Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79593
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorว่าน วิริยา-
dc.contributor.advisorสมพร จันทระ-
dc.contributor.advisorวรางคณา นาคเสน-
dc.contributor.authorจิตวิสุทธิ์ ทองสัมฤทธิ์en_US
dc.date.accessioned2024-06-28T10:11:13Z-
dc.date.available2024-06-28T10:11:13Z-
dc.date.issued2024-04-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79593-
dc.description.abstractIndoor air quality has become an important area of concern these days. It tends to be more serious and affects human health as well as resident convenience, especially during the smoke haze season (February-April) in upper northern Thailand. Indoor air monitoring and development for controlling the air quality indoors is necessary for building users, particularly in urban areas and polluted areas. This study aimed to study indoor air quality, health impact assessment, and factors related to indoor air quality and to develop indoor air quality management in five early childhood schools in Chiang Mai Province. For monitoring indoor air parameters i.e. Temperature, Relative humidity, Air movement, Particulate matter 2.5 (PM2.5), Particulate matter (PM10), Carbon dioxide (CO2), Carbon monoxide (CO), Ozone (O3), Formaldehyde (CH2O), Total volatile organic compound (TVOC), Total bacterial and total fungal. The methods and measurement tools are according to the announcement of the Department of Health, Ministry of Public Health, Thailand. It was found that PM2.5 and PM10 concentrations in all buildings exceeded indoor air quality standards. Moreover, some buildings CO2 and O3 concentrations were higher than recommended levels. In addition, when assessing health risks will be evaluated by Hazard Quotient (HQ). It was found that CO2 and O3 had HQ > 1 in some age groups, while PM2.5 and PM10 had HQ > 1 in all age groups, meaning health risk. After implementing indoor air quality management systems (Clean air room) showed that PM2.5, PM10, CO2, and O3 concentration and other parameters decreased within the standard. Also, health risk assessments for PM2.5, PM10, CO2, and O3 were found in all ages to have HQ ≤ 1, meaning acceptable health risks. However, there should be a comprehensive study of air pollution management and building styles, such as building design, and ventilation. To find suitable building design guidelines for ventilation of indoor air pollution.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของการพัฒนาห้องอากาศสะอาดและระบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHealth impact Assessment of clean air room development and indoor air quality management system for child development centers in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการป้องกันมลพิษ-
thailis.controlvocab.thashเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมฝุ่น-
thailis.controlvocab.thashศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashห้อง -- การออกแบบและการสร้าง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractคุณภาพอากาศภายในอาคารกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวลในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหมอกควัน (กุมภาพันธ์ - เมษายน) ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารและการพัฒนารูปแบบระบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะในเขตเมืองและพื้นที่ที่มีมลพิษ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมทั้งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศภายในอาคารเพื่อพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 5 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับการตรวจสอบพารามิเตอร์คุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์, การเคลื่อนที่ของอากาศ, ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 (PM2.5), ฝุ่นพีเอ็ม 10 (PM10), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซโอโซน (O3), สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O), สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC), เชื้อแบคทีเรียรวมและเชื้อรารวม เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารด้วยวิธีการและเครื่องมือที่ระบุไว้ในประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ่าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ.2565 พบว่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 และฝุ่น PM10 ของอาคารศพด.ทุกแห่งมีค่าเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด นอกจากนี้ความเข้มข้นของก๊าซ CO2 และก๊าซ O3 ในศพด.บางแห่งมีค่าเกินกว่ามาตรฐานกำหนด อีกทั้งเมื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการคำนวณค่าสัดส่วนความ (HQ) พบว่าก๊าซ CO2 และก๊าซ O3 บางช่วงวัย มีค่า HQ > 1 หมายถึง ปริมาณสารที่ได้รับเกินค่ามาตรฐานหรืออยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ในขณะที่ค่าฝุ่น PM2.5 และฝุ่น PM10 มีค่า HQ > 1 ในทุกช่วงวัย หลังการพัฒนารูปแบบระบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร (ห้องอากาศสะอาด) พบว่า ความเข้มข้นของค่าฝุ่น PM2.5, ฝุ่น PM10, ก๊าซ CO2 และก๊าซ O3 รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ของห้องอากาศสะอาดมีค่าลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดและเมื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพสำหรับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5, ฝุ่น PM10, ก๊าซ CO2 และก๊าซ O3 พบว่า ในทุกช่วงอายุของศพด.ทั้งหมดมีค่า HQ ≤ 1 หมายถึง ปริมาณสารที่ร่างกายได้รับไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาการจัดการมลพิษทางอากาศและรูปแบบอาคารอย่างครอบคลุม เช่น การออกแบบอาคารและการระบายอากาศ เพื่อหารูปแบบอาคารอาคารที่เหมาะสมสำหรับการระบายอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.