Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79570
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพื่อนใจ รัตตากร | - |
dc.contributor.advisor | พีรยา มั่นเขตวิทย์ | - |
dc.contributor.advisor | ณหทัย วงศ์ปการันย์ | - |
dc.contributor.author | ณภัทร ชุมภูรัตน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-23T08:48:44Z | - |
dc.date.available | 2024-06-23T08:48:44Z | - |
dc.date.issued | 2023-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79570 | - |
dc.description.abstract | This research employed a quasi-experimental design, controlled study with pre-test and post-test design. The purpose of this research was to explore the effects of computer-based cognitive training program (Neofect Cognition) on attention and working memory in older adults with Mild Cognitive Impairment (MCI). Twenty-three older adults with MCI were divided into two groups; the experimental group (n=13), which received a computer-based training program with the use of the Neofect Cognition for 6 executive weeks, 3 times per week, 45 minutes per session and the control group (n=10), which received education about MCI. Data were collected by assessing before and after participating in the program with the Trail Making Test (TMT) and the Thai Cognitive-Perceptual Test (Thai-CPT): Memory. Descriptive statical analysis, Wilcoxon signed-rank test, and Mann-Whitney U-test were used to analyze the data. All analyses used 95% confidence intervals, and the significance level was p-value < 0.05 The result showed that the experimental group had a statistically significant difference in the pretest and post-test of working memory (p < 0.001) and attention (TMT-B) (p < 0.05), while control group had a statistically no significant difference. There was significant difference in the post-test attention (TMT-B) (p < 0.05) and working memory (p < 0.01) between both groups. From the results, it can be summarized that the computer-based training program (Neofect Cognition) can improve attention and working memory in older adults with MCI. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกความคิดความเข้าใจต่อความสนใจจดจ่อและความจำขณะใช้งานในผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจระดับเล็กน้อย | en_US |
dc.title.alternative | Effects of computer-based cognitive training program on attention and working memory in older adults with mild cognitive impairment | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผู้สูงอายุ | - |
thailis.controlvocab.thash | กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้สูงอายุ -- โรค -- การรักษา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งทำการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกความคิดความเข้าใจ (Neofect Cognition) ต่อความสนใจจดจ่อและความจำขณะใช้งานในผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจระดับเล็กน้อย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 23 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 13 คน ได้รับโปรแกรม เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนาน 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 45นาที และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน ได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาวะบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจระดับเล็กน้อย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมในด้านความสนใจจดจ่อด้วยแบบประเมิน Trail Making Test (TMT) และด้านความจำขณะใช้งานด้วยเครื่องมือประเมินการรับรู้และความคิดความเข้าใจสำหรับคนไทย (Thai-CPT) ในหมวดความจำ (Memory) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U-test เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% และกำหนดระดับนัยสำคัญที่ < 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความคิดความเข้าใจด้านความจำขณะใช้งานความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้านความสนใจจดจ่อโดยใช้ Trail Making Test B มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในระยะก่อนและหลังการทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดความเข้าใจในระยะหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ในด้านความสนใจจดจ่อโดยใช้ Trail Making Test B และความจำขณะใช้งาน ตามลำดับ จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฝึกความคิดความเข้าใจ (Neofect Cognition) มีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับความคิดความเข้าใจด้านความสนใจจดจ่อและความจำขณะใช้งานในผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องด้านความคิดความเข้าใจระดับเล็กน้อยได้ | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621131011 Napat Chumpurat.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.