Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิดา สุวรรณประสิทธิ-
dc.contributor.authorจักรพงค์ นามวงค์en_US
dc.date.accessioned2023-09-16T12:13:58Z-
dc.date.available2023-09-16T12:13:58Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78877-
dc.description.abstractAssessment of the potential of check dams in Pa Sak Ngam area, Luang Nuea Sub-district, Doi Saket District Chiang Mai Province using geospatial techniques, this study has three objectives: 1) to study the changes in soil moisture and forest fertility, 2) To assess the potential of the check dams in Pa Sak Ngam village, and 3) to analyze the suitable location for building check dams. Methods for studying changes in soil moisture and forest fertility used data from Landsat 4 5 7 8 satellite images for the period from January to April and November to December 1987 to 2017. In the part of assessing the potential of the check dams, changes in soil moisture and forest fertility were observed around the sample check dams. It is divided into 2 forms: Comparison between areas with check dams and without check dams and comparing between the periods before and after the check dam construction. The study of the suitable location of check dams in the Pa Sak Ngam area from check dam locations in the area was studied by physical factors, namely soil type, soil moisture content, and percentage slope according to the efficiency level of the check dams. The results showed that when studying the total area of the study area, it was found that soil moisture tended to decrease but forest fertility tended to increase. In the case study of changes in soil moisture and forest fertility along rivers, it was found that most of the sampled streams had increased soil moisture, only the Huai Lao Kham Pom, Huai Lao Khang Swan Lung Teng's and Huai Du which tends to decrease in soil moisture, but the fertility of forest tends to increase in every stream. From the assessment of the potential of check dams by comparing areas with and without check dams, it was found that out of the 30 sample weirs, there were 7 high efficiency check dams, 12 medium efficiency check dams and 11 low efficiency check dams. Comparing the time before and after the check dam construction, it was found that 30 sample check dams did not have high efficiency check dams. There were 11 weirs of moderate efficiency and 14 weirs of low efficiency and could not identify the efficiency of 5 weirs. From the study of the suitable location of check dams in Pa sak Ngam area from check dam locations, it was found that high-efficiency check dams had complex slope soil types, soil moisture was in the range of 10.288-25.017 and the slope percentage was in the range of 6.763 - 21.667. Check dams with moderate efficiency have complex slopes and clay soils, soil moisture was in the range of 20.078-24.533 and the slope percentage was in the range of 7.788 - 42.496. And check dams with low efficiency was complex slope. Soil moisture was in the range of 18.510-20.053 and the slope percentage was in the range of 18.078 - 19.254. Testing the sample check dams according to the efficiency of each type of check dam, it was found that the check dams used for testing at each level of efficiency were consistent with the check dams used in the analysis.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินศักยภาพของฝ่ายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าสักงาม โดยใช้เทคนิคภูมิสารสนเทศen_US
dc.title.alternativeCheck dam potential assessment in Pa Sak Ngam using geoinformation techniquesen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashฝาย -- ดอยสะเก็ด(เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการเก็บกักน้ำ -- ดอยสะเก็ด(เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashภูมิสารสนเทศ -- ดอยสะเก็ด(เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการประเมินศักยภาพของฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคภูมิสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพลวัตของความชื้นในดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ 2) เพื่อประเมินศักยภาพฝายชะลอน้ำในพื้นที่หมู่บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งเหมาะสมในการสร้างฝายชะลอน้ำ โดยวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้จะใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 4 5 7 8 ช่วงเวลาเดือนมกราคมถึงเมษายนและเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ปี พ.ศ.2530 ถึง 2560 ในส่วนของการประเมินศักยภาพฝายชะลอน้ำได้ใช้การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้บริเวณฝายชะลอน้ำตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือรูปแบบจุดคู่เทียบระหว่างบริเวณที่มีฝายและไม่มีฝายชะลอน้ำ และรูปแบบช่วงเวลาก่อนและหลังการสร้างฝายชะลอน้ำ ส่วนการศึกษาลักษณะตำแหน่งเหมาะสมของฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าสักงามจากตำแหน่งฝายชะลอน้ำในพื้นที่ โดยศึกษาจากปัจจัยทางกายภาพคือ ประเภทดิน ความชื้นในดิน และร้อยละความลาดชันตามระดับประสิทธิภาพของฝายตัวอย่างในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้หลังจากการสร้างฝายชะลอน้ำทั้งพื้นที่ศึกษามีแนวโน้มความชื้นในดินลดลงแต่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามลำน้ำ พบว่า ลำน้ำส่วนใหญ่มีแนวโน้มความชื้นในดินเพิ่มขึ้น มีเพียงลำน้ำห้วยเหล่าขามป้อม ห้วยเหล่าข้างสวนลุงเติง และห้วยดู่ ที่มีแนวโน้มของความชื้นในดินที่ลดลง แต่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกลำน้ำ จากการประเมินศักยภาพฝายชะลอน้ำรูปแบบจุดคู่เทียบระหว่างบริเวณที่มีฝายและไม่มีฝายชะลอน้ำ พบว่า ฝายตัวอย่าง 30 ฝาย มีฝายที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่ 7 ฝาย ประสิทธิภาพปานกลาง 12 ฝาย และประสิทธิภาพต่ำ 11 ฝาย และรูปแบบช่วงเวลาก่อนและหลังการสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่า ฝายตัวอย่าง 30 ฝาย ไม่มีฝายที่มีประสิทธิภาพสูง มีประสิทธิภาพปานกลาง 11 ฝาย และประสิทธิภาพต่ำ 14 ฝาย และไม่สามารถหาประสิทธิภาพได้ 5 ฝาย และจากการการศึกษาลักษณะตำแหน่งเหมาะสมของฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าสักงามจากตำแหน่งฝายชะลอน้ำ พบว่า ฝายที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีประเภทดินเป็นพื้นที่ลาดเชิงซ้อน ร้อยละความชื้นในดินอยู่ในช่วง 10.288-25.017 และร้อยละความลาดชันอยู่ในช่วง 6.763 - 21.667 ฝายชะลอน้ำที่มีประสิทธิภาพปานกลางมีประเภทดินเป็นพื้นที่ลาดเชิงซ้อนและดินเหนียว ร้อยละความชื้นในดินอยู่ในช่วง 20.078-24.533 และร้อยละความลาดชันอยู่ในช่วง 7.788 - 42.496 และฝายชะลอน้ำที่มีประสิทธิภาพต่ำมีประเภทดินเป็นพื้นที่ลาดเชิงซ้อน ร้อยละความชื้นในดินอยู่ในช่วง 18.510-20.053 และร้อยละความลาดชันอยู่ในช่วง 18.078 - 19.254การทดสอบฝายชะลอน้ำตัวอย่างตามระดับประสิทธิภาพฝายชะลอน้ำ พบว่า ฝายชะลอน้ำที่ใช้ทดสอบตามประสิทธิภาพแต่ละระดับสอดคล้องกับข้อมูลฝายชะลอน้ำที่ใช้ในการวิเคราะห์en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610431019_Thisis_Chakkaphong_Namwong.pdf9.36 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.