Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79258
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญลักษณ์ พิชญกุล-
dc.contributor.authorอโนเชาว์ มโนสกุลen_US
dc.date.accessioned2023-12-04T17:38:47Z-
dc.date.available2023-12-04T17:38:47Z-
dc.date.issued2566-11-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79258-
dc.description.abstractThis independent study focuses on inventory management of VPF Group (1973) Company Limited, Mae Tha Branch, Lamphun Province. The purpose of this study is to figure out how to manage the inventory of VPF Group (1973) Co., Ltd., Mae Tha branch, Lamphun Province in order to prepare sufficient inventory at minimum inventory cost. The researcher applied inventory management theory called ABC Analysis to divide inventory into three categories in descending value. In this study, the researcher focused only on Group A inventory which contains 54 items by using demand forecasting techniques including Moving Average, Exponential Smoothing, Double Exponential Smoothing, and Holt-Winter technique to analyze the data before the adjustment. After gathering all data, the researcher analyzed the coefficient of variation of demand (VC) by using the economic order quantity (EOQ) for constant demand, together with determining the order quantities to meet the requirement of operations at minimum cost (Silver Meal) for unstable demand. Then, the researcher compared the data analyzing by the coefficient of variation of demand (VC) with the data analyzing by maximum-minimum volume control technique (Max-Min) to find the best method that can reduce inventory cost. Moreover, the researcher applied ECRS principle for improving further administrative process Before the adjustment, the data showed that the inventory cost of Group A products was approximately 13.73 million THB per year. After analyzing the coefficient of variation of demand (VC) using the economic order quantity (EOQ) along with determining the order quantities to meet the requirement of operations at minimum cost (Silver Meal), the result suggested that it was possible to reduce inventory cost to 8.31 million THB per year (reduced by 5.41 million THB per year). In addition, the data analyzed by maximum-minimum volume control technique (Max-Min) showed that the total cost of inventory management reduced to 10.51 million THB per year with greater inventory than forecasted demand by 1.65 million THB. So, this cost could be transferred to other VPF Group warehouses. Therefore, the total inventory cost by analyzing maximum-minimum volume control technique (Max-Min) was approximately 8.86 million THB per year (reduced by 4.87 million THB per year). As a result, the researcher recommended the method of the coefficient of variation of demand (VC) by applying the economic order quantity (EOQ) for constant demand and determining the order quantities to meet the requirement of operations at minimum cost (Silver Meal) for unstable demand. Apart from this study, after applying ECRS principle to improve administrative process, the result suggested that the duration of goods receiving process decreases from 96 minutes to 50 minutes (decreased by 46 minutes). Also, the duration of goods distribution process decreased from 111 minutes to 40 minutes (decreased by 71 minutes). Lastly, the duration of goods ordering process decreased from 102 minutes to 31 minutes (decreased by 71 minutes). In summary, it helped reduce 188 minutes of working hours per day. Consequently, the company had more time to develop other processes instead of spending it on inventory management. In conclusion, the researcher proposed that VPF Group should apply these three steps of inventory management for further development among affiliated companies.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัท วีพีเอฟกรุ๊ป (1973) จำกัด สาขาแม่ทา จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeInventory management of VPF Group (1973) Company Limited Mae Tha Branch, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashบริษัท วีพีเอฟกรุ๊ป (1973) จำกัด-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมสินค้าคงคลัง-
thailis.controlvocab.thashสินค้าคงคลัง-
thailis.controlvocab.thashการจัดการวัสดุ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้เป็นการศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทวีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด สาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทวีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด สาขาแม่ทา จังหวัดลำพูน ให้มีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้ต้นทุนในการจัดการคลังสินค้าที่ต่ำที่สุด ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการสินค้าคงคลัง แบบ (ABC Analysis) ในการแยกหมวดหมู่สินค้าตามลำดับความสำคัญ โดยเลือกเฉพาะสินค้าคงคลังกลุ่ม A ในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งหมด 54 รายการ แล้วจึงใช้เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการของสินค้าคงคลังด้วยวิธี Moving Average, Exponential Smoothing, Double Exponential Smoothing และ Holt-Winter ในการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าก่อนการปรับปรุง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของความต้องการ (VC) โดยเลือกใช้วิธีการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม (EOQ) สำหรับความต้องการคงที่ ร่วมกับการใช้วิธีการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด (Silver Meal) สำหรับความต้องการไม่คงที่ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของความต้องการ (VC) มาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิควิธีการควบคุมปริมาณระบบสูงสุด-ต่ำสุด (Max-Min) เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด ที่สามารถลดต้นทุนการจัดการคลังสินค้าสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ จากนั้นผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้หลักการ ECRS เพื่อปรับปรุงรูปแบบวิธีการดำเนินงานให้ดีขึ้นในลำดับต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการปรับปรุง สินค้ากลุ่ม A มีต้นทุนรวมในการจัดการคลังสินค้า มูลค่าประมาณ 13.73 ล้านบาทต่อปี เมื่อทำการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของความต้องการ (VC) โดยใช้เครื่องมือการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม (EOQ) ร่วมกับเครื่องมือการประมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ต้นทุนรวมต่อช่วงต่ำที่สุด (Silver-Meal) จะสามารถลดต้นทุนการจัดการคลังสินค้าลงเหลือ 8.31 ล้านบาทต่อปี (ลดลง 5.41 ล้านบาท/ปี) และเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีการควบคุมปริมาณ ระบบสูงสุด-ต่ำสุด (Max-Min) มีต้นทุนรวมในการจัดการคลังสินค้าลดลงเหลือ 10.51 ล้านบาทต่อปี โดยมีรายการสินค้าคงคลังที่มีจำนวนมากกว่ายอดความต้องการจากการพยากรณ์ มูลค่า 1.65 ล้านบาท ที่สามาถโอนย้ายไปใช้กับคลังอุปกรณ์อื่นภายในเครือ วีพีเอฟ ได้ คงเหลือต้นทุนรวมในการจัดการคลังสินค้าจากวิธีการควบคุมปริมาณ ระบบสูงสุด-ต่ำสุด (Max-Min) มูลค่าประมาณ 8.86 ล้านบาทต่อปี (ลดลง 4.87 ล้านบาท/ปี) ผู้ศึกษาจึงแนะนำให้ใช้วิธีการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของความต้องการโดยเลือกใช้วิธีการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม (EOQ) กับสินค้าที่มีความต้องการคงที่ ร่วมกับการใช้วิธีการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด (Silver Meal) กับสินค้าที่มีความต้องการไม่คงที่ สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ และจากการประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงรูปแบบวิธีการดำเนินงานให้ดีขึ้น ด้วยหลักการ ECRS ผลจากการศึกษาพบว่ากระบวนการทำงานเทียบกับก่อนและหลังประยุกต์ใช้เทคนิคสามารถลดเวลาในการรับสินค้า จาก 96 นาที เหลือ 50 นาที (ลดลง 46 นาที) และลดเวลาในการเบิก-จ่ายสินค้า จาก 111 นาที เหลือ 40 นาที (ลดลง 71 นาที) และลดเวลาในการสั่งสินค้าจาก 102 นาที เหลือ 31 นาที (ลดลง 71 นาที) รวมแล้วสามารถลดเวลาในการทำงานลงได้ 188 นาทีต่อวัน โดยบริษัท สามารถนำเวลาในการจัดการคลังสินค้าที่ลดลง ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานส่วนอื่นได้ ผู้ศึกษาจึงแนะนำให้นำทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าวไปจัดทำเป็นคู่มือการทำงานของบริษัทและนำเทคนิคดังกล่าวไปขยายผลภายในเครือบริษัท วีพีเอฟต่อไปen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532122 นายอโนเชาว์ มโนสกุล.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.