Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79288
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณัย สายประเสริฐ-
dc.contributor.authorทรายขวัญ นาคงสีen_US
dc.date.accessioned2023-12-11T17:12:34Z-
dc.date.available2023-12-11T17:12:34Z-
dc.date.issued2566-10-30-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79288-
dc.description.abstractThis independent study aimed at studying the happiness at work of Chiang Mai University employees during the COVID- 19 Pandemic. It applied the concepts and theories on impacts of the COVID-19 Pandemic towards work which are new normal behavior and the impact of the COVID-19 Pandemic towards working life quality which consists of new normal work model, state of economy, state of society, personal environment, and workplace environment. In addition, it also applied the concept of happiness at work by Warr's (1990) : (1) pleasure, (2)enthusiasm and (3)comfort and 8 components from 5 factors or 5 C's that contribute to happiness at work by iOpener (2010): (1) contribution, (2) conviction, (3) culture, (4) commitment, and (5) confidence which are related to the significant characteristics affecting total happiness at work: (6) pride, (7) trust and (8) recognition. Data were collected by questionnaire responses from 388 respondents who are Chiang Mai University employees and were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage and mean; and inferential statistics which is t-Test when divided by job fields. Linear regression was also used to find out the relationships between factors affecting happiness at work and happiness at work of Chiang Mai University employees. The results showed that majority of the samples worked under Language Institute and Faculty of Medicine, held a full-time employee status in the field of supporting employee, were female, aged between 31-40 years, graduated with a Bachelor's degree, earned 20,001-30,000 baht salary with 1-5 years of work experiences. Furthermore, the results presented that Chiang Mai University employees agreed that COVID-19 impacts work in terms of the state of society , new normal working model , and personal environment respectively. However, they felt neutral to the impacts of COVID-19 towards work environment and state of economy respectively. The academic employee and supporting employee have the average of opinions on impacts of COVID-19 towards work in terms of new normal working model, state of society and personal environment at the significance level of 0.05. It was also revealed that the average level of opinions towards overall happiness at work during the COVID-19 Pandemic of Chiang Mai University employees was neutral. The average result also showed that they felt neutral towards their happiness in tems of pleasure in working and comfort in working. However, they agreed that they are happy in terms of work enthusiasm. In addition, there is no difference between academic employees and supporting employees towards happiness at work at the significance level of 0.05. Moreover, Chiang Mai University employees agreed that commitment , conviction, culture, pride, recognition, confidence, contribution, and trust respectively, are factors affecting total happiness at work. Considering the factors affecting happiness at work, it was found that conviction, contribution, confidence, culture and pride were related to happiness at work of Chiang Mai University employees as a whole with the influence of 67.2%.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความสุขในการทำงานen_US
dc.subjectบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการแพร่ระบาดของโควิด 19en_US
dc.titleความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19en_US
dc.title.alternativeHappiness at work of Chiang Mai University employees during the COVID-19 pandemicen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- ข้าราชการและพนักงาน-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashความสุข-
thailis.controlvocab.thashนิวนอร์มัล-
thailis.controlvocab.thashการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020--
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -2019) ต่อการทำงาน คือ การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ (New Normal Behavior) และผลกระทบจากโควิด 19 ต่อคุณภาพชีวิตใน การทำงาน ประกอบด้วย ด้านการทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ ด้านสภาพเศรษฐกิจ ด้านสภาพสังคม ด้านสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล และด้านสภาพเวดล้อมในที่ทำงาน ร่วมกับแนวคิดเกี่ยวกับความสุข ในการทำงานของ Warr (1990) ประกอบด้วยด้านความเพลิดเพลินในการทำงาน (Pleasure) ด้าน ความกระตือรือร้นในการทำงาน (Enthusiasm) ด้านความสุขสบายในการทำงาน (Comfort) และ แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ส่งผลให้เกิดความสุขในการทำงานของ iOpener (2010) โดยมีปัจจัย สำคัญ 5 ประการ (5 C’s) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความสุขในที่ทำงาน (iOpener, 2010) ได้แก่ ผลงาน (Contribution) ความเชื่อมั่น (Conviction) วัฒนธรรมองคักร (Culture) ความผูกพันต่องาน (Commitment) และความมั่นใจ (Confidence) โดยมีความเชื่อมโยงเข้ากับคุณลักษณะสำคัญที่มีผล ต่อความสุขในการทำงานภาพรวม ได้แก่ ความภาคภูมิใจ (Pride) ความไว้วางใจ (Trust) และการ ได้รับการยอมรับ (Recognition) รวมเป็น 8 องค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 388 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย สถิติอนุมาน ได้แก่ การทคสอบที (t-Test) เมื่อจำแนกตามสายปฏิบัติงาน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ สมการถดถอยแบบเชิงเส้น (Linear Regression) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ส่งผล ให้เกิดความสุขในการทำงานกับความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สังกัดสถาบันภาษาและ คณะแพทยศาสตร์ มีประเภทและสายงานปฏิบัติงาน คือ พนักงานมหาวิทยาลัยประจำ สายปฏิบัติงานคือสายสนับสนุน เพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ระดับเงินเดือนระ หว่าง 20,001-30,000 บาท และมีอายุการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด 19 ต่อการทำงาน พบว่า บุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยต่อผลกระทบจากโควิด 19 ต่อการทำงาน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ย ด้านสภาพสังคม ด้านการทำงานแบบวิถีชีวิตใหม่ ด้านสภาพแวดล้อมส่วน บุคคล และมีความคิดเห็นระดับเฉยๆต่อผลกระทบจากโควิด 19 ต่อการทำงาน เรียงตามค่าเฉลี่ย ด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และด้านสภาพเศรษฐกิจตามลำดับ บุคลากรสายวิชาการและสาย สนับสนุนมีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อผลกระทบจากโควิด 19 ต่อการทำงาน ในด้านการทำงาน แบบวิถีชีวิตใหม่ ด้านสภาพสังคม และด้านสภาพแวดล้อมส่วนบุคคลที่แตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของความสุขในการทำงานภาพรวม พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีระดับความคิดเห็นต่อความสุขในการทำงานในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -2019) ในภาพรวมระดับเฉยๆ โดยมี ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยต่อความสุขด้านความกระตือรือร้นในการทำงาน และมี ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นในระดับเฉยๆ ต่อความสุขด้านความเพลิดเพลินในการทำงานและ ความสุขสบายในการทำงาน บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนมีระดับความคิดเห็น ต่อความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีระดับความคิดเห็นระดับเห็นด้วยต่อองค์ประกอบ ที่ส่งผลให้เกิดความสุขในการทำงานในภาพรวมด้านต่าง ๆ เรียงตามคำเฉลี่ย ความผูกพันต่องาน ความเชื่อมั่น วัฒนธรรมองค์กร ความภาคภูมิใจ การได้รับการยอมรับ ความมั่นใจ ผลงาน ความไว้วางใจตามลำดับ และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบที่ส่งผลให้เกิดความสุขในการทำงาน พบว่า องค์ประกอบด้านความเชื่อมั่น (Conviction) ด้านผลงาน (Contribution) ด้านความมั่นใจ (Confidence) ค้านวัฒนธรรมองค์กร (Culture) และด้านความภาคภูมิใจ (Pride) มีความสัมพันธ์กับ ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยภาพรวม โดยมีอิทธิพลถึง 67.2%en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631532055-ทรายขวัญ นาคงสี.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.