Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79093
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Sasithorn Sirilun | - |
dc.contributor.advisor | Chaiyavat Chaiyasut | - |
dc.contributor.advisor | Narissara Lailerd | - |
dc.contributor.author | Pattharaparn Siripun | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-21T07:00:15Z | - |
dc.date.available | 2023-10-21T07:00:15Z | - |
dc.date.issued | 2020-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79093 | - |
dc.description.abstract | Dyslipidemia, a disorder of lipoprotein metabolism causing changes in blood lipid levels and leading to atherosclerosis, the main cause of cardiovascular disease, can be reduced by the intake of vegetable and fruit containing natural antioxidant, vitamins, minerals and soluble fiber. In this research, seven kinds of vegetable and fruit were selected and collected from an organic farm to make blended vegetable and fruit juice. The sensory evaluation of the blended vegetable and fruit juice from 12 formulations was performed in order to select the optimum formulation. Additionally, the soluble fiber content, total polyphenol content, and antioxidant capacity in 12 formulations are analyzed. After obtaining the optimum formulation, there was a study on the effect of the blended vegetable and fruit juice containing probiotics L. paracasei and the one without probiotics on biological markers related to dyslipidemia and oxidative stress in dyslipidemic subjects. The sensory evaluation of 12 blended vegetable and fruit juice formulations was performed to obtain the sensory responses to appearance, color, aroma, taste, texture and overall acceptability by using a 9-point Hedonic scale. The result revealed that the average sensory acceptance scores of the formulations F1 and F10 were at a high-range between 7 (like moderately) and 9 (like extremely). The formulation F10 showed the highest content of total polyphenol at 90.59±2.98 as mg Gallic acid equivalent (GAE)/100 mL of blended vegetable and fruit juice. The relation between the total polyphenol content and the antioxidant ( ABTS) values in the same formulation was detected; if the total polyphenol content was high, the antioxidant (ABTS) values were also high. The formulation F10 showed the statistically significant (p0.05). After 30 days of the clinical trial, there was a statistically non-significant difference (p>0.05) in body weight, BMI and waist circumference in both groups compared with baseline values. The systolic blood pressure of the subjects in Group 1 showed a nonsignificant decrease ( p>0.05) while the systolic blood pressure in Group 2 showed a significant decrease ( p0.05) between groups. The diastolic blood pressure of the subjects in Group 1 showed a non-significant decrease (p>0.05) while the one in Group 2 showed a significant decrease (p0.05) within group. In contrast, HDL-C, triglyceride and triglycerides/HDL-C ratio showed a statistically non-significant decrease (p>0.05) within group. The lipid profiles of the subjects in Group 2 showed a statistically significant decrease in the levels of total cholesterol, LDL-C, triglycerides and triglycerides/HDL-C ratio ( p0.05) between groups. The antioxidant capacity in plasma was measured using a modified ABTS assay and the result showed a statistically non-significant increase within group in both groups and a statistically non-significant difference (p>0.05) between groups. The lipid peroxidation in plasma which was measured using a modified MDA assay showed a statistically non-significant decrease (p>0.05) within group in Group 1. In contrast, MDA showed a significant decrease (p0.05) between groups. The oxidative stress enzymes studied in this research consisted of catalase (CAT), glutathione peroxidase (GPx) and superoxide dismutases (SOD). The three types of the oxidative stress enzyme levels in Group 1 showed a statistically non-significant increase (p>0.05) within group whereas in Group 2 showed a significant increase in catalase (CAT), glutathione peroxidase (GPx) (p0.05) in superoxide dismutases (SOD) within group while the three types of the oxidative stress enzyme levels showed a non-significant difference (p>0.05) between groups. The inflammatory marker, hs-CRP, levels in both groups showed a significant decrease (p0.05) between groups. The bile acids levels in feces of the subjects in Group1 displayed a statistically nonsignificant decrease (p>0.05) within group. In contrast, the bile acids levels in feces of the subjects in Group 2 displayed a statistically significant increase (p < 0.10) within group while the bile acids levels in feces showed a significant difference (p0.05) in lactic acid, butyric acid and propionic acid levels in feces of the subjects in Group 1 while there was a significant increase (p0.05) in lactic acid in feces of the subjects in Group 2 while there was a significant increase in acetic acid, butyric acid and propionic acid levels in feces (p0.05) between groups. According to the results obtained in this research, the blended vegetable and fruit juice formulation F10 containing L. paracasei could decrease systolic blood pressure by 9.20%, diastolic blood pressure by 10.53%, total cholesterol by 5.59%, LDL-C by 6%, triglyceride by 24.14%, triglycerides/HDL-C ratio by 30.83%, hs-CRP by 31.87%, MDA by 68.42%. In addition, it could increase HDL-C by 8.33% , catalase enzyme by 8.07% , glutathione peroxidase enzyme by 31.75% in the dyslipidemic subjects who hadn’t taken any dyslipidemic medicine at Bhumibol Adulyadej Hospital. Hence, the blended vegetable and fruit juice formulation F10 containing L. paracasei could be a new alternative method to reduce LDL-C and triglycerides and enhance primary prevention for cardiovascular diseases in dyslipidemic patients who never experience any dyslipidemic medication. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Effects of blended vegetable and fruit juice containing probiotics on lipid levels and oxidative stress in Dyslipidemic volunteers at Bhumibol Adulyadej hospital | en_US |
dc.title.alternative | ผลของน้ำปั่นผักและผลไม้ผสมโพรไบโอติกที่มีต่อระดับไขมันในเลือดและภาวะเครียดออกซิเดชันของอาสาสมัครที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Fruit juices | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Vegetable juices | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Vegetable juices -- Therapeutic use | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Probiotics | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Hyperlipidemia | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Blood cholesterol | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Oxidative stress | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะผิดปกติของระบบผาผลาญไลโปโปรตีน ที่เป็นสาเหตุของ การเปลี่ยนแปลงไขมันในเลือดซึ่งทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน การบริโภคผักและผลไม้ที่มี สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุจากธรรมชาติ และเส้นใยอาหารที่ละลายได้ในน้ำ สามารถช่วยลด ความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจได้ งานวิจัยนี้ได้คัดเลือกผักและผลไม้จำนวน 7 ชนิดที่ผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ใน การทดลอง โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อคัดเลือกน้ำผักและผลไม้เป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด จากน้ำผักและผลไม้ปั่น จำนวน 12 สูตร ซึ่งใช้การประเมินผลิตภัณฑ์ทางประสาทสัมผัส รวมทั้งได้ทำ การวิเคราะห์ปริมาณเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายได้ในน้ำ ปริมาณสาร โพลิฟีนอลรวม และความสามารถ ในการต้านออกซิเดชันในน้ำผักและผลไม้ปั่นทั้ง 12 สูตร หลังจากที่ได้น้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ เหมาะสมที่สุดแล้วจึงทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของน้ำผักและผลไม้ปั่นที่เติมโพร ไบ โอติกสายพันธุ์ แลกโตบาซิลลัส พาราเคเซอิ และน้ำผักและผลไม้ปั่นที่ไม่เติมโพรไบ โอติก โดยมีผลต่อตัวบ่งนี้ทางชีวภาพ ของภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะเครียดออกซิเดชันหรือ ภาวะความไม่สมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ และกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ในอาสาสมัครที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง การทดลองนำน้ำผักและผลไม้ปั่นจำนวน 12 สูตรมาประเมินผลทางประสาทสัมผัสเพื่อประเมิน ลักษณะภายนอก สี รสชาติ กลิ่น เนื้อสัมผัส และการยอมรับได้โดยรวม โดยใช้คะแนนความชอบแบบ ฮีโดนิก 9 ระดับ ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า สูตรที่ 1 และสูตรที่ 10 ได้คะแนนค่าเฉลี่ยการยอมรับใน ระดับสูงซึ่งอยู่ระหว่างระดับ 7 (ชอบปานกลาง) และ 9 (ชอบมากที่สุด) น้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 มี ปริมาณรวมของสาร โพลิฟีนอลสูงสุดวัดค่าได้ 90.59±0.26 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อน้ำผักและ ผลไม้ปั่นขนาด 100 มิลลิลิตร และจากการวิเคราะห์น้ำผักและผลไม้ปั่นในงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า ปริมาณรวมของสารโพลิฟีนอลและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีความสัมพันธ์กัน หากปริมาณสารโพลีฟินอล สูง ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระก็จะสูงเช่นกัน สำหรับน้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 มีค่า ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเอบีทีเอส สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ 244.68±13.78 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และมีค่าการยับยั้งที่ร้อยละ 60.97±2.94 นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ปริมาณเส้นใย อาหารชนิดที่ละลายได้ในน้ำที่มีในน้ำผักและผลไม้ปั่น โดยวิธีการใช้เอนไซม์ในการย่อยตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบว่าน้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 มีปริมาณเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายได้ในน้ำสูงที่สุด คือ 0.71±0.02 กรัม/มิลลิลิตร ของน้ำผักและผลไม้ปั่น น้ำผักและผลไม้ปั่น สูตรที่ 10 นี้ มีส่วนผสมของ ผักกาดหอม ร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ขึ้นฉ่ายจีน ร้อยละ 0.5โดยน้ำหนัก หอมหัวใหญ่ ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก มะเขือเทศเชอรี ร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก แอปเปิ้ลฟูจิ ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก น้ำมะนาว ร้อยละ 3 โดย น้ำหนัก และน้ำผึ้งร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก จากผลการวิจัยเหล่านี้ จึงได้คัดเลือกน้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 ไปใช้ในการทดลองในมนุษย์ต่อไป การศึกษาทางคลินิกในงานวิจัยนี้เป็นการทดลองเพื่อศึกษาว่าน้ำผักและผลไม้ปั่นที่เติมโพรไบโอติก สายพันธุ์แลคโตบาชิลลัส พาราเซอิ และน้ำผักและผลไม้ปั่นที่ไม่เติมโพรไบโอติก มีผลต่อน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ตัวบ่งชี้ ภาวะการอักเสบในร่างกายในพลาสมา กรดน้ำดีและกรดไขมันสายสั้นในอุจจาระของอาสาสมัครที่มี ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ที่เข้าร่วมในการวิจัย ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช งานวิจัยทางคลินิกนี้ใช้ระยะเวลาการศึกษา 30 วัน โดยมีอาสาสมัครผู้เข้าร่วมการวิจัยรวมทั้งสิ้น 30 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 27 คน และเป็นเพศชายจำนวน 3 คน อาสาสมัครอยู่ในช่วงอายุ 27 - 58 ปี โดยมีการแบ่งอาสาสมัครแบบสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนอาสาสมัครรวม 15 คน กลุ่ม 1 ประกอบด้วยอาสาสมัครเพศหญิง 14 คน และเพศชาย 1 คน อาสาสมัครกลุ่ม 1 ให้ดื่มน้ำผักและผลไม้ปั่น ที่ไม่เติมโพรไบโอติกขนาด 250 ซีซี วันละ 2 ครั้ง 30 นาทีก่อนอาหารกลางวันและอาหารเย็น กลุ่ม 2 ประกอบด้วยอาสาสมัครเพศหญิง 13 คน และเพศชาย 2 คน อาสาสมัครกลุ่ม 2 ให้ดื่มน้ำผักและผลไม้ ปั่นที่เติมโพรไบโอติกขนาด 250 ซีซี วันละ 2 ครั้ง 30 นาที ก่อนอาหารกลางวันและอาหารเย็น อาสาสมัคร ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในตอนเริ่มต้น ทำการศึกษาทางคลินิก ในเรื่องของ อายุ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดัน โลหิตสูงสุด ขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว ความดัน โลหิตที่ต่ำสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว ระดับไขมันในเลือด เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ค่าบ่งชี้ภาวะการอักเสบในร่างกายในพลาสมา กรดน้ำดี และกรดไขมันสายสั้น ในอุจจาระของอาสาสมัคร หลังจากการดำเนินการวิจัยทางคลินิก 30 วัน พบว่า น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าเริ่มต้น ส่วนความดันโลหิตสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว ของอาสาสมัครกลุ่ม 1 ลดลงอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่ของอาสาสมัครกลุ่ม 2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อ เปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม สำหรับความดัน โลหิตต่ำสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว ของอาสาสมัคร กลุ่ม 1 ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่ของอาสาสมัครกลุ่ม 2 ลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.10) เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม ระดับไขมันในเลือด ได้แก่ระดับคอเลสเตอรอลรวม และระดับแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล ของ อาสาสมัครกลุ่ม 1 เพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในทางกลับกันระดับเอชดีแอล- คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และอัตราส่วนระหว่างไตรกลีเซอไรด์กับเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล ลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม ระดับไขมันในเลือดของอาสาสมัครกลุ่ม 2 พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลรวม ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และระดับแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล (p<0.05) ไตรกลีเซอไรค์ (p<0.01) และอัตราส่วนระหว่างไตรกลีเซอไรด์กับเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล (p<0.01) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม ในทางกลับกันระดับเอชดีแอล- คอเลสเตอรอล เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และระดับ เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล เมื่อเปรียบเที่ยบระหว่างกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.10) ในขณะที่ระดับคอเลสเตอรอลรวม แอลดีแอล- คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และอัตราส่วน ระหว่างไตรกลีซอไรด์กับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) จากการตรวจวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในพลาสมา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระด้วยการฟอกสีอนุมูลอิสระเอบีทีเอสที่ได้รับการดัดแปลงแล้ว พบว่าความสามารถใน การต้านอนุมูลอิสระของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำมาเปรียบเทียบ กันภายในกลุ่ม และพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำมาเปรียบเทียบ กันระหว่างกลุ่ม จากการตรวจวัดหากระบวนการออกซิเดชัน ไขมันในพลาสมา โดยใช้วิธีการตรวจวัดปริมาณมา ลอนไดอัลดีไฮด์ ที่ได้รับการดัดแปลงแล้ว พบว่าระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ ของกลุ่ม 1 ลดลงแต่ไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม ในทางกลับกันระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ ของกลุ่ม 2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.10) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และพบว่าไม่มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม สำหรับผลการศึกษาเอน ไซม์ที่เกี่ยวข้องภาวะเครียดออกซิเดชันในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย คะตาเลส กลูตาไรโอนเปอร์ออกซิเดส ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส เมื่อเปรียบเทียบระดับของเอนไซม์ ต้านอนุมูลอิสระของกลุ่ม 1 พบว่าเอนไซม์ทั้ง 3 ตัว มีระดับที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระดับของคะตาเลส (p<0.01) กลูตาไรโอนเปอร์ ออกซิดส (p<0.10) ของกลุ่ม 2 พบว่ามีระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเตส มีระดับที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ในขณะที่ เอนไซม์ทั้ง 3 ตัว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม สำหรับระดับของตัวบ่งชี้ภาวะการอักเสบในร่างกาย ของทั้งสองกลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p<0.10) สำหรับกลุ่ม 1 (p<0.05) สำหรับกลุ่ม 2) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในส่วนของระดับกรดน้ำดี ในอุจจระของกลุ่ม 1 พบว่า มีระดับที่ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ในทางกลับกันระดับกรดน้ำดีในอุจจาระของกลุ่ม 2 พบว่ามีระดับ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.10) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม และเมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับกรดไขมันสายสั้น ในอุจจาระประกอบด้วย กรดแลกติก กรดอะซิติก กรดบิวทิริก และ กรดโพรพิโอนิก พบว่าระดับกรดแลกติก กรดบิวทิริก และกรดโพรพิโอนิก ในอุจจาระของกลุ่ม 1 มี ระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่กรดอะซิดิกมีระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.10) เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม และพบว่าระดับกรดแลกติกในอุจจาระของ กลุ่ม 2 มีระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่ระดับกรดอะซิติก (p<0.01) กรดบิวทิริก (P<0.10) และกรดโพรพิโอนิก (P<0.10) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับกรด ไขมันสายสั้น ในอุจจาระทั้ง 4 ชนิด เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) จากผลงานวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 ที่เดิมโพร ไบ โอดิกสายพันธุ์ แลกโตบาซิลลัส พาราคาเซอิ สามารถลดระดับความดันโลหิตสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว ได้ร้อยละ 9.20 ลดระดับความดันโลหิตสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว ได้ร้อยละ 10.53 ลดระดับคอเลสเตอรอล รวมได้ร้อยละ 5.59 ลดระดับแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 6 ลดระดับไตรกลีเซอไรค์ ได้ร้อยละ 24.14 และลดอัตราส่วนระหว่างไตรกลีเซอไรด์กับเอชดีแอล-คอเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 30.83 ลดระดับ ของตัวบ่งชี้ภาวะการณ์อักเสบในร่างกายได้ร้อยละ 31.87 ลดระดับมาลอนไคอัลดีไฮด์ได้ร้อยละ 68.42 นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มระดับเอชดีแอล-คอเลสเตอรอลได้ร้อยละ 8.33 เพิ่มระดับเอนไซมัคะตาเลส ได้ร้อยละ 8.07 เพิ่มระดับเอนไซม์กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส ได้ร้อยละ 31.75 ในอาสาสมัครที่มีไขมัน ในเลือดสูงและยังไม่ได้ใช้ยาลดไขมันในเลือด ซึ่งเข้าร่วมการวิจัยที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ดังนั้นน้ำผักและผลไม้ปั่นสูตรที่ 10 ที่เดิมโพรไบโอติกสายพันธุ์แลคโตบาซิลลัส พาราเคซีไอ จึงเป็น ทางเลือกใหม่ในการช่วยลดระดับแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจะช่วยป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปฐมภูมิ ให้กับผู้ป่ายที่มีระดับไขมันในเลือดสูงที่ยังไม่ได้เริ่มใช้ ยาลดไขมันในเลือดได้ | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
591051004 ภัทรพรรณ ศิริปุณย์.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.