Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติสุดา ศรีสุข-
dc.contributor.authorจีรนันท์ กันทาวงศ์en_US
dc.date.accessioned2024-07-07T03:33:10Z-
dc.date.available2024-07-07T03:33:10Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79643-
dc.description.abstractThis research aims to (1) synthesize behaviors that indicate the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. (2) analyze the behavioral components that indicate New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area, (3) develop a behavioral measure to assess New normal health literacy inventories for these students, and (4) establish standardized criteria for this behavioral measure to evaluate New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. Data sources include a group of five expert evaluators who assist in verifying the content validity of behavioral indicators derived from document synthesis. The research involved two distinct groups including a group of 200 participants used to establish the quality of the behavioral questionnaire assessing New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area, and a larger group of 1,076 participants involved in the analysis of component weights. A group of 98 participants used to determine New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. Additionally, a separate group of 1,052 middle school students from the same region was involved in developing the standardized criteria for this behavioral measure, which evaluates the New normal health literacy inventories based on the evolving lifestyles of these students. The tool used was a behavior synthesis record form indicating the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. Behavioral questionnaire indicating the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area, and a behavioral measure indicating the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. Data collected in May 2023. Statistics used include mean, standard deviation, standard deviation, Index of Item-Objective Congruence: IOC, t-test, Correlation coefficient, Factor analysis, Normalized T-Score. This research summarizes the results 1. A behavioral synthesis study on the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area. Forty-eight distinct behavioral indicators were identified. 2. The results of the analysis of behavioral components indicating the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area resulted in a total of 5 components, including, Component 1, the awareness and expression to increase the human value of oneself and others has a total of 11 behavioral indicators. Component 2, having knowledge and skills in seeking health knowledge for use in both prevention and problem solving, has a total of 12 behavioral indicators. Component 3, confidence that applying health knowledge and understanding will lead to good health as a result, has a total of 12 behavioral indicators. Component 4, confidence and pride in one's worth to others, has a total of 5 behavioral indicators. And the fifth component is the confidence that a good life must be lived in a good society and oneself must be a good citizen with a total of 5 behavioral indicators. 3. A five-level estimation scale with 25 items was developed to assess the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area, and it is rating scale. It demonstrates high reliability of .970. Factor loading ranged from .516 to .691., with significant t-values ranged 7.536 - 16.557. All items are statistically significant at the .01. 4. Results of finding the normal criteria of the behavioral measure indicating the New normal health literacy inventories of lower secondary school students in the upper northern area in terms of awareness and expression in order to increase the human value of both oneself and others found the average is 21.701, and standard deviation is 3.148. In terms of having knowledge and skills in acquiring health knowledge for use in both prevention and problem solving, the mean is 21.487 and the standard deviation is 3.334. In terms of confidence that applying health knowledge and understanding will lead to good health, the mean is 21.357 and the standard deviation is 3.365. In terms of confidence and pride that oneself is valuable to others, the mean is 19.528 and the standard deviation is 3.783. In terms of convincing that a good life requires living in a good society and that one must be a good citizen, the mean is 21.411 and the standard deviation is 3.292. Keywords: New Normal Health Literacy Inventoriesen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeDeveloping new normal health literacy inventories of lower secondary school students in the Upper Northern areaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การศึกษาและการสอน-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมการเรียน-
thailis.controlvocab.thashผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสังเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน (3) เพื่อสร้างแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน และ (4) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพฤติกรรมบ่งชี้ที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารเป็นผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มนักวัดผล 5 คน กลุ่มที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน จำนวน 200 คน กลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์น้ำหนักองค์ประกอบ จำนวน 1,076 คน กลุ่มใช้หาคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน จำนวน 98 คน และกลุ่มใช้ในการพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน จำนวน 1,052 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน แบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน และแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน เก็บรวบรวมข้อมูล เดือนพฤษภาคม 2566 สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Index of Item-Objective Congruence: IOC) การหาอำนาจจำแนกรายข้อโดยการทดสอบที (t-test) การหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) การจัดกลุ่มพฤติกรรมบ่งชี้เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และพัฒนาเกณฑ์ปกติโดยใช้คะแนนทีปกติ (Normalized T-Score) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน พบว่ามีพฤติกรรมบ่งชี้จำนวน 48 พฤติกรรม 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน ทำให้ได้องค์ประกอบทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 ด้านการตระหนักรู้และแสดงออกเพื่อเพิ่มคุณค่าความเป็นมนุษย์ทั้งของตนเองและของผู้อื่น มีพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้น 11 ตัว องค์ประกอบที่ 2 ด้านการมีความรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้านสุขภาพเพื่อการนำไปใช้ทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหามีพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้นมี 12 ตัว องค์ประกอบที่ 3 ด้านความเชื่อมั่นว่าการนำความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพไปใช้จะทำให้เกิดสุขภาพดีตามมามีพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้น 12 ตัว องค์ประกอบที่ 4 ด้านความเชื่อมั่นและมีความภูมิใจว่าตนเองมีคุณค่ากับผู้อื่นมีพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้น 5 ตัว และองค์ประกอบที่ 5 ด้านความเชื่อมั่นว่าชีวิตที่ดีจะต้องอยู่ในสังคมที่ดีและตนเองต้องเป็นพลเมืองที่ดีมีพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้นมี 5 ตัว 3. ผลการสร้างแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน เป็นแบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีข้อคำถามทั้งสิ้น 25 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .970 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .516 - .691 มีค่าทีระหว่าง 7.536 - 16.557 ทุกข้อมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการหาเกณฑ์ปกติของแบบวัดพฤติกรรมบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคเหนือตอนบน ด้านการตระหนักรู้และแสดงออกเพื่อเพิ่มคุณค่าความเป็นมนุษย์ทั้งของตนเองและของผู้อื่น พบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.701 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.148 ด้านการมีความรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้านสุขภาพเพื่อการนำไปใช้ทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.487 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.334 ด้านความเชื่อมั่นว่าการนำความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพไปใช้จะทำให้เกิดสุขภาพดีตามมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.357 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.365 ด้านความเชื่อมั่นและมีความภูมิใจว่าตนเองมีคุณค่ากับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.528 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.783 ด้านความเชื่อมั่นว่าชีวิตที่ดีจะต้องอยู่ในสังคมที่ดีและตนเองต้องเป็นพลเมืองที่ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.411 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.292 คําสำคัญ : แบบวัดความฉลาดรู้ด้านสุขภาพบนชีวิตวิถีใหม่en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620232011-จีรนันท์ กันทาวงศ์-watermark.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.