Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79652
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตจิโรจน์ อิทธิชัยเจริญ-
dc.contributor.advisorสุรวุฒน์ พงษ์ศิริเวทย์-
dc.contributor.advisorกันยารัตน์ คอวนิช-
dc.contributor.authorภิญโญ เกิดผลวัฒนาen_US
dc.date.accessioned2024-07-08T01:09:15Z-
dc.date.available2024-07-08T01:09:15Z-
dc.date.issued2024-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79652-
dc.description.abstractThe prevalence of Candida infections has been rising with an increasingly older adult populations and immunocompromised patients. Candida species are major human fungal pathogens that cause oral candidiasis. Overgrowth of candida, can lead to local discomfort, pain, soreness, an altered taste sensation and dysphagia resulting in poor nutrition.Older adult and immunocompromised patients have an increased incidence of invasive candidiasis, which has higher mortality rates. Although probiotic strains, used in commercially available yogurts, to inhibit growth of Candida species. But it is still questionable whether eating such yogurt will affect the quantity of oral Candida. The aim of this study was to investigate the effect of a daily intake yogurt contained Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus paracasei and Bifidobacterium lactis on the prevalence and counts of oral Candida in older adults. The study had a double-blind randomized placebo-controlled design with 2 parallel arms. The study group consisted of 60 female older adults who lived in Choeng Doi Subdistrict, Doi Saket District Chiang Mai Province Thailand. After baseline examination and randomization, the subjects were given yogurt containing Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus paracasei and Bifidobacterium lactis or placebo twice daily. The intervention period was 14 days, and saliva were collected at baseline and after administration period. Results showed statistically significant reduction in the prevalence of Candida albicans, Candida glabrata, Candida tropicalis and Candida counts in study group, and the control group was statistically significant reduction in the prevalence of Candida glabrata (P < 0.05) The secondary outcome showed statistically significant increase the amount of unstimulated saliva and pH in study group, these all two factors were of statistically significant negative relation to prevalence of Candida albicans and Candida counts. In conclusion, short term consumption of yogurt contained Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus paracasei and Bifidobacterium lactis may represent an alternative to prevent oral candidiasis and hyposalivation in older adults.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของแล็กโทบาซิลลัสแอซิโดฟิลัส, แล็กโทบาซิลลัสพาราเคซีไอและบิฟิโดแบคทีเรียมแล็กทิสในโยเกิร์ตต่อปริมาณเชื้อราแคนดิดาในช่องปากผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeEffect of lactobacillus acidophilus, lactobacillus paracasei and bifidobacterium lactis in yogurt on the quantity of oral candida among older adults.en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแคนดิดา-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- โรค-
thailis.controlvocab.thashปาก -- โรค-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อแคนดิดาในช่องปากพบมากขึ้นตามสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ มีสาเหตุหลักจากเชื้อแคนดิดาในช่องปากที่เพิ่มขึ้นจนก่อโรค ส่วนใหญ่การรับรู้ถึงการเป็นโรคมักเกิดจากอาการผิดปกติในช่องปาก เช่น อาการเจ็บแสบ, การรับรสที่เปลี่ยนแปลงและความยากลำบากในการกลืนอาหาร ซึ่งส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหากติดเชื้อแคนดิดาในช่องปาก มีความเสี่ยงที่จะลุกลามเป็นการติดเชื้อทางระบบซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าสายพันธุ์โพรไบโอติกสที่มีอยู่ในโยเกิร์ตซึ่งวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดจะได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพในการลดปริมาณแคนดิดาในช่องปาก แต่ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถยืนยันได้ว่าการรับประทานโยเกิร์ตดังกล่าวจะมีผลต่อปริมาณแคนดิดาในช่องปากหรือไม่ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแคนดิดาในช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์เพิ่มสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus paracasei และBifidobacterium lactis การศึกษานี้ออกแบบเป็นการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดข้อมูล 2 ทาง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษากลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับโยเกิร์ตปกติซึ่งมีโพรไบโอติกส์ 2 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Streptococcus thermophilus และLactobacillus bulgaricus กลุ่มศึกษาได้รับโยเกิร์ตผสมโพรไบโอติกส์เพิ่มอีก 3 สายพันธุ์รวมเป็น 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Streptococcus thermophilus, Lactobacillus bulgaricus, Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus paracasei และBifidobacterium lactis กำหนดให้ทั้ง 2 กลุ่มรับประทานโยเกิร์ตวันละ 2 กระปุก เป็นเวลา 14 วัน มีการเก็บตัวอย่างน้ำลายสำหรับเพาะเลี้ยง Candida albicans, Candida glabrata, Candida tropicalis และ Candida krusei ก่อนและหลังได้รับโยเกิร์ต ผลการศึกษาหลักพบว่ากลุ่มศึกษาพบปริมาณ Candida albicans, Candida glabrata, Candida tropicalis และแคนดิดานับรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบเฉพาะปริมาณ Candida glabrata ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มศึกษามีอัตราการหลั่งน้ำลายขณะพัก และค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำลายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณ Candida albicans และแคนดิดานับรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการควบคุมปริมาณแคนดิดาในช่องปาก และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะปากแห้งน้ำลายน้อยในผู้สูงอายุได้en_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyo_Kerdpolwattana_620931051_june2024.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.