Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79182
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยานนท์ หรรษภิญโญ | - |
dc.contributor.author | ภาณุมาศ ตั้งผดุงรัชต์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-13T16:10:35Z | - |
dc.date.available | 2023-11-13T16:10:35Z | - |
dc.date.issued | 2566-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79182 | - |
dc.description.abstract | The objective of this research is to investigate the load-bearing capacity of bamboo, comprising 2 parts. Part 1 involved conducted tests to determine basic material properties, such as physical and mechanical properties, with the aim of predicting strengths and structural grading of bamboo. Part 2 involved tests on bamboo columns subjected to lateral static and cyclic loads, studying the impact of filling mortar in both single-culm and multiple-culm bamboo columns. The bamboo used in the research was the Sang Mon bamboo species (Dendrocalamus sericeus Munro), grown in plants in the northern region of Chiang Rai Province, Chiang Saen District. The bamboo used in the research underwent treatment and a drying process to reduce starch and remove water from the wood. In Part 1 of the study, the following physical properties were obtained: culm wall thickness ranged from 6.78 to 27.03 mm, outer diameter from 74.60 to 109.29 mm, moisture content from 10.03% to 19.70%, density at air-dry from 546.71 to 1,113.50 kg/m3, density at oven-dry from 485.86 to 1,001.36 kg/m3, density at 12%Mc from 544.16 to 1,121.52 kg/m3, linear mass at air-dry from 1.06 to 4.45 kg/m, linear mass at oven-dry from 0.94 to 3.80 kg/m, and linear mass at 12%Mc from 1.05 to 4.25 kg/m. The mechanical properties of bamboo tested according to ISO 22157 were as follows: compressive load capacity ranged from 71.98 to 256.93 kN, compressive strength from 36.23 to 71.92 MPa, tensile load capacity from 2,639.82 to 8,793.27 N, tensile strength from 75.66 to 233.79 MPa, shear load capacity from 4,306.96 to 18,630.20 N, shear strength from 0.93 to 3.88 MPa, bending load capacity from 6,030.11 to 29,022.08 N, modulus of rupture from 46.82 to 109.38 MPa, bending stiffness (EI) from 16.85 to 74.60 kN-m2, and modulus of elasticity from 11,153.80 to 23,868.51 MPa. In the grading process, Pearson correlation coefficient was analyzed. It was found that the physical properties suitable for grading, in order from highest to lowest relationship, were density (at air-dry and 12%Mc), linear mass (at air-dry and 12%Mc), moisture content, culm wall thickness, and outer diameter. The suitability depended on the types of mechanical properties compared to find relationships and predictions. A simple linear regression analysis was then performed to establish the relationship between the physical properties (independent variable) and the mechanical properties (dependent variable) for grading. In Part 2, the samples were divided into two groups: single-culm columns and 4-multi-culm columns, which could further be subdivided into either filled mortar or empty hollow sections. Two types of lateral loads were applied: static pushover load and cyclic load. For the single-culm column samples: the results of the static load test indicated that both the empty and mortar-filled columns exhibited comparable load-bearing capacities, with the mortar-filled columns demonstrating a slightly higher load-bearing capability. In the results of the cyclic load test, it was observed that the ductility factor and energy dissipation of single columns without mortar was greater than those of single columns with mortar. These findings suggest that bamboo columns without mortar exhibit greater flexibility and better earthquake resistance. Testing the 4-multi-culm column samples revealed that in the static load test, mortar-filled columns exhibited a slightly higher load-bearing capacity compared to non-mortar-filled columns. In the cyclic load test results, it was observed that the unfilled columns had higher ductility factors and greater energy dissipation than the mortar-filled columns. When comparing single columns and group columns, it was determined that group columns exhibited superior performance in static load tests compared to both single columns with and without mortar filling. However, in the cyclic load tests, the ductility factor of single columns surpassed that of group columns. Additionally, concerning energy dissipation, group columns outperformed single columns in terms of displacement. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | สมบัติของไม้ไผ่และพฤติกรรมของเสาไม้ไผ่กรอกปูนซีเมนต์มอร์ต้าร์ภายใต้การรับแรงในแนวราบสลับทิศ | en_US |
dc.title.alternative | Characteristics of bamboo and behavior of filled cement mortar bamboo columns under cyclic load tests | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ไม้ไผ่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ | - |
thailis.controlvocab.thash | งานไม้ไผ่ | - |
thailis.controlvocab.thash | เสาไม้ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรับแรงของไม้ไผ่ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ (1) การทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางกล เพื่อทำนายกำลังและจัดเกรดการรับแรงไม้ไผ่ และ (2) การทดสอบเสาไม้ไผ่รับแรงผลักทางข้างสถิตและสลับทิศ เพื่อศึกษาผลของการกรอกมอร์ต้าในเสาไม้ไผ่ และการมัดกลุ่มไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่ใช้ในวิจัยเป็นไม้ไผ่สายพันธุ์ซางหม่น (Dendrocalamus sericeus Munro) ที่ปลูกในพืชที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน ผ่านกระบวนการถนอมและทำให้แห้งเพื่อลดแป้งและน้ำจากเนื้อไม้มาแล้ว จากผลทดสอบส่วนที่ (1) ความหนาของลำไม้ไผ่ มีขนาด 6.78 ถึง 27.03 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 74.60 ถึง 109.29 มิลลิเมตร มีปริมาณความชื้น 10.03% ถึง 19.70% ความหนาแน่น ณ ผึ่งแห้ง 546.71 ถึง 1,113.50 กก./ลบ.ม. ความหนาแน่น ณ อบแห้ง 485.86 ถึง 1,001.36 กก./ลบ.ม. ความหนาแน่น ณ ความชื้น 12% 544.16 ถึง 1,121.52 กก./ลบ.ม. มวลเชิงเส้น ณ ผึ่งแห้ง 1.06 ถึง 4.45 กก./ม. มวลเชิงเส้น ณ อบแห้ง 0.94 ถึง 3.80 กก./ม. และ มวลเชิงเส้น ณ ความชื้น 12% 1.05 ถึง4.25 กก./ม. คุณสมบัติทางกลของไม้ไผ่ทดสอบตามมาตรฐาน ISO 22157 มีดังนี้ กำลังรับแรงอัดมีค่าระหว่าง 71.98 ถึง 256.93 กิโลนิวตัน หน่วยแรงอัดมีค่าอยู่ระหว่าง 36.23 ถึง 71.92 เมกะปาสคาล กำลังรับแรงดึงมีค่าในช่วง 2,639.82 ถึง 8,793.27 นิวตัน หน่วยแรงดึงมีค่าระหว่าง 75.66 ถึง 233.79 เมกะปาสคาล กำลังรับแรงเฉือนมีค่าระหว่าง 4,306.96 ถึง 18,630.20 นิวตัน หน่วยแรงเฉือนมีค่าระหว่าง 0.93 ถึง 3.88 เมกะปาสคาล กำลังรับแรงดัดมีค่าระหว่าง 6,030.11 ถึง 29,022.08 นิวตัน Modulus of rupture มีค่าระหว่าง 46.82 ถึง 109.38 เมกะปาสคาล Bending stiffness (EI) มีค่าระหว่าง 19.34 ถึง 86.59 กิโลนิวตัน-ตร.ม. และModulus of elasticity มีค่าระหว่าง 12,672.85 ถึง 27,151.58 เมกะปาสคาล สำหรับการจัดเกรดเริ่มจากวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยพบว่า คุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมในการจัดเกรดเรียงลำดับจากความสัมพันธ์ที่มากไปน้อย คือ ความหนาแน่น (ณ ผึ่งแห้ง และความชื้น 12%) มวลเชิงเส้น (ณ ผึ่งแห้ง และความชื้น 12%) ปริมาณความชื้น ความหนาของลำไม้ไผ่ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกลที่จะนำไปเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์และการทำนาย จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์เชิงเส้นถดถอยอย่างง่ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางกายภาพ (ตัวแปรต้น) และคุณสมบัติทางกล (ตัวแปรตาม) และทำการจัดเกรดจากความสัมพันธ์ที่ได้ต่อไปในการทดสอบส่วนที่ (2) แบ่งตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ เสาเดี่ยวและเสากลุ่ม ในแต่ละแบบจะสามารถแบ่งย่อยลงเป็นกรอกและไม่กรอกมอร์ต้าร์ รูปแบบการทดสอบรับแรงด้านข้าง 2 แบบคือแบบสถิตและแบบสลับทิศกรณีตัวอย่างเสาเดี่ยวภายใต้แรงทางข้างแบบสถิตพบว่า ไม่กรอกและกรอกมอร์ต้าร์ สามารถรับแรงได้ใกล้เคียงกันโดยที่เสากรอกมอร์ต้าร์สามารถรับแรงได้สูงกว่าเล็กน้อย สำหรับการทดสอบแรงทางข้างแบบสลับทิศพบว่า ค่าองค์ประกอบความเหนียวและการสลายพลังงานเสาเดี่ยวไม่กรอกมอร์ต้าร์มีค่ามากกว่าเสาเดี่ยวกรอกมอร์ต้าร์ เป็นการบ่งบอกได้ว่าเสาไม้ไผ่ที่ไม่กรอกมอร์ต้าร์มีความยืดหยุ่นและให้ตัวได้ดีกว่าและรับแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าการทดสอบสำหรับตัวอย่างเสากลุ่ม การทดสอบแรงทางข้างแบบสถิตพบว่า เสากลุ่มกรอกมอร์ต้าร์มีความสามารถในการรับแรงได้ดีกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเสากลุ่มแบบไม่กรอกมอร์ต้าร์ สำหรับการทดสอบแรงทางข้างแบบสลับทิศพบว่า ค่าองค์ประกอบความเหนียวและการสลายพลังงานเสากลุ่มไม่กรอกมีค่ามากกว่าเสากลุ่มกรอกมอร์ต้าร์ เมื่อเปรียบเทียบเสาเดี่ยวและเสากลุ่มซึ่งพบว่า เสากลุ่มสามารถรับแรงทางข้างแบบสถิตได้ดีกว่าเสาเดี่ยวทั้งกรอกและไม่กรอกมอร์ต้าร์ สำหรับการทดสอบแรงทางข้างแบบสลับทิศในส่วนค่าองค์ประกอบความเหนียวเสาเดี่ยวมีค่ามากกว่าเสากลุ่ม ในส่วนการสลายพลังงานพบว่าเสากลุ่มมีค่ามากกว่าเสาเดี่ยวในทุกระยะเคลื่อนที่ | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630631041_Panumat_Tangphadungrat.pdf | 15.91 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.