Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79554
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชลี เพิ่มสุวรรณ-
dc.contributor.advisorวรรณกมล สอนสิงห์-
dc.contributor.authorวทัญญู ประยูรหงษ์en_US
dc.date.accessioned2024-06-22T02:06:56Z-
dc.date.available2024-06-22T02:06:56Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79554-
dc.description.abstractIntroduction : Patient-centered care in diabetes is another approach for outcome improvement, yet the supporting economic and clinical evidence remains limited in Thailand. Objectives : This study compared health outcomes and cost-utility of implementing Patient-Centered Care Systems (PCCS) in a primary care setting vs. the Routine Service System (RSS) in a hospital setting. Methods : The economic evaluation was performed using a randomized controlled study design. The participants aged ≥18 were enrolled from Phimai City in Nakhon Ratchasima Province, Thailand from June 2022 to February 2023. Totally, 309 well-controlled patients with initial care in a hospital were referred to receive the PCCS at the primary care setting or remained receiving the RSS in the hospital. Outcomes of different approaches such as fasting blood sugar, Hemoglobin A1c (HbA1c), direct medical costs, direct nonmedical costs and utility were prospectively collected at months 0, 3 and 6. Fisher’s exact test, t-test or Wilcoxon signed-rank test were used to analyze data, whichever was appropriate. An incremental cost-effectiveness ratio was calculated, and various sensitivity analyses were performed. Results : The PCCS showed significantly reduced HbA1c (p<0.001) and a greater number of patients with improved HbA1c (p<0.001). The PCCS were a cost-saving strategy due to incurring lower total costs (60.15 vs. 73.42 USD) and gaining more quality-adjusted life-years (QALY)(0.340 vs. 0.330) compared with the RSS. With a ceiling ratio of 4,659 USD/QALY, the PCCS had a 94.6 % probability of being cost-effective. Conclusion : This finding indicated that the PCCS in a primary care setting was a cost-saving strategy by lowering cost, providing a higher quality of life and improving glycemic control compared with the RSS in a hospital setting. However, generalizing the findings in a country as a whole, the economic evaluation of PCCS and RSS should be conducted among different levels of hospitals from all regions in Thailand.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในหน่วยบริการปฐมภูมิเปรียบเทียบกับระบบบริการปกติในโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeCost effectiveness analysis of patient-centered care system at primary care setting versus routine service system at hospital setting in type 2 diabetic patients at phimai district in Nakhonratchasimaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- นครราชสีมา-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยเบาหวาน -- นครราชสีมา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบทนำ : การใช้หลักการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยเบาหวาน ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสส่งผลให้มีต้นทุนในการจัดบริการสูงขึ้น ประเมินความคุ้มทุนในการจัดบริการดูแลรักษาเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิในประเทศไทยยังมีจำกัด วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางสุขภาพ และศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์ของระบบการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCCS) เปรียบเทียบกับระบบบริการปกติในโรงพยาบาล (RSS) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์พร้อมไปกับการทดลองทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 309 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ส่งต่อเข้ารับการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในหน่วยบริการปฐมภูมิ และกลุ่มที่ได้รับบริการปกติในโรงพยาบาล ตัวแปรต้นทุนประกอบด้วย ต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์, ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ และต้นทุนทางอ้อม ตัวแปรผลลัพธ์การรักษาประกอบด้วยปีสุขภาวะ และระดับน้ำตาลสะสม โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโดยตรงที่ระยะเวลาเดือนที่ 0 3 และ 6 ระหว่างเดือนมิถุนายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 การเปรียบเทียบความแตกต่างข้อมูลใช้สถิติ Fisher’s exact test t-test หรือ Wilcoxon signed-rank test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การประเมินความคุ้มค่าประกอบด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม ร่วมกับการวิเคราะห์ความไว ผลการวิจัย : กลุ่ม PCCS มีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลง และจำนวนผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมดีขึ้นดีมากกว่ากลุ่ม RSS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.001) อีกทั้งกลุ่ม PCCS จัดเป็นทางเลือกที่เป็นต้นทุนที่ประหยัดได้ (Cost saving) โดยมีต้นทุนการให้บริการต่ำกว่า (2,067 vs. 2,523 บาท) และให้ปีสุขภาวะดีกว่ากลุ่ม RSS (0.340 vs. 0.330) และมีความน่าจะเป็นร้อยละ 94.6 ที่จัดเป็นทางเลือกที่มีความคุ้มทุนเมื่อเทียบกับระดับความเต็มใจจ่าย 160,000 บาท ต่อปีสุขภาวะของประเทศไทย สรุป : จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับด้วยการดูแลด้วยการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จัดเป็นทางเลือกที่คุ้มทุน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่ากลุ่มที่รับบริการปกติในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามควรมีการทำการศึกษาเพิ่มในพื้นที่อื่นจากทุกภาค เพื่อเป็นตัวแทนในการขยายผลภาพรวมระดับประเทศen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631031006 -วทัญญู ประยูรหงษ์.pdfMain article8.4 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.