Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79132
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | น้ำผึ้ง อินทะเนตร | - |
dc.contributor.author | นนทกาล กันทา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-05T08:38:03Z | - |
dc.date.available | 2023-11-05T08:38:03Z | - |
dc.date.issued | 2023-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79132 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) to construct measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers 2) to verify the quality of measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers and 3) to develop and validate the quality of the handbook for measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers. The sample of this research consisted of 603 teachers under the Secondary Educational Service Area Offices in The Upper North Region in the 2022 academic year obtained from a multi-stage random sampling technique. The research instruments were a measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers with a five-level rating of 66 items with IOC between 0.71 and 1.00. Additionally, the assessment of the quality of the handbook for measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers consisted of 15 items with 5 levels of rating scale and IOC ranging from 0.80 to 1.00. The data were then analyzed by mean, standard deviation, Item-Total Correlation and t-test for item discrimination, Cronbach's Alpha Coefficient for reliability, the Cohen’s kappa coefficient for content validity, and confirmatory factor analysis for structural validity. Moreover, the quality of the measurement instrument was assessed using the Polytomous Item Response Theory with the Graded – Response Model (GRM). The findings were; 1) The measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers has 5 levels of rating scale and is used for self-assessment. The instrument consist of 10 components and 21 indicators including (1) A disorienting dilemma consisted of 3 indicators (2) Self-examination consisted of 2 indicators (3) A Critical self-assessment consisted of 2 indicators (4) Recognition that one's discontent and the process of transformation are shared consisted of 2 indicators (5) Exploration of options for new roles, relationships, and actions consisted of 2 indicators (6) Planning a course of action consisted of 2 indicators (7) Acquisition of necessary knowledge and skills for implementing one’s plans consisted of 2 indicators (8) Provisional trying for new roles consisted of 2 indicators (9) Building competence and self-confidence in new roles and relationships consisted of 2 indicators and (10) A reintegration into one’s life on the basis of conditions dictated by one’s new perspective consisted of 2 indicators. 2) The quality of measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers, based on classical test theory (CTT), revealed that the discrimination power ranged from 0.287 to 0.620 and the t-values ranged from 2.907 to 7.407 (p<.01). The reliability coefficient for the entire measurement instrument was found to be 0.941 and the reliability coefficients for individual components ranged from 0.674 to 0.847. The structural model of secondary school teacher’s transformative learning process fitted well with the empirical data (2 = 107.036, df = 104, p-value = 0.3995, CFI = 0.999, TLI = 0.999, SRMR = 0.049 and RMSEA = 0.007). The concurrent validity of the measurement instrument was found to be 0.75. For the quality assessment of the measurement instrument using the Polytomous Item Response Theory, the item slope parameter (αi) ranged from 0.370 to 1.759 and the threshold parameters (βij) showed a pattern of β1 < β2 < β3 < β4. The norm of measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers fell between T19 and T82. 3) The handbook for measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers received an average rating ranging from 4.60 to 5.00, indicating the highest level of quality for each item. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของครูมัธยมศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค | en_US |
dc.title.alternative | Development of measurement instrument for transformative learning process of secondary school teachers: an application of polytomous item response theory | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ครูมัธยมศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | การวัดผลทางการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | การประเมินผลทางการศึกษา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา และ 3) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพคู่มือแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนบน ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 603 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่า IOC มีค่าตั้งแต่ 0.71 – 1.00 และแบบประเมินคุณภาพของคู่มือแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าอำนาจจำแนกด้วยวิธี Item Total Correlation และการทดสอบที (t-test) การหาค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) การตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพด้วยสูตรแคปปาของโคเฮน การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค (Polytomous Item Response Theory) โดยใช้ Graded – Response Model (GRM) ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ครูเป็นผู้ประเมินตนเอง (Self-assessment) ประกอบไปด้วย 10 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ภาวะการเกิดข้อสงสัย มี 3 ตัวบ่งชี้ (2) การตรวจสอบตนเอง มี 2 ตัวบ่งชี้ (3) การประเมินตนเองอย่างมีวิจารณญาณ มี 2 ตัวบ่งชี้ (4) การวิพากษ์แนวคิดร่วมกับบุคคลอื่น มี 2 ตัวบ่งชี้ (5) การสำรวจบทบาทใหม่ มี 2 ตัวบ่งชี้ (6) การวางแผนการปฏิบัติ มี 2 ตัวบ่งชี้ (7) การหาความรู้และทักษะที่จำเป็น มี 2 ตัวบ่งชี้ (8) การทดลองบทบาทใหม่ มี 2 ตัวบ่งชี้ (9) การสร้างสมรรถนะและความเชื่อมั่นในบทบาทใหม่ มี 2 ตัวบ่งชี้ และ (10) การบูรณาการสู่ชีวิตจริง มี 2 ตัว 2) ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่า ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.287 ถึง 0.620 และมีค่า t ตั้งแต่ 2.907 ถึง 7.407 ซึ่งข้อคำถามมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความเชื่อมั่นรายฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.941 และค่าความเชื่อมั่นรายองค์ประกอบมีค่าตั้งแต่ 0.674 ถึง 0.847 การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 107.036, df = 104, p-value = 0.3995, CFI = 0.999, TLI = 0.999, SRMR = 0.049 และ RMSEA = 0.007) การตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพได้เป็น 0.75 และผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค พบว่า ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (αi) อยู่ระหว่าง 0.370 ถึง 1.759 ส่วนค่าพารามิเตอร์ Threshold ของแต่ละรายการคำตอบ (βij) มีค่า β1 < β2 < β3 < β4 และเกณฑ์ปกติของแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T19 – T82 3) คู่มือแบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา มีผล การประเมินคุณภาพเฉลี่ยตั้งแต่ 4.60 – 5.00 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640231001 นนทกาล กันทา.pdf | 13.3 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.