Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพดล กรประเสริฐ-
dc.contributor.authorโสรยา ปิยะวราภรณ์en_US
dc.date.accessioned2023-10-28T09:09:20Z-
dc.date.available2023-10-28T09:09:20Z-
dc.date.issued2564-12-16-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79108-
dc.description.abstractThailand has continued economic growth particularly in the industrial and service sectors. It results in the increased number of trucks on road networks. The increased number of trucks has a direct impact on road traffic and roadway conditions. In addition, the transportation business is more competitive, and causing the truck load to exceed the legal limit. With this reason, road authorities have established truck stations along road network to monitor truck weighing operations. However, in the past the truck weigh stations and systems had limitation in operations and quality of service. They possibly create traffic congestion and service delays at the weighing checkpoint. Currently, the Weigh-In-Motion (WIM) technology has been adopted, a technology that can weigh vehicles in motion through a weighing device and can screen overloaded trucks to reduce the number of trucks being weighed at the static truck weigh stations. The objective of this study was to analyze the operational performance among three types of truck weigh stations including Static weighing, Static weighing with Weigh-In-Motion technology, and Spot Check weighing stations on 2-lane and 4-lane roads. The study develops microscopic traffic simulation models to evaluate the operational performances and compare the level of service among truck weigh stations. The analysis help recommend the suitable truck weigh stations under different traffic conditions and road environments. Moreover, the study applies microscopic traffic simulation models to the real-world truck weigh station on CM 3035 road in Chiang Mai Province. The study is used to analyze operational efficiency and benefits by estimating truck delays, travel time, queue lengths and level of service. The results of the operational analysis among three typical types of truck weigh stations. showed that the Weigh-In-Motion technology could reduce truck delays, the average travel time, and the average truck queue length and waiting time. Since Weigh-In-Motion technology can help screen for the overloaded trucks. the number of trucks being weighed at the weighing stations was reduced. Therefore, static truck weigh stations with Weigh-In-Motion (WIM) technology lead to lessen traffic problems. Furthermore, the real-world application to truck weigh station on Chiang Mai Rural Road 3035 showed the comparison between equipped and non-equipped Weigh-In-Motion technology. The analysis during peak hour and off-peak hours revealed that Weigh-In-Motion technology reduced truck delays by 83.7% and 91.4%, respectively. It reduced the average travel time by 4.8% and 3.7% respectively. It reduced the average truck waiting length (queue length) by 92.8% and 93.4%, respectively. The study also performed the sensitivity analysis. The comparison found that with the increased service time and increased hourly traffic, the Weigh-In-Motion technology system can improve traffic conditions. For example, it can reduce queue lengths by 82.3%, 92.8% and 97.8% for the service times of 15, 30 and 60 seconds, respectively. The economic analysis of the CM-3035 truck weigh station with Weigh- In- Motion technology revealed the travel time saving and fuel consumption. The analysis found that the WIM technology can result in travel time savings of 9,77 baht year and fuel consumption saving of 97,7 baht/year.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกen_US
dc.titleการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกด้วยเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่โดยใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาคen_US
dc.title.alternativeAnalysis of operational performance of truck weigh stations with Weigh-In-Motion Technology using microscopic traffic simulationen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเครื่องชั่งยานยนต์-
thailis.controlvocab.thashรถบรรทุก -- น้ำหนักและการวัด-
thailis.controlvocab.thashจราจร -- แบบจำลอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โคยเฉพาะอย่างยิ่งใน ภาคอุตสาหกรรมและการให้บริการ ทำให้ปริมาณการเดินทางของรถบรรทุกบนโครงข่ายทางหลวง เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพการจราจรและสภาพผิวทาง อีกทั้งธุรกิจด้านการขนส่งมีการ แข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้เกิดการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดกฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้ ในอดีตที่ผ่านมา หน่วยงานทางได้จัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกบนทางหลวงเพื่อตรวจสอบน้ำหนักรถบรรทุกบน โครงข่ายถนน อย่างไรก็ตาม ระบบและรูปแบบของการตรวจชั่งน้ำหนักที่ใช้อยู่มีข้อจำกัดในการ ให้บริการ ส่งผลกระทบด้านการจราจรและความล่าช้าในการให้บริการบริเวณด่านชั่งน้ำหนัก ใน ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ (Weigh-In-Motion) มาปรับใช้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่สามารถชั่งน้ำหนักบรรทุกในขณะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ตรวจชั่ง สามารถคัดกรองรถบรรทุกที่ บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดออกจากรถบรรทุกทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการคำเนินงานของด่านชั่งน้ำหนัก รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ด่านชั่งน้ำหนักถาวร (Static) ด่านชั่งน้ำหนักถาวรแบบติดตั้ง เทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ (Semi-WIM) และด่านชั่งน้าหนักเคลื่อนที่ (Spot Check) บนถนน 2 ช่องจราจรและ 4 ช่องจราจร โดยอาศัยแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Traffic Simulation) ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการคำเนินงานและเปรียบเทียบระดับการให้บริการของ ด่านชั่งน้ำหนักแต่ละรูปแบบ เพื่อเสนอแนะรูปแบบด่านชั่งน้ำหนักที่เหมาะสมในแต่ละสภาพ การจราจรและบริบทพื้นที่ นอกจากนั้น การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Traffic Simulation) กับด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกในพื้นที่ศึกษาบนโครงข่ายถนนสาย ทาง ชม.3035 จังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลประโยชน์ โดย ประเมินความล่าช้าของรถบรรทุก (Truck Delay) เวลาในการเดินทางของผู้ใช้ทาง (Travel Time) ความยาวแถวคอยของรถบรรทุก (Queue Length) และระดับการให้บริการ (Level of Service) จากผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของแบบจำลองการจราจร ของด่านชั่ง น้ำหนักต้นแบบ พบว่า การคิดตั้งเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ จะช่วยลดความล่าช้าเฉลี่ยของ รถบรรทุก ช่วยลดเวลาในการเดินทางเฉลี่ย และช่วยลดความยาวแถวคอยเฉลี่ยของรถบรรทุกอย่าง เห็นได้ชัด เนื่องจากการติดตั้งเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ช่วยคัดกรองรถบรรทุกที่คาดว่ามี น้ำหนักเกินพิกัด ทำให้ปริมาณรถบรรทุกที่เข้ารับการตรวจชั่งบริเวณค่านชั่งน้ำหนักลดลงแต่ถูกต้อง มากขึ้น ส่งผลให้การจราจรบริเวณด่านชั่งน้ำหนักดีขึ้น จากผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของด่านชั่งน้ำหนัก ชม.3035 เปรียบเทียบ ระหว่างกรณีติดตั้งและไม่ติดตั้งเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ โดยทำการวิเคราะห์ในชั่วโมง เร่งด่วน (Peak hours) และนอกชั่วโมงเร่งด่วน (Off-peak hours) พบว่า การติดตั้งเทคโนโลยีชั่ง น้ำหนักขณะเคลื่อนที่ ช่วยลดความล่าช้าของรถบรรทุก คิดเป็นร้อยละ 83.7 และร้อยละ 91.4 ตามลำดับ ช่วยลดเวลาในการเดินทางเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 4.8 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ และลดความ ยาวแถวคอยเฉลี่ยของรถบรรทุก คิดเปีนร้อยละ 92.8 และร้อยละ 93.4 ตามลำดับ นอกจากนี้การ วิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ของการให้บริการด่านชั่งน้ำหนัก พบว่า เมื่อเวลาใน การให้บริการและปริมาณจราจรรายชั่วโมงเพิ่มขึ้น การติดตั้งเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ ช่วย ให้การจราจรดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ช่วยลดความยาวแถวคอย คิดเป็นร้อยละ 82.3, 92.8 และ 97.8 เมื่อเวลา ในการให้บริการเท่ากับ 15, 30 และ 60 วินาที ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของ ด่านชั่งน้ำหนักในพื้นที่ศึกษา จากมูลค่าเวลารวมที่ลดลงและอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ลคลง พบว่า การติดตั้งเทคโนโลยีชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ สามารถลดค่าใช้จ่ายจากเวลาในการเดินทาง เท่ากับ 9.8 ล้านบาทต่อปี และลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง คิดเป็น 97.6 ล้านบาทต่อปีen_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631076 โสรยา ปิยะวราภรณ์.pdf10.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.