาง) | - |
thailis.controlvocab.thash | ความพอใจในการทำงาน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตาก และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะด้านประชากรศาสตร์และคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตาก โดยใช้แนวคิดลักษณะด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่สังกัด เพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง และค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อเดือน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงานของ Walton (1973) 8 ประการ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ โอกาสในการใช้และพัฒนาความสามารถของบุคลากร โอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน การบูรณาการทางสังคม ในการทำงาน ธรรมนูญในองค์กร การทำงานและการดำเนินชีวิตโดยรวม และการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรบุคลากร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตากจำนวน 125 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ เพื่ออธิบายข้อมูลลักษณะด้านประชากรศาสตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบตารางไขว้ (Crosstabs) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะด้านประชากรศาสตร์และคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตากส่วนใหญ่สังกัดการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจังหวัด (กฟจ.) เป็นเพศชาย สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน ช่วงอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี เป็นนักวิชาการหรือพนักงานวิชาชีพ ระดับ 4-7 ค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อเดือน 20,001-40,000 บาท ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตากโดยรวม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดคือ ด้านการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบูรณาการทางสังคมในการทำงาน ซึ่งมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ด้านโอกาส ในการใช้และพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้านโอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตโดยรวม ด้านธรรมนูญในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ซึ่งมีความคิดเห็นในระดับมาก ตามลำดับ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631532078_เมธาวี จินดามณี.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.