Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79603
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยารพ สุพรรณชาติ-
dc.contributor.authorรุ่งตะวัน อภินันทน์en_US
dc.date.accessioned2024-07-04T00:55:44Z-
dc.date.available2024-07-04T00:55:44Z-
dc.date.issued2564-02-23-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79603-
dc.description.abstractDental radiographs or X-rays have been numerously used in dentistry. It is known that the ionizing properties could damage human absorbing tissue though applying in the minimal amount. Salivary gland tissue cells are commonly exposed to radiation via the direction of dental radiography. This study was aimed to investigate the proliferative and apoptotic effects of dental irradiation on human salivary ductal cell lines in vitro. Two ductal cell lines, HSG and HSY, were characterized by carcinoembryonic antigen (CEA) and lactoferrin (LF) expressions, and examined for their doubling times. They were exposed to periapical radiography for 5, 10 or 20 times (1.1 mGy each) and further incubated for 1, 3 or 5 cycles of their cell division. Cell proliferation was examined by a BrdU assay and an immunoblot analysis for Ki- 67 and proliferating cell nuclear antigen (PCNA) expression. The apoptotic potential was determined by the ratio of B-cell lymphoma 2 (BCL-2)/BCL-2-associated X protein (BAX).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของรังสีทางทันตกรรมต่อเซลล์สายพันธุ์ของท่อน้ำลายมนุษย์en_US
dc.title.alternativeEffect of dental irradiation on human salivary ductal cell lineen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยรังสี-
thailis.controlvocab.thashรังสีเอกซ์-
thailis.controlvocab.thashท่อน้ำลาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัจจุบันรังสีเอกซ์ถูกนำมาใช้ประ โยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย ขณะเดียวกันคุณสมบัติก่อไอออนของรังสีเอกซ์ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อที่ดูดกลืนรังสีเอกซ์ได้รับอันตรายได้ ถึงแม้ว่าปริมาณรังสีเอกซ์ที่ใช้ทางทันดกรรมจะมีปริมาณน้อย ต่อมน้ำลายเป็นอวัยวะที่มักอยู่ในแนวลำรังสีของการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมและอาจได้รับผลกระทบจากรังสี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรังสีทางทันตกรรมต่อกระบวนการเพิ่มจำนวนและการแสดงออก โปรตีนในกระบวนการตายของตัวเองและ การเพิ่มจำนวนของเซลล์สายพันธุ์ของท่อน้ำลายมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ โดยทำการศึกษาในเซลล์ HSG และ HSY ที่ได้ทดสอบการแสดงออก โปรตีนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของเซลล์ท่อน้ำลาย คือ คาร์ซิโนเอ็มบริโอนิกแอนติเจนและแลคโตเฟอร์ริน แล้วจึงทดสอบหาระยะเวลาการแบ่งตัวของทั้งเซลล์ HSG และ HSY จากนั้นนำเซลล์ไปรับรังสีทางทันตกรรมที่ปริมาณ 1.1 มิลลิเกรย์ จำนวน 5 ครั้ง 10 ครั้ง และ 20 ครั้ง เมื่อเซลล์แบ่งตัวครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 6 หลังจากได้รับรังสีแล้วจึงนำไปตรวจวิเคราะห์การเพิ่มจำนวนของเซลล์ด้วยวิธีทดสอบบีอาร์ดียู ทดสอบการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ คือ เคไอ-67 และพืซีเอ็นเอ โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตายของตัวเองของเซลล์คือ บีซีแอลทู และแบกซ์ด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท ผลการทดสอบพบว่าเซลล์ HSG และ HSY มีการแสดงออกของโปรตีนคาร์ชิโนเอ็มบริโอนิกแอนติเจนและแลคโตเฟอร์ริน เซลล์ HSG มีอัตราการแบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์ HSY เมื่อนำเซลล์ทั้งสองไปรับรังสี ที่ระยะ การแบ่งตัวครั้งที่ 1 เซลล์ HSG มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทางกลับกันเซลล์ HSY มีการแบ่งตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การแสดงออกของโปรตีนเคไอ-67 สอดคล้องกับผลข้างต้น ในการแบ่งตัวครั้งที่ 3 เซลล์ HSG มีค่ามัธยฐานเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) เซลล์ HSY มีค่ามัธยฐานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) อัตราส่วนของโปรตีนบีซีแอลทูต่อแบกซ์ของเซลล์ HSG ในการแบ่งตัวครั้งที่ 1 มีค่ามัธยฐานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.037) เซลล์ HSY ในการแบ่งตัวครั้งที่ 5 อัตราส่วนของโปรตีนบีซีแอลทูต่อแบกซ์มีค่ามัธยฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์จะเริ่มฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม ทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทดสอบการแสดงออกของโปรตีนพืซีเอ็นเอ เซลล์สายพันธุ์ของท่อน้ำลายทั้งสองชนิดมีการตอบสนองต่อรังสีทางทันตกรรมที่แตกต่างกัน โดยตอบสนองด้วยการเพิ่มหรือลคกระบวนการแบ่งตัว และความสามารถในการตายของตัวเอง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันอาจเกิดจากอัตราการแบ่งตัวของเซลล์ที่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610931038 รุ่งตะวัน อภินันทน์.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.