Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79553
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Kanokwan Kiattisin | - |
dc.contributor.author | Wipanan Jandang | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-22T01:58:12Z | - |
dc.date.available | 2024-06-22T01:58:12Z | - |
dc.date.issued | 2024-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79553 | - |
dc.description.abstract | Nowadays, natural extracts are increasingly being used in cosmetics due to their antioxidant, anti-aging, and anti-cellulite properties. Chili peppers (Capsicum spp.) belong to the Solanaceae family. The main component of chili peppers is capsaicin. Turmeric (Curcuma longa) belongs to the Zingiberaceae family. The main component of turmeric is curcuminoids, especially curcumin. Previous studies have shown that capsaicin is unstable when exposed to light, while curcumin can be degraded by light and alkaline solutions. As a result of this problem, there are limitations to the use of these compounds in cosmetics. Therefore, this research aimed to solve this problem by increasing the stability of both extracts using antioxidants, natural sunscreen, and the delivery system on increasing the stability of chili and turmeric extracts. The half-lives of single extracts, mixed extracts, and extracts in the delivery system were evaluated after UV and white light exposure for 0, 4, and 8 h. Then the amount of active ingredients was evaluated using high-performance liquid chromatography. The results showed that chlorogenic acid was effective increasing the photostability of capsaicin in chili extract from a half-lives of 6.79 ± 0.18 h to 16.50 ± 1.11 h and increasing the photostability of curcumin in turmeric extract from a half-lives of 9.53 ± 1.51 h. to 19.25 ± 1.23 h. In addition, the use of natural sunscreen or sunflower oil also increased the half-lives of chili extract and turmeric extract to 23.10 h. Then the mixed extracts were entrapped in a nanostructured lipid carrier (NLC) delivery system. The compositions of NLCs were comprised of glyceryl distearate as a solid lipid, isopropyl myristate, sunflower oil, and olive oil as liquid lipids. The surfactants were polysorbate 80 and sorbitan 80. The formulation was prepared using a high-shear homogenizer at 20,000 rpm for 15 min. The resulting formulation possessed particle sizes of 152.63±2.41 nm, the polydispersity index was 0.21±0.06, and the zeta potential was -60.27±1.56 mV. The entrapment efficiency of chili extract and turmeric extract was 95.94 ± 0.05% and 97.79 ± 0.36%, respectively. The stability of the extract was increased when prepared in a nanostructured lipid carrier delivery system. Half-lives of chili extract was increased to 38.50 ± 0.14 h and half-lives of turmeric extract was increased to 57.75 ± 1.96 h. Therefore, chlorogenic acid, sunflower oil, and nanostructured lipid carrier delivery system can increase the photostability of curcumin and capsaicin in the extract mixtures. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Effects of stabilizers and nanostructured lipid carrier entrapment on photostability of curcumin and capsaicin in extract mixture | en_US |
dc.title.alternative | ผลของสารเพิ่มความคงตัวและการกักเก็บในตัวพาไขมันโครงสร้างระดับนาโน ต่อความคงตัวต่อแสงของเคอร์คูมินและแคปไซซินในสารสกัดผสม | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Curcuma longa | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Capsaicin | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Curcuma | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Cosmetics | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากธรรมชาติในเครื่องสำอางเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านวัย และต่อต้านเซลลูไลท์ พริก (Capsicum spp.) อยู่ในวงศ์ Solanaceae ส่วนประกอบหลักของพริก คือแคปไซซิน ขมิ้น (Curcuma longa) อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ส่วนประกอบหลักของขมิ้น คือ เคอร์คูมินอยด์ โดยเฉพาะเคอร์คูมิน จากการศึกษาพบว่าแคปไซซินไม่เสถียรเมื่อสัมผัสกับแสง ส่วนเคอร์คูมินสามารถถูกทำลายได้ด้วยแสงและสารละลายที่เป็นด่าง จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดในการใช้สารประกอบเหล่านี้ในทางเครื่องสำอาง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งแก้ไขปัญหานี้โดยเพิ่มความคงตัวของสารสกัดทั้งสองชนิดโดยใช้สารต้านอนุมูลอิสระ สารกันแดดจากธรรมชาติ และผลของระบบนำส่งต่อการเพิ่มความคงตัวของสารสกัดผสมพริกและขมิ้นชัน โดยทำการศึกษาค่าครึ่งชีวิตของสารสกัดเดี่ยว สารสกัดผสม และสารสกัดในระบบนำส่งเมื่อทดสอบความคงตัวภายใต้แสงยูวีและแสงสีขาวที่เวลา 0, 4, 8 ชม.จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์โดยใช้โครมาโทกราฟีของเหลวประสิทธิภาพสูง ผลการวิจัยพบว่ากรดคลอโรจีนิกซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิผลในการเพิ่มความคงตัวต่อแสงของแคปไซซินในสารสกัดพริกจากค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 6.79 ± 0.18 ชม. เป็น 16.50 ± 1.11 ชม. และเพิ่มความคงตัวต่อแสงของเคอร์คูมินในสารสกัดขมิ้นชันจากค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 9.53 ± 1.51 ชม. เป็น 19.25 ± 1.23 ชม. นอกจากนี้การใช้สารกันแดดจากธรรมชาติ คือ น้ำมันดอกทานตะวัน ยังช่วยเพิ่มค่าครึ่งชีวิตของสารสกัดพริกและสารสกัดขมิ้นชันเป็น 23.10 ชม. จากนั้นเมื่อนำสารสกัดผสมมาบรรจุในระบบนำส่งตัวพาไขมันโครงสร้างระดับนาโน ที่มีองค์ประกอบของไขมันที่เป็นของแข็งคือ glyceryl distearate ไขมันเหลวคือ isopropyl myristate, น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันมะกอก สารลดแรงตึงผิวคือ polysorbate 80 และ sorbitan 80 เตรียมโดยวิธีการพลังงานสูงโดยใช้โฮโมจีไนเซอร์แบบแรงเฉือนสูงที่ 20,000 รอบต่อนาทีเป็นเวลา 15 นาที พบว่าตำรับที่ได้มีขนาดอนุภาคเท่ากับ 152.63±2.41นาโนเมตร ค่าดัชนีการกระจายตัวของขนาดอนุภาคเท่ากับ 0.21±0.06 ค่าศักย์ซีตาเท่ากับ -60.27±1.56 มิลลิโวล มีประสิทธิภาพในการกักเก็บสารสกัดพริกและสารสกัดขมิ้นชันเท่ากับ 95.94 ± 0.05% และ 97.79 ± 0.36% ตามลำดับ สารสกัดมีความคงตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเตรียมอยู่ในระบบนำส่งตัวพาไขมันโครงสร้างระดับนาโน ค่าครึ่งชีวิตของสารสกัดพริกเพิ่มขึ้นเป็น 38.50 ± 0.14 ชม. และค่าครึ่งชีวิตของสารสกัดขมิ้นชันเพิ่มขึ้นเป็น 57.75 ± 1.96 ชม. ดังนั้นกรดคลอโรจินิก น้ำมันดอกทานตะวันและระบบนำส่งตัวพาไขมันโครงสร้างระดับนาโนสามารถเพิ่มความคงตัวของแสงของเคอร์คูมินและแคปไซซินในสารสกัดผสม | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
651031017-Wipanan jandang.pdf | 820.46 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.