Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชนิตว์ ลีนาราช-
dc.contributor.authorชนัตถธร สาธรรมen_US
dc.date.accessioned2023-10-10T10:24:25Z-
dc.date.available2023-10-10T10:24:25Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78999-
dc.description.abstractThis research aimed to study Lamphun Public Library signage design. The Lamphun Public Library user satisfaction and suggestion toward library signage and further appropriate design from survey research method: qualitative research by using non-participant observation and semi-structured interview resulted from 8 librarians of Lamphun Public Library. Also, quantitative research by using survey questionnaires resulted from the samples; 392 users from 8 Lamphun Public Libraries (100 percentage). This survey research results analyzed data in statistics, frequency, percentage, mean and standard deviation form. The results from generality studied of Lamphun Public Library; There are sign boards inside and outside library, including the signs on bookshelves, library hours sign, no smoking sign, no food sign, WIFI connection sign, library sign, circulation rules sign, people with disability sign, and toilet sign. But nowhere found the library layout sign, library staff sign, enter and exit sign, and searching introduction and suggestion sign. The results of Lamphun Public Library signage design from the librarians; Every library has librarians in charge of the library signage design who work with the director and staff from the district non-formal education department, and their self-evaluation are at moderate level (62.50 percentage) and high level (37.50 percentage). The problems in library signage design are computer designing programs (87.50 percentage), copyright (37.50 percentage) and creative design. There are 3 points of library signage design 1) defining objectives and finding information 2) designing and making signs 3) inspection and evaluation. The concepts of signage design are varied and unity; clear vision, messages, colors, and target group. Most found signage design problems are similar text and background colors, inappropriate message, text only sign, and understandard sign. The results of user satisfaction and orientation toward Lamphun Public Library signage; User satisfaction to all 5 provided rooms/ corners is at a high level (4.00 percentage) – Most user satisfaction of 5 signs are Children and family room/ corner (4.12 percentage), Exhibition room/ corner (4.11 percentage), Royal Glorify room/ corner (4.08 percentage), Reading room/ corner, and Computer room/corner. User satisfaction to circulation services is at a high level (4.15 percentage). User satisfaction to space outside the library is at a high level (4.13 percentage). User orientation to all 5 rooms/ corners sign is at a high level (4.32 percentage) – Most user oriented in Children and family room/ corner (4.39 percentage), Computer room/ corner (4.37 percentage), and Reading room/ corner (4.36 percentage) The results of Lamphun Public Library signage design studied; There are missing important signs in each libraries i.e. Library layout sign, Library staff sign. Direction signs which are enter-exit sign, people with disability sign. Library resources signs which are circulation rules, searching introduction and suggestion sign. Thus, there are 5 concepts of signage design 1) Font, Text color, Background color 2) Message 3) Symbols 4) Space and 5) Language.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการออกแบบป้ายของห้องสมุดประชาชน : กรณีศึกษา จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeDesign guidelines for the public library signage : The Lamphun case studyen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดประชาชน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดประชาชน -- การใช้พื้นที่-
thailis.controlvocab.thashป้ายห้องสมุด -- การออกแบบ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดทำป้ายห้องสมุดของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูนในการจัดทำป้าย และเพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบป้ายที่เหมาะสมของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูน ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ มีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูน จำนวน 8 คน และรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูนทั้ง 8 แห่ง รวบรวมข้อมูลได้ 392 ชุด (ร้อยละ 100) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูน พบว่า ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูนมีป้ายภายในและภายนอกห้องสมุด โดยทุกแห่งมีป้ายภายในห้องสมุดมีป้ายชั้นหนังสือ ป้ายเวลาเปิด-ปิด ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ป้ายห้ามรับประทานอาหาร ป้ายบอกขั้นตอนการต่อ WIFI ป้ายชื่อห้องสมุด ป้ายข้อปฏิบัติในการยืม-คืน ป้ายทางลาดคนพิการ นอกจากนี้ยังมีป้ายบอกทางไปห้องน้ำ แต่ทุกแห่งไม่พบป้ายแผนผังห้องสมุด ป้ายรายชื่อผู้ปฏิบัติงาน ป้ายทางเข้า-ออก และป้ายแนะนำการสืบค้นข้อมูล ผลการศึกษาสภาพการจัดทำป้ายของห้องสมุดของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดลำพูน ห้องสมุดทุกแห่งมีบรรณารักษ์ทำหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบป้ายในห้องสมุดประชาชน และรับผิดชอบการจัดทำป้ายร่วมกับ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ และบุคลากร กศน.อำเภอ ผลการประเมินความรู้ของตนเองพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.50) รองลงมา ประเมินว่าอยู่ในระดับมาก (จำนวน 3 คน ร้อยละ 37.50) โดยปัญหาเกี่ยวกับความรู้ ทักษะในการออกแบบป้ายพบว่า อันดับแรก คือ การใช้โปรแกรมเพื่อการออกแบบป้าย (ร้อยละ 87.50) รองลงมา มีปัญหาการเลือกใช้ภาพที่มีลิขสิทธิ์ (ร้อยละ 37.50) และมีปัญหาเรื่องศิลปะและการออกแบบ ส่วนขั้นตอนในการออกแบบป้ายห้องสมุด คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์และหาข้อมูล ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและจัดทำป้าย และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสม โดยแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบป้าย ได้แก่ แนวคิดการออกแบบป้ายโดยใช้รูปแบบหลากหลาย แนวคิดการออกแบบป้ายโดยใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) แนวคิดและการออกแบบป้ายโดยใช้รูปแบบหลากหลาย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) ทั้งนี้ในการออกแบบป้าย ควรคำนึงถึงความชัดเจนในการมองเห็น การสื่อความได้ชัดเจน การเลือกใช้สีและกลุ่มผู้ใช้ ส่วนลักษณะป้ายที่เป็นปัญหาในความคิดเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในจังหวัดลำพูนทุกแห่ง คือ สีตัวอักษรกลืนกับพื้นหลัง รองลงมา คือ ป้ายที่ใช้ข้อความในป้ายที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ดี และป้ายมีเพียงตัวอักษร ไม่มีรูปสัญลักษณ์ และคิดว่าป้ายที่ไม่เป็นเอกภาพ ไม่มีมาตรฐาน รูปแบบไม่แน่นอน ผลการศึกษาความพึงพอใจและการให้ความสำคัญของผู้ใช้บริการต่อป้ายห้องสมุดประชาชนในจังหวัดลำพูน พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของป้ายมุมบริการทั้ง 5 ประเภท ประกอบด้วย ห้อง/มุมเฉลิมพระเกียรติ หรือห้องทรงงาน ห้อง/มุมนิทรรศการ หรือห้อง/มุมภูมิปัญญา ห้อง/มุมอ่านหนังสือทั่วไป ห้อง/มุมคอมพิวเตอร์ และห้อง/มุมเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) พบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจป้ายสูงสุด คือ ห้อง/มุมเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.12) รองลงมา คือ ห้อง/มุมนิทรรศการ หรือห้อง/มุมภูมิปัญญา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.11) และอันดับถัดมา คือ ห้อง/มุมเฉลิมพระเกียรติ หรือห้องทรงงาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.08) ภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเคาน์เตอร์ให้บริการยืม-คืน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) และภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจภายนอกห้องสมุด อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.13) ส่วนค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญของป้ายมุมบริการทั้ง 5 ประเภท อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.32) พบค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญป้ายสูงสุด คือ ห้อง/มุมเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.39) รองลงมา คือ ห้อง/มุมคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.37) และอันดับถัดมา คือ ห้อง/มุมอ่านหนังสือทั่วไป อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.36) ผลการศึกษาแนวทางการออกแบบป้ายห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำพูน ประเภทป้ายที่ต้องมี แต่ยังมีไม่ครบทุกห้องสมุด ได้แก่ ป้ายแผนผัง ป้ายรายชื่อผู้ปฏิบัติงาน ป้ายบอกทาง ป้ายระบุตำแหน่ง ได้แก่ ป้ายทางเข้า-ออก และป้ายทางลาดคนพิการ ป้ายเกี่ยวกับทรัพยากรห้องสมุด ได้แก่ ป้ายข้อปฏิบัติในการยืม-คืน และป้ายแนะนำ ได้แก่ ป้ายแนะนำการสืบค้นข้อมูล นอกจากนี้ยังพบ แนวทางการออกแบบป้าย ใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1) รูปแบบตัวอักษร สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง 2) การใช้ข้อความ 3) การใช้สัญลักษณ์ 4) การเว้นช่องว่าง และ 5) ภาษาที่ใช้en_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610132025 ชนัตถธร สาธรรม.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.