Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเริงชัย ตันสุชาติ-
dc.contributor.advisorปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์-
dc.contributor.authorสิทธิโชค พลายภูมิen_US
dc.date.accessioned2023-11-06T10:04:43Z-
dc.date.available2023-11-06T10:04:43Z-
dc.date.issued2023-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79141-
dc.description.abstractThis study aimed to evaluate food security and livelihood within the concept of GIAHS, to study the cultural capital of sea salt farming and its significance, assess the readiness and economic potential of the sea salt farming community, and synthesize policy directions for the economic and social development of the sea salt farming community. The researchers interviewed 409 households of farmers and fishermen, converting the data using Max-min normalization and weighing the data using the Entropy weight method, in order to obtain information for assessing food security and livelihood. Furthermore, 100 stakeholders related to sea salt farming were interviewed to gather information on the readiness and economic potential of the community. Interviews were also conducted with government agencies, sea salt farmers, researchers from Petchaburi Rajabhat University, and local government agencies, to gather information on cultural capital and the importance of salt farming. Lastly, a holistic management concept was applied, organizing group meetings to identify problems related to economic, social, and environmental development. The SWOT analysis and TOWS Matrix tools were used to determine policies through a balanced management concept (Balance score card). The study found that the food security and livelihood of the interviewees in this area were not good, with an average rating of 2.724, which is divided into 1.476 for food security score and 1.248 for livelihood security score. Regarding cultural capital, it was found that sea salt production in Ban Laem district has deep-rooted traditions, both tangible and intangible, creating a distinctive cultural identity of the area. Traditional rituals, food, crafts, and tools related to salt production contribute to tangible cultural characteristics, unique to the locality, providing value in terms of historic, aesthetics, scientific, economic, and social. In terms of community potential, natural capital was rated the highest, followed by social capital, indigenous knowledge capital, physical capital, and financial capital. Human capital was rated the lowest. Additionally, the community was not ready to receive GIAHS status as the evaluation indicated that the salt farming community is in a Weak-GIAHS status. Finally, to promote the community's potential to attain GIAHS status, the researchers proposed the following guidelines: Issue 1: Solving economic, social, and environmental problems to make sea salt farming sustainable. Issue 2: Building networks in local communities to solve economic, social, and environmental problems. Issue 3: Developing systems and management mechanisms to address economic, social, and environmental issues. And Issue 4: Developing the potential of sea salt farmers and related networks to improve economic, social, and environmental conditions in the community.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนและทุนทางวัฒนธรรมภายใต้เกณฑ์ระบบมรดกทางการเกษตรโลกเกลือทะเลไทย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.title.alternativePotential community economic and cultural capital assessment under globally important agricultural heritage systems criteria Ban Laem District Phetchaburi Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความมั่นคงทางอาหาร -- บ้านแหลม (เพชรบุรี)-
thailis.controlvocab.thashเศรษฐกิจพอเพียง -- บ้านแหลม (เพชรบุรี)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความมั่นคงด้านอาหารและความเป็นอยู่ภายในแนวคิด GIAHS การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมนาเกลือทะเลและความสำคัญ การประเมินความพร้อมและศักยภาพเศรษฐกิจของชุมชนชาวนาเกลือ และสังเคราะห์แนวทางนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาเกลือ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เกษตรกรและชาวประมงจำนวน 409 ครัวเรือน โดยมีการแปลงข้อมูลในรูปแบบ Max-min normalization และการถ่วงน้ำหนักข้อมูลด้วยวิธีเอนโทรปี (Entropy weight method) เพื่อให้ได้รับข้อมูลเพื่อการประเมินความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับเกลือทะเล 100 ราย เพื่อให้ได้รับข้อมูลในการประเมินความพร้อมและศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ หน่วยงานราชการ ปราญช์ชาวนาเกลือ นักวิจัยจากมหาลัยราชภัฏเพชรบุรี และหน่วยงานราชการในท้องถิ่น เพื่อให้ได้รับข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมและความสำคัญนาเกลือ ท้ายสุดผู้วิจัยได้นำกรอบแนวคิดการบริหารแบบองค์รวมด้วยการจัดประชุมกลุ่ม เพื่อกำหนดปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากนั้นได้ใช้เครื่องมือ SWOT analysis และ TOWS Matrix เพื่อกำหนดนโยบายผ่านกรอบแนวคิด การบริหารแบบสมดุล (Balance score card) ผลการศึกษาพบว่า ความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ของผู้ให้สัมภาษณ์ในสถานที่นี้อยู่ในระดับไม่ดี โดยมีค่าประเมินเฉลี่ย 2.724 โดยแบ่งเป็น สำหรับคะแนนความมั่นคงทางอาหาร 1.476 และ1.248 สำหรับคะแนนความมั่นคงทางความเป็นอยู่ ในด้านของการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมพบว่าการผลิตเกลือทะเลในอำเภอบ้านแหลมมีรากฐานที่หยั่งรากลึกทั้งลักษณะทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ซึ่งก่อให้เกิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของพื้นที่ พิธีการแบบดั้งเดิม อาหาร งานฝีมือ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเกลือก่อให้เกิดลักษณะทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มอบคุณค่าทั้งในด้านประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ วิชาการ เศรษฐกิจ และสังคม ในส่วนของศักยภาพชุมชนพบว่า ทุนทางธรรมชาติทุนทางธรรมชาติ (Nature Capital) ได้รับการประเมินสูงสุด หลังจากนั้นเป็นทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนความรู้พื้นเมือง (Indigenous Knowledge Capital) ทุนกายภาพ (Physical Capital) ทุนการเงิน (Financial Capital) ตามลำดับ ในขณะที่ทุนมนุษย์ (Human Capital) ได้รับการประเมินที่ต่ำที่สุด ตามลำดับ นอกจากนี้ชุมชนยังไม่มีความพร้อมต่อการได้รับ GIAHS เนื่องจากผลประเมินระบุว่าชุมชนเกลือมีสถานะ GIAHS อ่อนแอหรืออยู่ในภาวะคุกคาม และท้ายสุดเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพเพียงพอต่อการก้าวสู่สถานะ GIAHS ผู้วิจัยจึงข้อเสนอแนวทางดังต่อไปนี้ ประเด็นที่ 1: การแก้ไขปัญหาทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวิ่งแวดล้อม เพื่อให้อาชีพชาวนาเกลือทะเลให้มีความยั่งยืน ประเด็นที่ 2: การสร้างเครือข่ายในชุมชนท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 3. การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ ประเด็นที่ 4: การพัฒนาศักยภาพของชาวนาเกลือและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชนen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631631013-สิทธิโชค พลายภูมิ.pdf11.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.