Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorสุประวีณ์ ตั้งวรสิทธิชัยen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T08:07:59Z-
dc.date.available2023-10-15T08:07:59Z-
dc.date.issued2566-06-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79065-
dc.description.abstractThis study aimed at studying the impacts of and responses to the COVID-19 pandemic of automobile spare part merchandising businesses in Bangkok. The study analyzed the external environment factors affecting the businesses, as well as identified their strengths, weaknesses, opportunities, and threats. Additionally, it examined the internal business operations using the business functions, the key success factors, the entrepreneur's adaptation strategies, and McKinsey 7s Framework. The study also investigated the assistance from the government and related organizations during the COVID-19 pandemic aimed at enhancing the resilience of the automobile spare part merchandising businesses in Bangkok. This study collected primary data through in-depth interviews with 15 entrepreneurs in small and medium enterprises in the automobile spare part merchandising businesses in Bangkok, with business structures of single proprietorships, partnerships, and limited companies in Bangkok. The data were collected then analyzed to present the findings. The study found that the majority of interviewed entrepreneurs had around 11-20 years of experiences in the business. The business structures included sole proprietorships, partnerships, and limited companies with more than 30 employees and annual revenues exceeding 20 million baht. The businesses were divided into departments such as procurement, logistics, packaging, accounting, and sales, showing a clear organizational hierarchy. The entrepreneur leadership style emphasizes providing guidance to employees and actively involving in problem-solving to prevent the accumulation of issues. In the overall operational system, it was found that various departments and some business units had developed software for operational enhancement. These included systems for product data management, accounting, inventory management, and programs assisting with organizational management. The overall employee skill development plan revealed a pattern of on-the-job learning rather than formal training. In some business units, continuous and rotational training was provided to employees to facilitate diverse work learning experiences. Personnel operations, in general, revealed that there were employees with sufficient job skills. In some cases, there was an insufficient number of employees with specialized knowledge. For the organizational culture, most of interviewed organizations had no clear organization culture. However, employees were encouraged to work diligently and swiftly. Before the COVID-19 pandemic, Automobile Spare Part Merchandising Businesses were not affected when compared to the period after the outbreak. The external environmental factors that had the most impact on the business were economic factors. These arose from increased operational costs due to economic recession. Businesses had to spend more on marketing to stimulate sales, while inflation pushed production costs higher and the depreciation of Baht raised raw material prices. Internal factors did not significantly affect business operations. Strengths of the business remained unaffected, such as convenient and fast delivery services. Weaknesses, like the scarcity of specialized skilled employees, were challenging to address. Opportunities that supported the business included the rate reduction of social security contribution for both employees and the businesses. Threats in business operations, such as consumers focusing on purchasing products or parts with not excessively high prices, were due to economic downturn factors. The crucial success factors from a business owner's perspective were employee service quality, customer relationship building, product quality, employee expertise, and inventory preparedness for distribution. During the COVID-19 pandemic, entrepreneurs were impacted by the economic downturn resulting from state-imposed measures to control the spread of the virus. This led to economic activities coming to a halt, causing a decrease in both individual and business income. Inflation occurred, product prices adjusted upwards, and the value of the Thai Baht depreciated. As a result, operational costs increased. The new normal behaviors caused businesses to incur additional expenses for implementing infection prevention measures within the premises. Customer dissatisfaction arose due to delays in product delivery caused by interrupted operations in certain business steps. Business owners adapted by enhancing customer communication and expanding online distribution channels. They also implemented self-protection measures for themselves and their employees, including the use of masks, alcohol sanitizers, and maintaining social distancing at work. Employee rotations were introduced to allow for versatile role handling. Some businesses tapped into reserves to increase liquidity. To ensure business survival, some businesses reduced salary and bonus expenses. Business owners seeked assistance from the government and related agencies. There should have been official channels for comprehensive dissemination of information regarding available relief measures. The process of receiving government aid should be straightforward and well-explained. Eligibility criteria for receiving assistance should be inclusive. Extending the duration of tax deductions was recommended. The government should provide financial support for entrepreneurs during crises. Keeping business information updated was essential to ensure that business owners' profiles matched the policy requirements for receiving aid.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19en_US
dc.subjectธุรกิจร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์en_US
dc.subjectAutomobile Spare Part Merchandising Businesses in Bangkoken_US
dc.titleผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19 ของธุรกิจร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeImpact of and responses to the COVID-19 pandemic of automobile spare part merchandising businesses in Bangkoken_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashรถยนต์ -- อะไหล่-
thailis.controlvocab.thashรถยนต์ -- ชิ้นส่วน-
thailis.controlvocab.thashรถยนต์ -- การขาย-
thailis.controlvocab.thashรถยนต์ -- การตลาด-
thailis.controlvocab.thashรถยนต์ -- กรุงเทพฯ-
thailis.controlvocab.thashการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020--
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของ COVID-19 ของธุรกิจร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อกิจการ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัดของกิจการ นอกจากนั้นทำการวิเคราะห์ภายในกิจการโดยใช้แนวคิดหน้าที่ของการบริหารธุรกิจ ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ แนวคิดการปรับตัวของผู้ประกอบการ ความสอดคล้องของปัจจัยทั้ง 7 ประการว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ และมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อกิจการร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ในจังหวัดกรุงเทพมหานครยกระดับความสามารถในการปรับตัวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการดำเนินงานของกิจการในอนาคต การศึกษาครั้งนี้ก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ประเภทธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ในจังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและสามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาผู้ศึกษาจะนำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ 11-20 ปี โครงสร้างธุรกิจได้แก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มีจำนวนแรงงานมากกว่า 30 คน และรายได้กิจการมากกว่า 20,000,000 บาทต่อปี ภาพรวมพบว่ามีการแบ่งฝ่ายการทำงาน ได้แก่ ฝ่ายจัดหา ฝ่ายส่งสินค้า ฝ่ายบรรจุหีบห่อ ฝ่ายบัญชี และฝ่ายขาย ส่วนใหญ่มีโครงสร้างลำดับขั้นขององค์กรอย่างชัดเจน มีการประชุมเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบความเป็นผู้นำส่วนใหญ่เน้นให้คำปรึกษาในการทำงานแก่พนักงานและเข้าไปช่วยแก้ปัญหาไม่ให้เกิดปัญหาสะสม ระบบในการดำเนินงานภาพรวมพบว่า มีการนำระบบและบางกิจการได้มีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อใช้ในการทำงานประกอบด้วย ระบบในการเก็บข้อมูลสินค้า ระบบบัญชี ระบบจัดการคลังสินค้า และโปรแกรมที่ช่วยบริหารจัดการในองค์กร แผนการพัฒนาทักษะพนักงานภาพรวมพบว่า ไม่มีการอบรมพนักงาน เป็นลักษณะของการเรียนรู้ทักษะผ่านการทำงาน ในบางกิจการมีการอบรมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง และหมุนเวียนการทำงานเพื่อให้เรียนรู้การทำงานได้หลากหลาย การดำเนินงานของบุคลากร ภาพรวมพบว่า มีพนักงานที่มีความสามารถในการทำงานเพียงพอต่อการทำงาน บางส่วนพบว่ามีจำนวนพนักงานที่มีความรู้เฉพาะด้านไม่เพียงพอ วัฒนธรรมภายในองค์กร ภาพรวมพบว่า ไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน แต่มีการปลูกฝังให้พนักงานทำงานด้วยความขยันและรวดเร็ว ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ไม่ได้รับผลกระทบเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงหลังที่มีการแพร่ระบาด ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีสาเหตุมาจากต้นทุนการดำเนินงานธุรกิจเพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ร้านค้าต้องมีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการตลาดกระตุ้นยอดขาย สภาวะเงินเฟ้อต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น และสภาวะเงินบาทอ่อนตัวลงวัตถุดิบในราคาที่สูงขึ้น ปัจจัยภายในไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ จุดแข็งของธุรกิจ เช่น การให้บริการที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการจัดส่ง จุดอ่อนของธุรกิจ เช่น พนักงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้านหาได้ยาก โอกาสที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ เช่น นโยบายความช่วยเหลือเรื่องประกันสังคม อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการเน้นซื้อสินค้าหรืออะไหล่ที่มีราคาไม่สูงมากนัก อันเนื่องมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจถดถอย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในมุมมองของผู้ประกอบการ คือ การให้บริการของพนักงาน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คุณภาพสินค้า ประสบการณ์ของพนักงาน และการสำรองสินค้าให้มีความพร้อมต่อการจำหน่าย ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักไป ส่งผลให้รายได้ของประชาชนรวมถึงรายได้ของกิจการลดลง เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้ามีการปรับตัวขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบปรกติใหม่ทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดภายในกิจการ ลูกค้าเกิดความไม่พอใจเพราะได้รับสินค้าล่าช้าจากการทำงานในกิจการบางขั้นตอนหยุดชะงัก ซึ่งผู้ประกอบการมีการปรับตัวคือ การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและการเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์เพิ่มเติม มีการปรับตัวป้องกันตนเองและพนักงาน ทั้งการใช้หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และการเว้นระยะห่างในการทำงาน การสลับกันทำงานของพนักงานเพื่อให้ทำงานได้หลากหลายตำแหน่ง มีการนำเงินสำรองมาใช้หมุนเวียนเพิ่มสภาพคล่องในบางกิจการ บางกิจการต้องลดค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนและโบนัสของพนักงานลงเพื่อให้กิจการสามารถอยู่รอดไปได้ ผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเยียวยาให้ทราบอย่างทั่วถึงและเป็นทางการ ขั้นตอนการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐควรมีคำอธิบายและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก เงื่อนไขของผู้ได้รับความช่วยเหลือควรครอบคลุม ขยายระยะเวลาการลดหย่อนภาษี ภาครัฐควรสนับสนุนเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการเมื่อมีวิกฤติ มีการทำข้อมูลสถานประกอบการให้ทันสมัยเพื่อให้ผู้ประกอบการมีคุณสมบัติถูกต้องตรงกับเงื่อนไขที่ออกนโยบายเพื่อรับความช่วยเหลือen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.