Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorณรงค์กร เจียมจิตรen_US
dc.date.accessioned2023-11-15T01:25:48Z-
dc.date.available2023-11-15T01:25:48Z-
dc.date.issued2566-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79188-
dc.description.abstractThis independent study aimed to investigate the factors contributing to the success of community enterprises producing cotton cloth products in Chiang Mai province. Data were gathered by surveying 10 members of 5 community enterprises who held the positions of chairman and vice-president. Notably, examples of community enterprises include Supin Cotton, Doi Tao Cotton, Aumpun Cotton, Sangrawee Pha Thai, and Huai Sai Cotton community enterprises. The data collection process utilized in-depth semi-structured interviews, incorporating both open-ended and close-ended questions, along with on-site observations conducted at these enterprises. The study's findings revealed that among the five community enterprises producing cotton products, 93.91 percent of the members were female, while 6.1 percent were male. Age distribution indicated that 42.64 percent of the members were aged 50 and above, and 26.96 percent fell within the age range of 41 to 50. Additionally, many members held secondary occupations; specifically, 37.56 percent were engaged in farming, while 31.98 percent worked as general contractors. A notable 80.71 percent of the group's members had prior experience in manufacturing cotton products. Regarding the potential of community enterprises, the analysis using the SWOT model identified the strength of product uniqueness. However, weaknesses encompassed the extended production time and the remote customer group location. On the other hand, an opportunity arose from the backing provided by governmental and private agencies. Conversely, a threat emerged from potential shifts in customers' purchasing behaviors due to technological advancements. By applying the TOWS Matrix analysis model, it was determined that participation in special events hosted by both government and private sectors was deemed essential. The PESTEL analysis revealed that the supportive environment for community enterprises encompasses political, social, environmental, and legal factors. Additionally, according to The McKinsey 7-S Model, community enterprises should be prepared for all components, including structural, strategic, systems, stylistic, staff, skill, and shared values. In terms of community enterprise management, findings indicated that marketing management was founded on the marketing concept and embraced a comprehensive marketing mix. Specifically, the product demonstrated distinctiveness and proved challenging to replicate. The pricing strategy aligned with market forces and varied based on customer segments. Availability of products and distribution channels should encompass diverse online and offline options. Marketing and communication promotion involved various initiatives, including special events, PR campaigns on proprietary channels, online media advertising, and targeted promotional offers. Operations Management identified the quality cycle as a circular process, with the PDCA method systematically progressing through stages via meetings, action, and effective monitoring. Notably, inventory management entailed stockpiling raw materials in anticipation of festivals like New Year and Songkran. In this context, operations management noted that organizational behavior was characterized by members within the area who were interconnected and driven to enhance their quality of life and communities. Leadership within this framework emerged as a product of sacrifice, trust, talent, and proactive leadership promotion. Moreover, participant management facilitated inclusivity, extending opportunities for engagement to all sectors across all stages. Concerning finance and accounting, community enterprises should undertake self-regulation and allocate resources on behalf of projects to qualify for tax assistance from the government. In terms of the sustainability of the community enterprise, it was evident that the community enterprise group had sustainable development goals in line with Goal 8 set by the United Nations, which was to improve the quality of life in the community and promote self-sufficiency. Furthermore, the responsibility toward the environment, society, and governance was also evident. The community enterprise was conscious of its responsibility toward the environment and society, and it promoted transparency and accountability in its operations, allowing for effective monitoring of its activities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors contributing to success of cotton cloth product community enterprises in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashผ้าผ้าย -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำแหน่ง ประธาน และรองประธานวิสาหกิจชุมชน อันประกอบไปด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสุภิญญ์ผ้าฝ้าย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้ายดอยเต่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าฝ้ายอำพัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแสงระวีผ้าไทย และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านห้วยทราย ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 ราย จาก 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง โดยใช้รูปแบบคำถามปลายเปิด ร่วมกับคำถามปลายปิด ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ทั้ง 5 กลุ่ม มีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของวิสาหกิจชุมชน คือ สมาชิกประกอบไปด้วยเพศหญิง ร้อยละ 93.91 เพศชาย ร้อยละ 6.1 มีช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.64 รองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.96 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเสริมคือ เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 37.56 รองลงมาคือ รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 31.98 สมาชิกส่วนมากในกลุ่มมีประสบการณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมาก่อน คิดเป็นร้อยละ 80.71 ด้านศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน ตามแนวคิดการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจโดยใช้แบบวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบว่า จุดแข็ง คือ เอกลักษณ์ของชิ้นงาน จุดอ่อน คือ ใช้ระยะเวลาในการผลิตนานและทำเลที่ตั้งไกลจากกลุ่มลูกค้า โอกาส คือ มีการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน อุปสรรค คือ พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี การวิเคราะห์สถานการณ์ตามแบบ TOWS Matrix พบว่า การออกจำหน่ายสินค้าตามเทศกาลงานสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐและเอกชนจัดขึ้นเป็นเรื่องที่จำเป็น ตามแนวคิดการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมธุรกิจโดยใช้แบบวิเคราะห์ PESTEL พบว่าสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนคือ ด้านการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกฎระเบียบ และตามแนวคิดการประเมินความพร้อมขององค์การตามแบบ McKinsey’s 7-S พบว่า ความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนควรจะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน อันประกอบไปด้วย โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ บุคลากร ทักษะ และค่านิยมร่วม ด้านการบริหารวิสาหกิจชุมชน พบว่า การบริหารด้านการตลาด คือ วิสาหกิจชุมชนใช้แนวคิดมุ่งการตลาดเป็นหลัก และมีส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ คือ การทำชิ้นงานให้แตกต่างมีเอกลักษณ์เลียนแบบได้ยาก ด้านราคา คือ การตั้งราคาตามตลาด และกำหนดราคาที่แตกต่างตามกลุ่มลูกค้า ด้านสถานที่และการจัดจำหน่าย คือ ควรมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ด้านการส่งเสริมทางการตลาดและการสื่อสาร คือ การออกงานในกิจกรรมพิเศษต่างๆ การประชาสัมพันธ์ในช่องทางของตัวเอง การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ และการจัดโปรโมชั่นเมื่อซื้อสินค้าครบตามเป้า การบริหารด้านการปฏิบัติการ พบว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ คือ มีการทำวงจรPDCA อย่างเป็นระบบในทุกขั้นตอนผ่านการประชุม ลงมือทำ และตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารสินค้าคงคลัง คือ สำรองสินค้าที่เป็นวัตถุดิบก่อนช่วงเทศกาลขายสินค้า เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น ด้านการบริหารานการจัดการ พบว่า รูปแบบพฤติกรรมองค์กร คือ สมาชิกเป็นคนในพื้นที่ มีความผูกพันกัน ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน ด้านภาวะผู้นำ คือ ผู้นำมีความเสียสละ ได้รับความไว้วางใจ มีความสามารถ และส่งเสริมภาวะผู้นำให้กับสมาชิก การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก คือ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ด้านการเงินและการบัญชี พบว่า วิสาหกิจชุมชนควรจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยตนเอง และจัดจำหน่ายสินค้าในนามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อได้รับการช่วยเหลือทางภาษีจากภาครัฐ ด้านความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงกับเป้าหมายที่ 8 ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้พึ่งตนเองได้ นอกจากนั้นความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล พบว่า วิสาหกิจชุมชนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการมีอยู่ของวิสาหกิจชุมชน โดยมีแผนรองรับเพื่อลดความขัดแย้ง การก่อความรบกวน และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนได้en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532071-Narongkorn-Jaimjit.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.