Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนีกร ทองสุขดี-
dc.contributor.authorพรรณนิภา อินตามูลen_US
dc.date.accessioned2023-10-21T04:38:52Z-
dc.date.available2023-10-21T04:38:52Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79090-
dc.description.abstractThis research focused on synthesizing 16 research papers on instructional management for students with attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) in the United States published between 2013 and 2022. The purposes of this research were 1) to conduct content synthesis of research on instructional management for learners with attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) and 2) to synthesize guidelines for instructional management for students with ADHD. The research instruments included 1) a research summary form and 2) a research evaluation form. Data were analyzed using a content analysis research synthesis according to the established conceptual framework as well as descriptive statistics. The results of the research synthesis are indicated as follows: 1) The majority of the research examined (62.50 %) were master's theses. The year in which the most research was published was 2016 (18.75 %). The most commonly found learning substance in the research was teachers' knowledge and understanding about children with ADHD (31.25 %), followed by mathematics and writing (25 % with an equal proportion), and the majority of the sample used in the research were students with ADHD (56.25 %). 2) Guidelines for instructional management for primary school students with hyper attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) included: 2.1 In terms of teaching methods, it was found that the most commonly found teaching method in the research studies was teaching by practice (57.14%), followed by simulation (28.57%), and 3 out of 9 studies used more than 2 teaching methods. 2.2 In terms of instructional management model, it was found that the most commonly found method was cooperative learning (27.28 %), followed by story-building, and Torrance’s concept of future problem solving(18.19 percent) with the same percentage, and 3 out of 9 research studies used more than 2 instructional management models. 2.3 In terms of learning management, the most commonly found method was modelling (33.33%), followed by cooperative learning and advanced organizer (25.00 %) with the same percentage. 5 out of 9 research studies used more than 2 models of learning management. 2.4 In terms of reinforcement, all studies used reinforcement in instructional management (100 %), but no research was found that used token reinforcement. 2.5 In terms of learning management technique, 8 out of 9 studies used only one technique for instructional management, namely recreational activities and play and learn with the same percentage (88.89 %) and 1 research used 2 techniques, namely: recreational activities and play and learn (20.00 %). 2.6 In terms of the evaluation of learning outcomes, it was found that all studies evaluated learning outcomes using behavioral observation forms (100 %), followed by exercises (77.78 %), tests (22.22 %), and performance evaluation forms (11.11 %), respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeSynthesis of research on teaching and learning of elementary students with attention deficit hyperactivity disordersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเด็กสมาธิสั้น-
thailis.controlvocab.thashโรคสมาธิสั้น-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- วิจัย-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นประถม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เผยแพร่ระหว่างปี ค.ศ. 2013 – 2022 จำนวน 9 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาของงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นในระดับประถมศึกษา และ 2) สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นในระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสรุปงานวิจัย 2) แบบประเมินงานวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์งานวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามกรอบแนวคิดที่ได้กำหนดไว้ และการใช้สถิติบรรยาย ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท (ร้อยละ 62.50) ที่เผยแพร่มากที่สุดในปี 2016 และ 2020 เป็นจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 22.22) สาระการเรียนรู้ที่ทำการวิจัยมากที่สุด คือ การเขียน และคณิตศาสตร์ เป็นจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 44.44) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยส่วนใหญ่ คือ นักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 33.33) 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับประถมศึกษา 2.1 ด้านวิธีการสอน พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง (ร้อยละ 57.14) รองลงมาคือ การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (ร้อยละ 28.57) และงานวิจัย 3 จาก 9 เรื่อง ใช้วิธีการสอนมากกว่า 2 รูปแบบ 2.2 ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า เรียนรู้แบบร่วมมือมีจำนวนมาก ที่สุด (ร้อยละ 27.28) รองลงมามีจำนวนเท่ากันคือ การสอนแบบสร้างเรื่อง และการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามความคิดของทอร์แรนซ์ (ร้อยละ 18.19 ) และงานวิจัย 3 จาก 9 เรื่อง ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมากกว่า 2 รูปแบบ 2.3 ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ พบว่า การใช้เทคนิคแม่แบบมีมากที่สุด (ร้อยละ 33.33) รองลงมามีจำนวนเท่ากันคือ การเรียนแบบร่วมมือ และนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (ร้อยละ 25.00 ) และงานวิจัย 5 จาก 9 เรื่อง ที่ใช้การจัดการเรียนรู้มากกว่า 2 รูปแบบ 2.4 ด้านการเสริมแรงที่พบว่า งานวิจัยทุกเรื่องใช้การเสริมแรงในการจัดการเรียน การสอน(ร้อยละ 100) แต่ไม่พบงานวิจัยที่ใช้การเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร 2.5 ด้านการใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ 8 จาก 9 เรื่อง ใช้เทคนิคเดียวในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมนันทนาการ และเล่นปนเรียน เป็นจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 88.89 ) และงานวิจัย 1 เรื่องที่ใช้ 2 เทคนิค คือ กิจกรรมนันทนาการ และเล่นปนเรียน (ร้อยละ 20.00) 2.6 ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ทุกงานวิจัยมีการใช้การประเมินผลด้วย แบบสังเกตพฤติกรรม (ร้อยละ 100) รองลงมาคือ แบบฝึกหัด (ร้อยละ 77.78) แบบทดสอบ (ร้อยละ 22.22) และ แบบประเมินผลงาน (ร้อยละ 11.11) ตามลำดับen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610232036 พรรณนิภา อินตามูล.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.