Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79425
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจักรกฤษณ์ วังราษฎร์-
dc.contributor.advisorอักษรา ทองประชุม-
dc.contributor.authorดารารัตน์ สร้อยวงค์en_US
dc.date.accessioned2024-02-06T09:32:20Z-
dc.date.available2024-02-06T09:32:20Z-
dc.date.issued2564-04-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79425-
dc.description.abstractPre-school children, aged 0 -5 years, are undergoing rapid changes in physical, mental, social, emotional and intellectual age. Such changes are the result of hereditary and environmental factors during the period of pregnancy and post birth. If stunting occurs in pre-school children, it can have negative influences on both short- and long-term health. This research objective was to study maternal, paternal, child, and environmental factors associated with stunting among pre-school children in Mae Chaem district, Chiang Mai province. The study was a cross-sectional analytical study conducted between July to October 2020. The sample consisted of 170 children aged between 3 to 5 years, using primary data from secondary data of 3-to-5-year-old children who were measured height and recorded from 7 healthcare facilities during October to December 2019. The research tool was structured interviews with closed-ended questions, which was used to interview with parents of children and to test the quality of the tool. The content validity index (CVI) was 1, and the tool's confidence was r = 0.851. The statistical tools for the analysis were descriptive statistics, chi-square test, fisher's exact test, and logistic regression analysis. The results of the research were as follows.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะเตี้ยen_US
dc.subjectเด็กก่อนวัยเรียนen_US
dc.titleปัจจยัที่มีผลต่อภาวะเตี้ยในเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors associated with stunting among pre-school children in Mae Chaem District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashเด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashเด็กวัยก่อนเข้าเรียน-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- การเจริญเติบโต-
thailis.controlvocab.thashการเลี้ยงดูเด็ก-
thailis.controlvocab.thashการดูแลเด็ก-
thailis.controlvocab.thashการเป็นบิดามารดา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 0 - 5 ปี) เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลของปัจจัยด้านพันธุกรรมและ สิ่งแวดล้อมตั้งแต่อยู่ในครรภ์และภายหลังจากที่คลอด หากเกิดภาวะเตี้ยในเด็กก่อนวัยเรียนจะส่งผลเสีย ต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านมารดา ด้านบิดา ด้านเด็ก และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะเตี้ยในเด็กก่อนวัยเรียน ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 3 - 5 ปี จำนวน 170 คน โดยใช้ข้อมูล ตั้งต้นจากข้อมูลทุติยภูมิของเด็กอายุ 3 - 5 ปี ที่ได้รับการวัดส่วนสูงและบันทึกผลจากสถานบริการ สาธารณสุข จำนวน 7 ตำบล ในเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ มีโครงสร้างคำถามปลายปิด ใช้สัมภาษณ์ในผู้ปกครองของเด็ก ตรวจคุณภาพของเครื่องมือพบ ค่าดัชนี ความตรงของเนื้อหาทั้งฉบับ (content validity index: CVI) เท่ากับ 1 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ พบ ค่า r = 0.851 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา chi-square test, fisher's exact test และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.4 มีความสัมพันธ์กับเด็กเป็น มารดา ร้อยละ 79.4 สถานภาพสมรส ร้อยละ 91.8 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อโอกาสเกิดภาวะเตี้ยในเด็กก่อนวัยเรียน (OR) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนี้ 2.1 ปัจจัยด้านมารดา คือ ส่วนสูงของมารดา ชาติพันธุ์ การรับประทานอาหารช่วงหลังคลอด ครบ 5 หมู่ ทุกวัน การรับประทานข้าวกับไข่ต้ม เนื้อไก่ต้ม และข้าวกับน้ำเกลือ การได้รับบุหรี่มือสอง จากบุคคลในครอบครัวขณะตั้งครรภ์ การได้รับบุหรี่มือสองจากบุคคลอื่นช่วงหลังคลอดและให้นมเด็ก และการได้รับบุหรี่มือสองจากบุคคลในครอบครัวช่วงหลังคลอดและให้นมเด็ก 2.2 ปัจจัยด้านบิดา คือ ชาติพันธุ์ 2.3 ปัจจัยด้านเด็ก คือ เพศ พฤติกรรมการบริโภคของเด็ก หลังจาก 6 เดือน จนถึง 2 ปี ดื่มนมวัว การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เป็นต้น และการดู โทรทัศน์ 2.4 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือ การซื้ออาหารปรุงสุกสำเร็จ เช่น แกงถุง อาหารกล่อง มารับประทานที่บ้าน ผลการศึกษาสามารถใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาเด็กเตี้ย โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพหรือการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ภาคประชาชนในด้านการส่งเสริมสุขภาพด้านการเจริญเติบโตในเด็กก่อนวัยเรียนที่เหมาะสมen_US
thesis.concealPublish (Not conceal)en_US
Appears in Collections:PH: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
612232004ดารารัตน์ สร้อยวงค์.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.