Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา-
dc.contributor.advisorนิพนธ์ ธีรอําพน-
dc.contributor.authorปาลิตา แย้มสรวลen_US
dc.date.accessioned2024-05-14T01:35:36Z-
dc.date.available2024-05-14T01:35:36Z-
dc.date.issued2024-01-24-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79469-
dc.description.abstractTongue is an organ located in the oral cavity that is important to speech production and swallowing function. Safe and efficient swallowing relies on adequate tongue strength and endurance. Subsequently, abnormal tongue strength and endurance can lead to impaired swallowing. Therefore, tongue strength and endurance assessments are essential in planning swallowing rehabilitation for individual with swallowing difficulties due to tongue structure and function abnormalities. The tongue function assessment is divided to two types: subjective measurement, which involves the observation of tongue movement capabilities, and objective measurement, which uses standardized devices to quantify tongue strength and endurance numerically, allowing for repeatable measurement. In Thailand, assessing tongue strength and endurance by using standardized devices is not widespread in clinical practice due to the high cost of importing these instruments. Recognizing this issue, the researcher saw an opportunity to develop a new tongue strength and endurance measurement device. The purpose of this study was to develop a precise, accurate, and reliable tongue measurement device for clinical assessment of tongue strength and endurance and to investigate the impact of gender and age on these parameters in a healthy adult population aged 20-79 years. The study included 102 subjects, with 6 subjects in the pilot group and 96 subjects in the data collection group. As a result of development, a novel device for measuring tongue strength and endurance has been attained which measures tongue strength in units of Newtons (N) and Kilopascals (kPa) for strength, and seconds (s) for endurance. This developed device has lower cost for development compared to imported commercially devices while maintaining performance standards, demonstrated by 96.40-100.00% accuracy, high precision (0.90-4.21% CV), and strong repeatability (ICC 0.78-0.93). After the device has been quality-checked and adjusted based on feedback during the trial period, it is then utilized to study the tongue strength and endurance in healthy adults. The study found that gender did not significantly impact tongue strength and endurance across all age groups. However, age was observed to affect these parameters, with decreasing tongue strength and endurance as age increased, except for the endurance at the tongue tip, which remained similar across all ages. In conclusion, the developed tongue strength and endurance measurement device through this study is suitable for objective clinical assessment of tongue strength and endurance. These findings provide valuable reference data for Thai people in evaluating and planning rehabilitation for the elderly and individuals with tongue-related disorders.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือวัดความแข็งแรงและความทนทานในการทำงานของลิ้นen_US
dc.title.alternativeThe Development of tongue strength and endurance measurement deviceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashลิ้น -- ความผิดปกติ-
thailis.controlvocab.thashการกลืน-
thailis.controlvocab.thashภาวะการกลืนผิดปกติ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปากที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการกลืนและการพูด โดยเฉพาะการกลืนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความแข็งแรงและความทนทานในการทำงานของลิ้น (tongue strength and endurance) ที่มากเพียงพอ การประเมินความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นในการวางแผนบำบัดฟื้นฟูการกลืนในผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจากความผิดปกติของโครงสร้างและทำงานของลิ้น การประเมินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การประเมินเชิงอัตวิสัย (subjective measurement) ซึ่งใช้วิธีการสังเกตความสามารถในการเคลื่อนไหวของลิ้นที่ผู้รับการประเมินสามารถทำได้ ส่วนการประเมินเชิงวัตถุวิสัย (objective measurement) เป็นการใช้เครื่องมือมาตรฐานวัดความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นออกมาเป็นค่าตัวเลข สามารถวัดซ้ำได้ สำหรับประเทศไทยการประเมินค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานยังไม่เป็นที่แพร่หลายในการปฏิบัติงานทางคลินิกเนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายสูงในการตรวจแต่ละครั้ง ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเครื่องมือขึ้นใหม่เพื่อใช้สำหรับประเมินความแข็งแรงและความทนทานของลิ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความแข็งแรงและความทนทานในการทำงานของลิ้นที่มีความแม่นยำ ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือสำหรับใช้ในการประเมินทางคลินิก และนำเครื่องมือดังกล่าวไปศึกษาผลของปัจจัยเพศและอายุที่มีต่อค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นในกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่สุขภาพดีอายุ 20-79 ปี จำนวน 102 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างระยะทดลองใช้ 6 คน และกลุ่มตัวอย่างระยะเก็บข้อมูลค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้น 96 คน ผลการพัฒนาในครั้งนี้ได้เครื่องมือวัดความแข็งแรงและความทนทานในการทำงานของลิ้นที่ สามารถบอกความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นออกมาเป็นค่าตัวเลข หน่วยนิวตัน (Newton: N) และกิโลปาสคาล (Kilopascal: kPa) สำหรับค่าความแข็งแรงของลิ้น และหน่วยวินาที (second) สำหรับค่าความทนทานของลิ้น โดยมีต้นทุนราคาที่ถูกกว่าการนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศแต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีตามมาตรฐาน ได้แก่ ความแม่นยำ (accuracy) สามารถวัดออกมาได้ใกล้เคียงค่าจริงโดยมีค่าร้อยละความแม่นยำ (% accuracy) อยู่ในช่วงร้อยละ 96.40-100.00 มีความเที่ยงตรง (precision) สูงโดยมีร้อยละค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (% Coefficient of Variation: %CV) อยู่ในช่วงร้อยละ 0.90-4.21 และมีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำ (test-retest reliability) โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intraclass Correlation Coefficient: ICC) อยู่ในช่วง 0.78-0.93 เมื่อเครื่องมือต้นแบบผ่านการตรวจสอบคุณภาพในห้องปฏิบัติการและปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะในระยะทดลองใช้แล้วจึงนำไปศึกษาค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นในผู้ใหญ่สุขภาพดี พบว่า ปัจจัยเพศไม่มีผลต่อความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นโดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิงทุกช่วงอายุในขณะที่ปัจจัยอายุส่งผลต่อความแข็งแรงและความทนทานของลิ้น โดยค่าความแข็งแรงปลายลิ้นและโคนลิ้น รวมถึงค่าความทนทานโคนลิ้นจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ส่วนค่าความทนทานปลายลิ้นเป็นเพียงค่าเดียวที่ใกล้เคียงกันในทุกช่วงอายุ โดยสรุปได้ว่า เครื่องมือวัดความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินเชิงวัตถุวิสัยทางคลินิกได้ ค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงค่าความแข็งแรงและความทนทานของลิ้นในคนไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประเมินและวางแผนฝึกกระตุ้นฟื้นฟูสมรรถภาพของลิ้นในกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของลิ้นได้en_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621131006-ปาลิตา แย้มสรวล.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.