Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพดล กรประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | ปาณัสม์ ศรีนนท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-17T10:22:33Z | - |
dc.date.available | 2023-11-17T10:22:33Z | - |
dc.date.issued | 2023-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79208 | - |
dc.description.abstract | In Thailand, pedestrian crashes primarily result from drivers’ noncompliance with traffic rules at pedestrian crossings; for example, vehicles speeding in high-risk pedestrian crossing areas and drivers failing to yield to pedestrians. However, the underlying root cause of such problems is often a failure to notice or give priority to pedestrians. To mitigate the risks and enhance safety for pedestrians and road users, it is imperative to implement well-designed pedestrian crossings that are easily visible, promoting better visibility for drivers and leading to lowering vehicle speed and giving right-of-way to pedestrians. This research focuses on evaluating the effectiveness of High-profile pedestrian crossing signs as a measure to enhance visibility for drivers. This measure is advantageous in high visibility, low cost, and ease of implementation. However, such a measure has not been well recognized and investigated in the literature. This research aims to examine the visibility of pedestrian crossings, and evaluate the safety effectiveness of High-profile pedestrian crossing signs. First, the study examines the visibility of pedestrian crossings by assessing the Detection Distance of drivers to pedestrian crossings on urban roads. This detection distance represents the ability to warn drivers about the presence of a pedestrian crossing. In other words, it is the distance at which a pedestrian crossing can be seen. The study compares the detection distance between high-profile pedestrian crossing sign and other measures during daytime and nighttime. Furthermore, the effectiveness of high-profile pedestrian crossing sign is assessed using a Before-and-After study approach. This analysis includes an examination of the speeds and speed profiles of both motor vehicles and motorcycles across the pedestrian crossing sections before and after the installation of high-profile pedestrian crossing signs. In addition, the study analyzes the conflicts between pedestrians and vehicles, and calculates the risk reduction, which is used as a surrogate measure to evaluate the effectiveness using the Odds ratio and estimate the benefit from accident cost savings of high-profile pedestrian crossing signs. The study results reveal that the detection distance varies significantly among different pedestrian safety measures and the data collection period. On the average, detection distances are lower for nighttime conditions compared to daytime conditions. The measure with the highest average detection distance is the signalized pedestrian crossing, while the measure with the lowest average detection distance is the standard pedestrian crossing sign. Moreover, high-profile pedestrian crossing signs perform better in terms of detection distance than regular signs. The study demonstrates that these measures can reduce the mean and 85th percentile vehicle speeds by approximately 2 km/h. Drivers tend to initiate their speed reduction about 30-40 meters before reaching the pedestrian crossings. In terms of conflict analysis, the risk of conflict measured by conflict speed and post-encroachment time (PET) is reduced by 0.17, 0.01, and 0.05 for high, moderate, and low risk of conflict, respectively. The risk reduction can lead to accident cost savings and cost-effectiveness of high-profile pedestrian crossing signs. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัยของป้ายตำแหน่งทางข้ามบนถนนในเขตเมือง | en_US |
dc.title.alternative | Safety effectiveness evaluation of pedestrian crossing sign on urban roads | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ป้ายสัญลักษณ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | เครื่องหมายจราจร | - |
thailis.controlvocab.thash | สัญญาณและการให้สัญญาณรถยนต์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในประเทศไทย ปัญหาอุบัติเหตุของคนเดินเท้าขณะข้ามถนนโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการไม่เคารพกฎจราจร เช่น การใช้ความเร็วของยานพาหนะบริเวณทางข้ามที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือการละเลยของผู้ขับขี่ที่จะให้ทางแก่คนข้ามถนน แต่ต้นตอที่สำคัญของปัญหาเหล่านี้คือการไม่เห็นหรือไม่ให้ความสำคัญต่อทางข้ามและคนเดินข้าม ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่คนเดินเท้าและผู้ใช้รถใช้ถนน มาตรการจัดการความปลอดภัยทางถนนที่เหมาะสมควรที่จะมีการปรับปรุงทางข้ามให้สังเกตเห็นได้ง่าย เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยแก่ผู้ขับขี่ จนนำไปสู่การลดความเร็วและการให้ทางแก่คนเดินเท้ามากขึ้น งานวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับมาตรการติดตั้งป้ายตำแหน่งทางข้ามแบบมีกรอบสะท้อนแสง ซึ่งมีข้อดีในด้านของการเพิ่มทัศนวิสัยแก่ผู้ขับขี่ ใช้ต้นทุนไม่สูง และมีการติดตั้งที่ไม่ซับซ้อน แต่ถึงอย่างนั้น ประสิทธิผลในด้านทัศนวิสัยและความคุ้มค่าของมาตรการดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาและกล่าวถึงมากนัก งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงประสิทธิผลด้านการมองเห็นของมาตรการป้ายตำแหน่งทางข้ามแบบมีกรอบสะท้อนแสง รวมไปถึงการประเมินความคุ้มค่าเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงทางข้ามถนนในเขตเมืองให้มีทัศนวิสัยที่ดียิ่งขึ้น ในส่วนแรก การศึกษาประสิทธิผลด้านการมองเห็นรับรู้ ได้ประเมินดัชนีระยะการตรวจจับทางข้าม (Detection Distance) ของผู้ขับขี่ เพื่ออธิบายถึงความสามารถในการเตือนผู้ขับขี่ให้ตระหนักถึงทางข้ามและคนเดินข้าม โดยสำรวจระยะการตรวจจับทางข้ามเปรียบเทียบระหว่างมาตรการป้ายตำแหน่งทางข้ามแบบมีกรอบสะท้อนแสงและมาตรการด้านความปลอดภัยทางข้ามรูปแบบอื่น ๆ อีก 5 มาตรการทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในส่วนที่สอง การวิเคราะห์ประสิทธิผลและความคุ้มค่าของมาตรการอาศัยวิธีการศึกษาก่อนและหลัง โดยวิเคราะห์ความเร็วของยานพาหนะขณะเข้าสู่ทางข้าม พร้อมทั้งศึกษาแผนภูมิความเร็วตลอดช่วงถนนทางข้าม นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ความขัดแย้งจราจรระหว่างคนเดินเท้ากับยานพาหนะ ซึ่งวัดจากความเร็วของยานพาหนะที่ขัดแย้ง (Conflict speed) และระยะเวลาหลังการรุกล้ำ (Post-encroachment time: PET) ของยานพาหนะกับคนเดินเท้า และเปรียบเทียบความขัดแย้งที่เปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนดัชนีเสมือนจริงมาอธิบายประสิทธิภาพของมาตรการผ่านอัตราส่วนออด (Odds Ratio) เพื่อวิเคราะห์ผลประโยชน์จากการประหยัดมูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนถนน ผลการศึกษาระยะการตรวจจับทางข้ามของผู้ขับขี่พบว่า ระยะการตรวจจับทางข้ามในแต่ละมาตรการสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลและรูปแบบของมาตรการ โดยระยะการตรวจจับเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาที่แตกต่างกันในมาตรการที่แตกต่างกัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ซึ่งค่าระยะการตรวจจับในช่วงเวลากลางคืนมีค่าน้อยกว่าในช่วงเวลากลางวัน มาตรการที่มีระยะการตรวจจับมากสุด คือ มาตรการสัญญาณไฟจราจรทางข้าม มาตรการที่มีระยะการตรวจจับน้อยสุด คือ มาตรการป้ายตำแหน่งทางข้าม และยังพบว่ามาตรการป้ายตำแหน่งทางข้ามแบบมีกรอบสะท้อนแสงมีทัศนวิสัยที่ดีกว่ามาตรการป้ายตำแหน่งทางข้ามทั่วไป เนื่องจากค่าระยะการตรวจจับเฉลี่ยที่สูงกว่าทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน นอกจากนี้ ผลการศึกษาประสิทธิผลด้านความปลอดภัยของมาตรการป้ายตำแหน่งทางข้ามแบบมีกรอบสะท้อนแสง พบว่า มาตรการนี้ช่วยลดความเร็วเฉลี่ยและความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นไทล์ลงได้ประมาณ 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ขับขี่มีแนวโน้มในการเริ่มชะลอความเร็วในระยะประมาณ 30-40 เมตรก่อนถึงทางข้ามที่มีการติดตั้งป้าย ผลการศึกษาในด้านความขัดแย้งการจราจร พบว่า มาตรการนี้ช่วยลดความเสี่ยงของความขัดแย้งลงในอัตรา 0.17, 0.01 และ 0.05 ในกรณีความเสี่ยงในระดับความรุนแรงสูง ความรุนแรงปานกลาง และความรุนแรงต่ำ ตามลำดับ และส่งผลทำให้ช่วยลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนได้ | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640631048-ปาณัสม์-ศรีนนท์.pdf | 13.57 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.