Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorWantida Chaiyana-
dc.contributor.advisorWachara Kanjanakawinkul-
dc.contributor.authorPattiya Tammasornen_US
dc.date.accessioned2024-06-23T08:31:10Z-
dc.date.available2024-06-23T08:31:10Z-
dc.date.issued2024-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79569-
dc.description.abstractHydechium coronarium J. Koenig flowers are used in the perfume industry, and the other parts of the plants have been disposed of every year. Therefore, this study aimed to investigate the potential of aromatic extracts from H. coronarium rhizomes, leaves, and leaf sheaths for use as cosmeceutical active ingredients and develop the encapsulation and lamella liquid crystal (LLC) systems. The aromatic compounds from H. coronarium rhizomes, leaves, and leaf sheaths were extracted in the forms of concrete, absolute, and essential oils. Their chemical compositions of each extract were investigated by gas chromatography–mass spectrometry (GC–MS). Each aromatic extract was investigated for their biological activities related to cosmetic and cosmeceutical applications, including antioxidant, anti-aging, and anti-tyrosinase activities. The irritation tests were used to evaluate the safety of each aromatic extracts. The encapsulation systems were developed to reducing the irritation properties of aromatic extracts from H. coronarium. Various factors affecting the encapsulation systems were investigated, including types of wall material and the amount of H. coronarium rhizome oil. Each encapsulation system was evaluated for physical appearance, solubility, hygroscopicity, entrapment efficiency, morphology, stability, and irritation properties. In addition, lamella liquid crystal (LLC) systems were developed for further applications in cosmetics and cosmeceuticals. Various factors affecting the LLCs were investigated, including types and amounts of the oil phase. Each LLCs were identified using a polarized light microscope and characterized for their physical appearance, viscosity, pH, stability, and irritation properties. Among various H. coronarium aromatic extracts, absolute from H. coronarium rhizome exhibited the most potential in antioxidant and anti-collagenase activities. On the other hand, the essential oil from H. coronarium rhizome demonstrated potent anti-tyrosinase activity with an IC50 value of 1.8 ± 0.6 µg/mL, significantly more potent than kojic acid, whose IC50 value was 16.2 ± 3.7 µg/mL. Therefore, the rhizome essential oil was selected for the encapsulation. The encapsulated H. coronarium oil, using gum Arabic as a shell material, exhibited the most suitable characteristics with high water solubility, low hygroscopicity, low water activity, low moisture content, and high entrapment efficiency of 99.7 ± 6.7% w/w. The encapsulations were stable after the storage in 8 cycles of heating-cooling condition. Interestingly, encapsulation reduced the irritation potential of H. coronarium oil with decreasing the irritation score (IS) from 13.3 ± 1.4 to 4.1 ± 0.2. Regarding the LLC development, the formulation comprising of encapsulated H. coronarium rhizome oil, coco-caprylate, sorbitan stearate, sucrose cocoate, Carbopol U21, and DI water was the most suitable due to its appealing characteristics, good stability, and induce no irritation. Therefore, the LLC formulation containing encapsulated H. coronarium rhizome oil could be successfully developed to reduce irritation associated with the H. coronarium oil, which possessed a potential to be used as cosmeceutical active ingredients for skin whitening.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleDevelopment of Liquid Crystal Containing Encapsulated Aromatic Extracts from Hedychium coronarium J. Koenig for Cosmetic Applicationsen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาลิควิดคริสตัลที่มีเอนแคปซูเลชันของสารสกัด อะโรมาติกจากมหาหงส์สำหรับใช้ทางเครื่องสำอางen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshCosmetics-
thailis.controlvocab.lcshAromatic compounds-
thailis.controlvocab.lcshPerfumes industry-
thailis.controlvocab.lcshAromatic plants-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมหาหงส์มีการนำส่วนดอกไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมอย่างมาก ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของพืชเหลือทิ้งปริมาณมากในแต่ละปี ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของสารสกัดอะโรมาติกจากส่วนเหง้า ใบ และกาบใบของมหาหงส์ เพื่อใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในทางเวชสำอาง พร้อมทั้งพัฒนาระบบเอนแคปซูเลชันและลาเมลลาลิควิดคริสตัล โดยเตรียมสารสกัด อะโรมาติกในรูปของคอนกรีต แอบโซลูท และน้ำมันหอมระเหย พร้อมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดแต่ละชนิดด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี วิเคราะห์ฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานด้านเครื่องสำอางและเวชสำอาง ซึ่งได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัย และยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทั้งยังทดสอบการระคายเคืองเพื่อประเมินความปลอดภัยของสารสกัดอะโรมาติกแต่ละชนิดอีกด้วย จากนั้นพัฒนาระบบเอนแคปซูเลชันเพื่อลดการระคายเคืองของสารสกัดอะโรมาติกจากมหาหงส์ โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเภทของวัสดุห่อหุ้มและปริมาณของน้ำมันหอมระเหย จากนั้นประเมินลักษณะทางกายภาพ ความสามารถในการละลายน้ำการดูดความชื้น ประสิทธิภาพการกักเก็บ สัณฐานวิทยา ความคงตัว และคุณสมบัติการระคายเคือง นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาตำรับลาเมลลาลิควิดคริสตัลเพื่อใช้งานในทางเครื่องสำอางและเวชสำอาง พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเภทและปริมาณของวัฏภาคน้ำมัน จากนั้นยืนยันการเกิดลาเมลลาลิควิดคริสตัลด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ พร้อมทั้งประเมินลักษณะทางกายภาพ ความหนืด ค่าความเป็นกรดด่าง ความคงตัว และศึกษาการระคายเคือง ในบรรดาสารสกัดอะโรมาติกจากมหาหงส์ แอบโซลูทจากเหง้ามหาหงส์มีศักยภาพสูงสุดในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คอลลาจิเนส ในทางกลับกัน น้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์มีศักยภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ร้อยละ 50 เท่ากับ 1.8 ± 0.6 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ากรดโคจิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ร้อยละ 50 ของกรดโคจิกเท่ากับ 16.2 ± 3.7 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ดังนั้น จึงเลือกน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์เพื่อนำไปพัฒนาระบบเอนแคปซูเลชันต่อไป โดยใช้กัมอารบิกเป็นวัสดุห่อหุ้ม ซึ่งให้คุณลักษณะของระบบเอนแคปซูเลชันที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถละลายน้ำได้ดี ดูดความชื้นต่ำ มีแอคติวิตี้ของน้ำต่ำ มีปริมาณความชื้นต่ำ และมีประสิทธิภาพการกักเก็บสูงถึงร้อยละ 99.7 ± 6.7 โดยน้ำหนัก ซึ่งระบบเอนแคปซูเลชันนี้มีความคงตัวดีหลังจากการเก็บรักษาใน 8 รอบของสภาวะร้อนสลับเย็น โดยเป็นที่น่าสนใจว่าระบบเอนแคปซูเลชันช่วยลดการระคายเคืองของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์ได้ โดยการระคายเคืองลดลงจากระดับคะแนน 13.3 ± 1.4 เหลือ 4.1 ± 0.2 ในส่วนของการพัฒนาลาเมลลาลิควิดคริสตัล ตำรับที่ประกอบด้วยน้ำมันเหง้ามหาหงส์ที่กักเก็บในระบบเอนแคปซูเลชัน ประกอบกับโคโคคาไพรเลท ซอร์บิแทนสเตียเรต ซูโครสโคโคเอต คาร์โบพอลยู 21 และน้ำปราศจากไอออน มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีลักษณะที่น่าดึงดูด มีความคงตัวที่ดี และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้น ลิควิดคริสตัลที่มีเอนแคปซูเลชันของสารสกัดอะโรมาติกจากเหง้ามหาหงส์ที่พัฒนาขึ้น สามารถลดการระคายเคืองจากน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ทางเวชสำอางเพื่อให้ผิวขาวขึ้นได้เป็นอย่างดีen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651031034-PATTIYA TAMMASORN.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.