Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79568
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Anuchart Kaunnil | - |
dc.contributor.author | Patcharawalai Tupsai | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-23T08:14:23Z | - |
dc.date.available | 2024-06-23T08:14:23Z | - |
dc.date.issued | 2023-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79568 | - |
dc.description.abstract | Occupation-based practice (OBP) is a central element in the practice of occupational therapists (OTs), where meaningful and purposeful occupations are associated with assessment, intervention and outcomes. In 2022, there were a total of 1,674 licensed OTs in Thailand, 561 of which worked with clients with physical dysfunctions. This study investigated Thai OTs’ perspectives and experiences of using OBP in clients with physical dysfunctions. An explanatory sequential mixed method was used. In the quantitative study, a questionnaire survey was mailed to 250 participants throughout hospitals and clinics. Descriptive statistics were used to analyze the data. In the qualitative inquiry, nine participants were interviewed and analyzed via thematic analysis. The results showed that 62 participants responded to the questionnaire. Most participants provided services based on clients’ real-life context derived from the OBP (50% strongly agree) and provided clients with the opportunity to choose occupations related to their own context (47% strongly agree). Utilizing OBP enables clients to address the health and conditions of clients with physical dysfunction (37% strongly agree, 47% agree), and OBP is an effective method for treating clients with physical dysfunctions (36% strongly agree, 50% agree). However, factors such as high caseloads and insufficient use of therapists also hindered the use of OBP (32% strongly agree, 34% agree). Furthermore, workplaces and spaces impeded participants from implementing OBP (32% strongly agree, 34% agree). There are also insufficient tools and equipment to train clients (20% strongly agree, 32% agree). Two themes emerged from the interviews: Attitude toward occupation driving OBP into action and factors influencing the use of OBP. When implementing OBP for clients with physical dysfunction, OTs envisage that it is not only about improving occupational performance but also about presenting occupational therapy identity and strengthening beliefs in the power of occupation. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Experiences of Thai occupational therapists on occupation-based practice in clients with physical dysfunction: a mixed methods study | en_US |
dc.title.alternative | ประสบการณ์ของนักกิจกรรมบำบัดไทยต่อการปฏิบัติงานทางคลินิกที่อิงแนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตในผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย: การศึกษาแบบผสมผสาน | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Occupational therapists | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Occupational therapy | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Physical fitness | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การปฏิบัติงานทางคลินิกที่อิงแนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิต เป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติงานทางคลินิกของนักกิจกรรมบำบัด โดยใช้กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าและมีจุดมุ่งหมายในการประเมิน การบำบัดรักษา และผลลัพธ์ในการรักษา ในปี 2565 มีนักกิจกรรมบำบัดไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ จำนวน 1,674 คน โดยมีนักกิจกรรมบำบัดไทยที่เชี่ยวชาญในการรักษาผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย จำนวน 561 คน ในการศึกษาครั้งนี้จะสำรวจมุมมองและประสบการณ์ของนักกิจกรรมบำบัดไทยเกี่ยวกับการใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตในผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (explanatory sequential mixed methods) ในระยะแรก ผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับมุมมองการใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตส่งไปยังนักกิจกรรมบำบัดไทยในโรงพยาบาลและคลินิก จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในระยะที่สองใช้การศึกษาเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์การใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของนักกิจกรรมบำบัดไทย จำนวน 9 คน จากนั้นผู้วิจัยถอดความข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) จากผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 62 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมเกือบทั้งหมดใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตจากบริบทของผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย (50% เห็นด้วยมากที่สุด) และได้ให้ผู้รับบริการมีโอกาสเลือกกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ตรงกับบริบทตนเอง (47% เห็นด้วยมากที่สุด) การใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตช่วยให้ผู้รับบริการสามารถจัดการกับสุขภาพและสภาวะของผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกายตนเองได้ (37% เห็นด้วยมากที่สุดและ 47% เห็นด้วยมาก) และแนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย (36% เห็นด้วยมากที่สุดและ 50% เห็นด้วยมาก) อย่างไรก็ตามมีปัจจัยอุปสรรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้เข้าร่วม เช่น มีผู้รับบริการจำนวนมากและผู้บำบัดไม่เพียงพอ (32% เห็นด้วยมากที่สุดและ 34% เห็นด้วยมาก) อีกทั้งสถานที่และพื้นที่จำกัด (32% เห็นด้วยมากที่สุดและ 34% เห็นด้วยมาก) และการขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือในการฝึกผู้รับบริการ (20% เห็นด้วยมากที่สุดและ 32% เห็นด้วยมาก)จากผลการสัมภาษณ์ มีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่ ทัศนคติต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตซึ่งผลักดันให้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตไปสู่การปฏิบัติจริง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิต เมื่อใช้แนวคิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตสำหรับผู้รับบริการที่หย่อนสมรรถภาพทางกาย นักกิจกรรมบำบัดมองเห็นว่า ไม่เพียงเป็นการฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเท่านั้น แต่ยังช่วยนำเสนออัตลักษณ์ของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกิจกรรมการดำเนินชีวิตอีกด้วย | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641131006 Patcharawalai Tupsai.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.