Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤนาถ ศราภัยวานิช-
dc.contributor.authorกุลนิษฐ์ เก๊างิ้วen_US
dc.date.accessioned2024-07-09T11:25:24Z-
dc.date.available2024-07-09T11:25:24Z-
dc.date.issued2024-05-31-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79688-
dc.description.abstractThe independent study on the topic of Behavior of Consumers in Chiang Mai Province Towards Purchasing Eco-friendly Cloth Shopping Bags has the objective of exploring the behavior of consumers in Chiang Mai province in purchasing eco-friendly cloth shopping bags. This research was used a questionnaire to collect data from a sample of 385 people, then analyzed the data with descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and inferential statistical analysis such as the Pearson Chi-Square Test and one-way ANOVA. The study found that the most of questionnaire respondents were female, aged 25 - 40 years or Generation Y, with married status. They have a bachelor's degree or equivalent. Their main occupation is as an employee of a private company with an average monthly income of more than 25,001 Baht. The results show that the consumer behavior in Chiang Mai Province has eco-friendly bags 2 - 4 bags. The material of the eco-friendly bags chosen is natural fibers produced from plants such as cotton, linen, jute, and hemp, replacing the use of plastic bags. Because they are aware of the material of bags to reduce global warming issue. Moreover, they know about natural fibers from plants such as cotton, linen, flax, hemp, pineapple, and kapok. After buying eco-friendly bags, they feel that using it helps reduce the amount of plastic waste. Most of them choose to use general cloth bags, not specific brands. The usage method is to carry the bag by wearing it over the shoulder. They considered the price of eco-friendly bags per bag at a price of 101 - 399 Baht. Most of them gave the reason for purchasing more than 2 bags, namely, that they liked the design style, which was different from the existing ones and can hold a lot of things. They have the objective of using eco-friendly bags to reduce global warming issue and want to campaign to use it instead of plastic bags (Reuse). They give the opinion that if everyone uses eco-friendly bags instead of plastic bags just 1 day a week, it will help to reduce the amount of waste from plastic bags is more than 100 million bags per year. Because it can wash and clean for reuse. However, they decided to buy eco-friendly bags by themselves from accidentally encountering the product at department stores for using in daily life. According to studied result on marketing mix factors, the respondents had opinions on the overall marketing mix factors at the highest level. The factor with the highest average value is the price factor, followed by the place factor and the product factor. The factor with the lowest average value is the promotion factor. The top 10 sub-factors that respondents gave the highest importance to were helping to reduce the amount of plastic waste, followed by being able to reuse them. The price is suitable for the design. There is a price reduction or promotion. The store and product displays are interesting. Prices are clearly displayed. The product can give a feeling of participation in helping reduce global warming issue. The design is convenient to use, can be folded and carried easily. It is easy to maintain and clean. In the abnormal product, it can be exchanged within the specified period or according to the specified conditions. Moreover, eco-friendly bags have a beautiful design and are made from recycled materials. Finally, testing the relationship between personal factors and behavior in purchasing eco-friendly bags by the Pearson Chi-square test at the statistical significance level of 0.05, it can be concluded that age are related to the behavior of purchasing eco-friendly bags at 0.05 significance level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพฤติกรรมของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ในการการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมen_US
dc.title.alternativeBehavior of consumers in Chiang Mai province towards purchasing eco-friendly cloth shopping bagsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เมือง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashถุงผ้า -- เมือง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashถุงผ้า -- การจัดซื้อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระ เรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ในการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคภายในจังหวัดเชียงใหม่ในการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบเพียร์สันไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25 - 40 ปี หรือ Generation Y มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพหลักเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,001 บาท ผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคภายในจังหวัดเชียงใหม่ มีถุงผ้าจำนวน 2 – 4 ใบ วัสดุของถุงผ้าที่เลือกซื้อคือเส้นใยธรรมชาติชนิดที่ผลิตจากพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ ป่าน กัญชง ทดแทนการใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตระหนักถึงวัสดุของถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรู้จักเส้นใยธรรมชาติ จากพืช เช่น เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ ป่าน กัญชง สับปะรด นุ่น มากที่สุด เมื่อหลังจากการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงรู้สึกว่าการใช้ถุงผ้าช่วยลดปริมาณยะพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่เลือกใช้ถุงผ้าทั่วไปไม่เจาะจงยี่ห้อ ลักษณะการใช้งานคือถือกระเป๋าโดยการสะพายคล้องไหล่ ซึ่งพิจารณาราคาถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อใบในราคา 101 - 399 บาท ส่วนใหญ่ให้เหตุผลที่ซื้อถุงผ้ามากกว่า 2 ใบ คือ ชื่นชอบรูปแบบการออกแบบซึ่งแตกต่างจากแบบเดิมที่มีอยู่ เนื่องจากชื่นชอบรูปแบบการออกแบบซึ่งแตกต่างจากแบบเดิมที่มีอยู่ และสามารถบรรจุของได้เยอะ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อต้องการรณรงค์ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก (Reuse) โดยมีความคิดเห็นว่าถ้าหากทุกคนร่วมมือกันใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกเพียงแค่สัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดปริมาณขยะจากถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี โดยส่วนใหญ่ซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถซักและทำความสะอาดเพื่อใช้ซ้ำ ผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง และซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากห้างสรรพสินค้า จากการบังเอิญเจอสินค้า และส่วนใหญ่ซื้อเพื่อบรรจุของใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านราคา (Price) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปัจจัยด้านช่องทางทางการจัดจำหน่าย (Promotion)โดยปัจจัยย่อยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญสูงสุด 10 อันดับแรก คือ มีส่วนช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก รองลงมา คือ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ราคาเหมาะสมกับการออกแบบ มีการลดราคาหรือจัดโปรโมชั่น การจัดแสดงร้านค้าและผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ มีการแสดงราคาที่ชัดเจน มีความรู้สึกการมีส่วนร่วมในการช่วยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบสะดวกต่อการใช้งาน สามารถพับเก็บและพกพาได้สะดวก ดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย และหากพบข้อผิดพลาดของสินค้าสามารถเปลี่ยนสินค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ การออกแบบให้สวยงาม และผลิตจากวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิล จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611532044-KOOLLANIT KAO-NGIEW.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.