Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79394
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Pinkaew Laungaramsri | - |
dc.contributor.advisor | Kengkij Kitirianglarp | - |
dc.contributor.advisor | Wasan Panyakaew | - |
dc.contributor.author | Chaiyaporn Singdee | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-01-11T10:00:16Z | - |
dc.date.available | 2024-01-11T10:00:16Z | - |
dc.date.issued | 2023-10-18 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79394 | - |
dc.description.abstract | This dissertation aims to achieve three main objectives. Firstly, it seeks to investigate the factors and reasons shaping vintage clothing consumption practices in Thailand, drawing insights from historical context and oral history. Secondly, it aims to examine the processes of value transformation within vintage clothing and other elements in various phases and locations, investigating how the agency within materials interacts with other elements to provide fresh perspectives on material accumulation through these relationships. Lastly, the research inspects the rationales underpinning the act of consuming, collecting, and engaging with military vintage clothing in the Thai context, along with the resulting implications on supporting masculinity. Conducted through qualitative research, this study inquiries into the multifaceted world of vintage clothing consumption and production. It unravels the agency enmeshed within these garments as they transition from discarded items to cherished artifacts. Inspired by personal experiences as a dedicated vintage clothing enthusiast, the research investigates the profound attachments people form with clothing from the past, particularly U.S. military vintage attire. Through the lenses of assemblage theory, materiality, and the intertwined practices of diverse actors, the study uncovers the dynamic conceptualizations that metamorphose vintage clothing from ordinary remnants into storied repositories of emotions and historical narratives. This investigation challenges the conventional separation of culture and nature by proposing that the materiality of clothing and its agency catalyze divergent trajectories in production, consumption, and collecting. The agency embedded in vintage clothing, often manifested through narratives of ownership, blurs the boundaries between past and present, inviting consumers to participate in the experiences and events these garments have lived through. The notion of the "spirit of vintage" captures the essence of clothing that embodies a collection of narratives, weaving the wearer's identity with the historical contexts of the attire. This dissertation has introduced and examined four key aspects within the framework of the "Trash to Treasure" assemblage. These points collectively illuminate the intricate processes and transformations that vintage clothing undergoes, shedding light on the cultural, historical, and psychological dimensions that shape its significance. The following are the major points addressed in this research: 1) Emergence of Vintage Clothing Popularity in Thailand: The roots of the popularity of vintage clothing in Thailand trace back to the Cold War era. During this period, imported Western clothing symbolized modernity and masculinity, making it highly coveted by Thai consumers. However, as mass availability diminished its exclusivity, vintage clothing gained appeal due to its historical essence and inability to be reproduced. Military vintage clothing, in particular, garnered attention for its potent representation of the U.S. government and culture. It served as a conduit for Thai men to connect with notions of modernity, masculinity, and pride. 2) Dialectical transformation of Vintage Clothing: The transformation of vintage clothing occurs through a dynamic interplay between human agency and materiality. This dialectical process is integral to recognizing the latent potential within these garments. Vintage clothing possesses spirits imbued with diverse historical experiences. These accumulated narratives contribute to the "vintageness" recognized by consumers, who capture these experiences for application in both production and consumption spheres. Notably, this transformation involves the incorporation of proficiency markers of American manhood. 3) the role of Jatujak Market in Vintage Transformation: Jatujak market in Thailand serves as a critical space where various human and non-human elements converge to facilitate the transformation of both physical and non-physical attributes of secondhand clothing into vintage items. Elements such as knowledge, relationships, trust, local dealers, and international buyers intersect in this marketplace, giving rise to a multifaceted transformation process. 4) redecoration of U.S. Army Uniforms, a Unique Collecting Method: An intriguing dimension of the relationship between Thai consumers and U.S. Army uniforms lies in the distinctive method of collecting. This involves the redecoration of vintage uniforms using vintage insignias. This practice, in essence, serves to fashion masculinity. The uniforms and insignias function as active agents, allowing consumers to infuse themselves with the spirit of past masculinity. Through this process, individuals adorn themselves with historical narratives, engaging with the history of the Vietnam War and fulfilling their desires for manhood in diverse ways. This dissertation examines into the nuanced and multifaceted processes that propel vintage clothing from discarded remnants to cherished artifacts. It highlights the intricate interplay between cultural contexts, historical narratives, materiality, and human agency, contributing to a deeper understanding of the transformative journey that vintage clothing undertakes within Thai society. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.subject | เสื้อผ้าวินเทจ | en_US |
dc.subject | เสื้อผ้าวินเทจทหารอเมริกัน | en_US |
dc.subject | assemblage | en_US |
dc.subject | วัตถุสภาวะ | en_US |
dc.subject | การประกอบสร้าง | en_US |
dc.title | Old clothes, new materiality: an assemblage of military vintage commodity networks and consumption in Thailand | en_US |
dc.title.alternative | เสื้อผ้าเก่า สภาวะวัตถุใหม่: การประกอบสร้างของเครือข่ายและการบริโภคสินค้าเสื้อผ้าทหารวินเทจในประเทศไทย | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Clothing and dress -- Purchasing | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Military uniforms | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Clothing and dress -- Symbolic aspects | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Consumers -- Thailand | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักสามประการ 1)เพื่อค้นหาปัจจัยและเหตุผลที่กำหนดแนวทางการบริโภคเสื้อผ้าวินเทจในประเทศไทย โดยดึงข้อมูลเชิงลึกจากบริบททางประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์บอกเล่า2) เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของเสื้อผ้าวินเทจ ความเป็นผู้ปฎิบัติการและองค์ประกอบอื่นๆ ผ่านเวลาและสถานที่ต่างๆ เพื่อมอบมุมมองใหม่เกี่ยวกับการสะสมและเปลี่ยนแปลงมูลค่าและความหายผ่านความสัมพันธ์ต่างๆ 3) หาเหตุผลปัจจัยที่เป็นรากฐานของการบริโภค การสะสม และการมีส่วนร่วมกับเสื้อผ้าวินเทจทหารอเมริกันในบริบทของไทยที่การสนับสนุนความเป็นชายของผู้บริโภค การศึกษานี้ดำเนินการผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสำรวจโลกแห่งการบริโภคและการผลิตของเสื้อผ้าวินเทจที่หลากหลาย งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเป็นผู้กระทำการของเสื้อผ้าวินเทจที่สามารถเปลี่ยนแปลงจากจุดที่เป็นขยะหรือของที่ไม่เป็นที่ต้องการไปสู่การเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและความหมายต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนในฐานะผู้ชื่นชอบเสื้อผ้าวินเทจที่มาจากอดีต ที่ชี้ให้เห็นถึงความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างผู้คนกับเสื้อผ้าที่มีทุนทางเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้า วินเทจของกองทัพสหรัฐฯ ที่เป็นตัวอย่างของการศึกษาและชี้ให้เห็นเห็นถึงความเป็นพลวัตที่เปลี่ยนแปลงของเสื้อผ้าที่ได้กลายมาเป็นคลังเก็บเรื่องราว อารมณ์ความรู้สึกและเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองของทฤษฎี assemblage โดยการศึกษาครั้งนี้ได้พยายามท้าทายความคิดที่แยกวัฒนธรรมกับธรรมชาติออกจากกัน โดยความเป็นวัตถุสภาวะและความเป็นผู้กระทำการของเสื้อผ้าวินเทจเหล่านี้ทำให้เห็นความเป็นไปได้ที่หลากหลายของการผลิตและบริโภค ความเป็นผู้กระทำการจะแสดงออกและทำงานผ่านเรื่องราว ที่ทำให้เส้นแบ่งเวลาระหว่างอดีตและปัจจุบันนั้นได้พร่าเรือน เชิญชวนให้ผู้บริโภคให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เสื้อผ้าเหล่านี้ได้ประสบมา วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้เสนอสี่ประเด็นที่สำคัญภายใต้กรอบแนวคิด "Trash to Treasure" ประเด็นต่างๆเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการที่ซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงที่เสื้อผ้าวินเทจ โดยให้ความกระจ่างในมิติทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความคิดด้านความหมายที่เป็นตัวกำหนดความสำคัญของเสื้อผ้าวินเทจ โดยสี่ประเด็นที่สำคัญมีดังนี้ 1) การเกิดขึ้นของความนิยมเสื้อผ้าวินเทจในประเทศไทย ต้นกำเนิดของความนิยมเสื้อผ้าวินเทจในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น ในช่วงเวลานั้น เสื้อผ้าที่นำเข้าจากตะวันตกเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยและเสริมความเป็นชาย ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวไทยอย่างสูง อย่างไรก็ตาม เมื่อสินค้าประเภทนี้มีจำนวนมากขึ้นและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย ความหมายทั้งสองที่กล่าวมางจึงลดลง เสื้อผ้าวินเทจจึงได้รับความสนใจแทน เนื่องจากมูลค่าทางประวัติศาสตร์และไม่สามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าวินเทจทหารอเมริกันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะเสื้อผ้าเหล่านี้เป็นตัวแทนของรัฐบาลและวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกา เป็นช่องทางให้ผู้บริโภคไทยสามารถเชื่อมโยงกับและเข้าถึงเรื่องความทันสมัย ความเป็นชาย และความภาคภูมิใจที่เสื้อผ้าทั่วไปไม่สามารถให้ได้ 2) การเปลี่ยนแปลงทางวิภาษวิธีของเสื้อผ้าวินเทจ การเปลี่ยนแปลงของเสื้อผ้าวินเทจเกิดขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันแบบไดนามิกระหว่างของมนุษย์และวัตถุ กระบวนการวิภาษวิธีนี้เป็นส่วนสำคัญในการตระหนักถึงศักยภาพที่แฝงอยู่ภายในเสื้อผ้าเหล่านี้ เสื้อผ้าวินเทจมีจิตวิญญาณของประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย เรื่องเล่าที่สั่งสมมาเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิด "ความเป็นวินเทจ" ที่ผู้บริโภคนั้นได้รับรู้ และได้ใช้ประสบการณ์และประวัติศาสตร์ของเสื้อผ้าเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและความหมายของเสื้อผ้าวินเทจยังเกี่ยวข้องกับการแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นลูกผู้ชายอเมริกันอีกด้วย 3)บทบาทของตลาดนัดจตุจักรในการเป็นสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าให้เป็นวินเทจ ตลาดนัดจตุจักรในประเทศไทยทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำคัญที่ทำให้องค์ประกอบของมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์มาบรรจบกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงลักษณะทางรูปธรรมและนามธรรมของเสื้อผ้ามือสองให้กลายเป็นวินเทจ องค์ประกอบต่างๆ เช่น ความรู้ ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ พ่อค้าในประเทศและผู้ซื้อจากต่างประเทศ 4)การแต่งเสื้อทหารของกองทัพอเมริกันจากยุคสงครามเวียดนามเป็นวิธีการสะสมและบริโภคที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในบริบทของผู้บริโภคไทย โดยวิธีนี้เป็นการประกอบร่างของเครื่องแบบและสัญลักษณ์ทางทหารจากสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นการเสริมความเป็นชาย โดยผู้บริโภคจะนำเอาคุณค่าและความหมายของเครื่องแบบทหารมาแต่งบนร่างกาย เพื่อเติมเต็มความต้องการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชายในรูปแบบต่างๆผ่านเรื่องราวและประวัติศาสตร์จากสงครามอีกด้วย สุดท้ายวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษากระบวนการที่ละเอียดอ่อนและหลากหลายซึ่งขับเคลื่อนเสื้อผ้าวินเทจจากเศษที่เหลือทิ้งไปสู่สินค้าอันล้ำค่า โดยเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างบริบททางวัฒนธรรม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สาระสำคัญ และตัวตนของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเดินทางแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เสื้อผ้าวินเทจดำเนินการในสังคมไทย | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601451001-CHAIYAPORN SINGDEE.pdf | 35.2 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.