Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรัท วินิจ-
dc.contributor.authorการวรัญ สมทานีen_US
dc.date.accessioned2023-11-09T01:13:35Z-
dc.date.available2023-11-09T01:13:35Z-
dc.date.issued2566-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79159-
dc.description.abstractThe independent study aimed to explore the factors influencing the intention to purchase in local multi-brand cosmetic retail stores among consumers in Mueang Chiang Mai district. The study applied method using quantitative methodology. Using the concept of 6 retail mix factors: Store Location, Merchandise Assortments, Price, Store Ambience, Communication and Customer Service. The sample size of 300 respondents and author also applied the Purposive Sampling method to survey and collect data from customers of three stores: customers of Win Cosmetics, customers of Dara cosmetics and customers of Chiang Mai Direct. Questionnaire was provided to respondents as a tool for data gathering. Analytic tools in this study were descriptive analysis, Exploratory factor Analysis and multiple regression analysis. The demographics results revealed that the major of respondents were female with 21 - 30 years of age. Mostly were company workers which had monthly average income in the range of 10,000 -20,000 baht. The respondents are members of Chiang Mai Direct store, and the purpose of purchasing was to buy personal items. Most of the products are used in daily life. The average cost per time is 501–1,000 baht. The overall opinion of the factors influencing the intention to purchase in local multi-brand cosmetic retail stores 6 retail mix factors was at the level of agreement. The findings from descriptive analysis showed the customer perception toward Retailing mix of local multi-brand cosmetic retail stores, the customers perceived in store location aspect the most. The second aspect that showing high opinion scores was store ambience aspect. The third aspect that customer perceived was product aspect. The fourth aspect was price. The Fifth aspect was customer service and the sixth aspect was communication. Factor Analysis was used to re-arrange retailing mix factors into new components. Finding indicated that the 6 new components were obtained as followings Customer service and accessibility oriented, Store organized oriented, Types and prices of products sold oriented oriented, Promotion oriented, Store location oriented and facilitating oriented. The findings from Regression Analysis studying the relation between 6 components and intention to purchase showed that the components that significantly impacted the intention to purchase could be presented in descending order as (1) Promotion oriented has a coefficient of 0.663 at 0.05 level of significance, which consists of factors that affect positive on intention to purchase, namely having more discount promotions than other multi-brand cosmetics stores (2) Store organized oriented has a coefficient of 0.638 at 0.05 level of significance, which consists of factors that affect positive on intention to purchase, namely the store looks new and modern, the store do not clutter up the walkway, the walkway is not congested, and arrange products into categories and (3) Facilitating oriented has a coefficient of 0.475 at 0.05 level of significance, which consists of factors that affect purchase intention positively, namely having the car parking for customers of the store only.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอิทธิพลของการรับรู้ลักษณะเด่นของร้านค้าปลีกเครื่องสำอางระดับท้องถิ่นประเภทมัลติแบรนด์ต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeImpacts of perceived differentiation of local multi-brand cosmetic retail stores on intention to purchase among consumers in Mueang Chiang Mai districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashร้านค้าปลีก-
thailis.controlvocab.thashเครื่องสำอาง-
thailis.controlvocab.thashเครื่องสำอาง -- การตลาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มการรับรู้ที่เป็นลักษณะเด่นของร้านค้าปลีกเครื่องสำอางระดับท้องถิ่นประเภทมัลติแบรนด์ต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ รูปแบบการศึกษาค้นคว้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แนวคิดปัจจัยส่วนประสมการค้าปลีก 6 ด้าน ได้แก่ ส่วนประสมด้านทำเลที่ตั้งการค้าปลีก (Store Location) ส่วนประสมด้านสินค้า (Merchandise Assortments) ส่วนประสมด้านราคา (Price) ส่วนประสมด้านการออกแบบตกแต่งร้านค้า (Store Ambience) ส่วนประสมด้านการสื่อสาร (Communication) และส่วนประสมด้านการบริการลูกค้า (Customer Service) กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคร้านค้าปลีกเครื่องสำอางระดับท้องถิ่นประเภทมัลติแบรนด์ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 300 ราย ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าจากร้านวินคอสเมติคส์ ดาราคอสเมติคส์ และเชียงใหม่ไดเร็คท์ ใช้การเก็บแบบสอบถาม ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 21 – 30 ปี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 บาทเป็นสมาชิกร้านเชียงใหม่ไดเร็คท์ มักใช้บริการร้านค้าที่มีสะดวกต่อการเข้าถึง และมีสินค้าราคาถูก มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อของใช้ส่วนตัว โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นประเภทของใช้ในชีวิตประจำวันและมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 501 – 1,000 บาท ความเห็นการรับรู้ลักษณะเด่นด้านส่วนประสมการค้าปลีกในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยทั้งหมด 6 ด้าน ผลการศึกษาด้านการจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่ด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ พบว่าสามารถแบ่งกลุ่มของการรับรู้ลักษณะเด่นได้ทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การรับรู้ลักษณะเด่นด้านการบริการและการเข้าถึงลูกค้า การรับรู้ลักษณะเด่นด้านการจัดระเบียบภายในร้าน การรับรู้ลักษณะเด่นด้านประเภทและราคาสินค้าที่จำหน่ายในร้าน การรับรู้ลักษณะเด่นด้านโปรโมชั่นส่วนลด การรับรู้ลักษณะเด่นด้านทำเลที่ตั้ง และการรับรู้ลักษณะเด่นด้านการอำนวยความสะดวก ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่าองค์ประกอบของการรับรู้ลักษณะเด่นของร้านค้าปลีกเครื่องสำอางประเภทมัลติแบรนด์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยมีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบของการรับรู้ลักษณะเด่นด้านโปรโมชั่นส่วนลด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.663 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเชิงบวก ได้แก่ มีการจัดโปรโมชั่นลดราคามากกว่าร้านมัลติแบรนด์คอสเมติคส์อื่น ๆ (2) องค์ประกอบของการรับรู้ลักษณะเด่นด้านการจัดระเบียบภายในร้าน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.638 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเชิงบวก ได้แก่ ร้านค้าดูใหม่ มีความทันสมัย ร้านค้าไม่วางของเกะกะตามพื้นที่ทางเดิน พื้นที่ทางเดินสะดวก ไม่เดินเบียดเสียด ชนกัน และเรียบเรียงสินค้าเป็นหมวดหมู่ ทำให้รู้เมื่อเดินไปล็อตถัดไปจะเจอสินค้าอะไร และ (3) องค์ประกอบของการรับรู้ลักษณะเด่นด้านการอำนวยความสะดวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.475 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเชิงบวก คือ มีที่จอดเฉพาะลูกค้าร้าน ไม่ต้องวนหาที่จอดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532001-การวรัญ สมทานี.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.