Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78862
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิยตา กาวีวงศ์-
dc.contributor.authorปวีณา อัศวนิกen_US
dc.date.accessioned2023-09-14T00:37:32Z-
dc.date.available2023-09-14T00:37:32Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78862-
dc.description.abstractThe objectives of this research are 1.To study anxiety about the COVID-19 pandemic 2.To study the tourism motivation of residence in Lampang province after the COVID-19 pandemic 3.To study trends of residence in Lampang after the COVID-19 using a quantitative research model by sample of 385 people was drawn by convenient random sampling. Data were collected using both online and paper questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation. To measure data in demographic analysis tourism behavior and opinion level information according to the Likert Scale criteria of the sample group about concerns about the COVID-19 situation, push and attraction motivations and crosstab table analysis about push and attraction motivation, anxiety about the COVID-19 situation affecting tourism behavior including travel companions, duration of travel and travel expenses. The results showed that the general characteristics of the sample group in tourism after the COVID-19 pandemic of the 385 sample groups are female group aged between 18-25 years, accounting for 28.80%. Around 70.10% of the sample groups have a bachelor's degree or diploma. 39.50% have an average monthly income of not more than 15,000 baht, most of them are company employees accounting for 34.50%. The results of a study on overall anxiety about the situation of COVID-19 of the residence in Lampang province, the sample group had a agree level of opinions and when considering each factor, their concern was divided into 3 aspects: social interaction, health and economic aspects with a moderate level of agree and moderately agree respectively. The results of a study on overall push motivation of residence in Lampang province. The sample group had opinion agree and when considering each factor, push motivation was divided into 8 aspects. By opinion levels agree on all 8 aspects, including self- energy, relationship enhancement through experience, side of escape, self-development, self-discovery, faith, adventure and local experiences. For overall pull motivation of residence in Lampang province. The sample group had opinion agree and when considering each factor, pull motivation was divided into 8 aspects, with opinion levels strongly agree on 1 aspect, aesthetics and safety. As for the factors that opinions at agree level were 5 aspects, convenience of tourist attractions. food and local activities, trending stories, privacy and SHA policies, respectively. The results of tourism behavior of residence in Lampang province after the COVID-19 of the 385 sample, it was found that most of the travel participants traveled with their families by using vehicles by car. Likes to travel in the northern region and is interested in leisure-style tourist attractions. Most travel time is 3 days without participating in any government projects. In terms of various expenses in traveling expenses over 2,000 baht include travel expenses, food expenses, purchase expenses and accommodation expenses. For expenses over 1,000 baht including other expenses, and the expenses less than 500 baht are expenses for participating in community activities and entrance fees to tourist attractions. The results of push motivation with tourism behavior, it was found that in the part of travelers and travel companions including those traveling alone People who travel with older siblings and those who travel with no more than 4 friends/colleagues are most push motivation by recharging themselves. Those traveling with their partner/husband/wife, family and 5 or more friends/co-workers are most push motivation by strengthening their relationship with the experiences. For those who have the most time to travel be motivated to travel by recharging yourself as much as possible. For those who have the most travel expenses. There is a strong motivation to travel by strengthening relationships. Part of pull motivation with tourism behavior, it was found that in the part of travelers and traveling companions people who have a long time to travel and those who have most of the travel expenses, There is an incentive to travel in a way that pull motivation by the most aesthetics and safety. The results of anxiety about the situation of COVID-19 with tourism behavior, it was found that in the part of travelers and traveling companions people who have a long time to travel and those who have travel expenses most are anxiety about the COVID-19 situation by the most economic.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแรงจูงใจในการท่องเที่ยวและแนวโน้มการท่องเที่ยวภายในประเทศ ของผู้อาศัยในจังหวัดลำปาง หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19en_US
dc.title.alternativeTravel motivation and domestic tourism trends of residence in Lampang Province after the COVID-19 pandemicen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashลำปาง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความกังวลใจต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของผู้อาศัยในจังหวัดลำปางหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 3. เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้อาศัยในจังหวัดลำปางหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คนได้มาจากการสุ่มตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งออนไลน์และแบบกระดาษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้วัดข้อมูลในการวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการท่องเที่ยว และข้อมูลระดับความคิดเห็นตามเกณฑ์ Likert Scale ของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 แรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบผลักดันและแบบดึงดูด และผลวิเคราะห์ตาราง Crosstab แรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบผลักดันและแบบดึงดูด ความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ร่วมเดินทาง ระยะเวลาในการท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกลุ่มตัวอย่าง 385 คน เป็นเพศหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 18-25 ปี ร้อยละ 28.80 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี หรืออนุปริญญา ร้อยละ 70.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ไม่เกิน 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.50 ส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 34.50 ผลการศึกษาด้านความกังวลใจในภาพรวมที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ของผู้อาศัยในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วย และเมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย จะแบ่ง ความกังวลใจเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม ด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจมีระดับความ เห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ตามลำดับ ผลการศึกษาด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบผลักดันในภาพรวมของผู้อาศัยในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็น เห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย จะแบ่งแรงจูงใจแบบผลักดันเป็น 8 ด้าน มีระดับความคิดเห็น เห็นด้วย ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการเติมพลังให้กับตัวเอง ด้านการเสริมความสัมพันธ์ด้วยประสบการณ์ ด้านการหลีกหนี ด้านการพัฒนาตัวเอง ด้านการค้นหาตัวเอง ด้านความเชื่อ ความศรัทธา ด้านการผจญภัย และด้านการมีประสบการณ์ในท้องถิ่น ในส่วนด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบดึงดูดภาพรวมของผู้อาศัยในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย จะแบ่งแรงจูงใจแบบดึงดูดเป็น 8 ด้าน มีระดับความคิดเห็นเห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความสวยงามและปลอดภัย ในส่วนปัจจัยที่ความคิดเห็นที่อยู่ในระดับ เห็นด้วย มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว ด้านอาหารและกิจกรรมท้องถิ่น ด้านเรื่องราวที่เป็นกระแสนิยม ด้านความเป็นส่วนตัว และด้านนโยบาย SHA ตามลำดับ ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้อาศัยในจังหวัดลำปางในการท่องเที่ยว หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกลุ่มตัวอย่าง 385 คน พบว่า ผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางกับครอบครัวโดยเลือกใช้ยานพาหนะด้วยรถยนต์ ชอบเดินทางท่องเที่ยวโซนภาคเหนือ และ มีความสนใจในแหล่งท่องเที่ยวประเภทแนวพักผ่อน ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ 3 วัน โดยไม่เข้าร่วมโครงการใดเลยของภาครัฐ ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆในการท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายที่มากกว่า 2,000 บาท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายอาหาร ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายที่พัก ในส่วนค่าใช้จ่ายที่มากกว่า 1,000 บาท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และส่วนค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า 500 บาท ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน และค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว ผลวิเคราะห์แรงจูงใจแบบผลักดัน กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า ในส่วนผู้เดินทาง และผู้ร่วมเดินทาง ได้แก่ ผู้ที่เดินทางคนเดียว ผู้ที่ร่วมเดินทางกับพี่-น้อง และผู้ที่เดินทางร่วมกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน ไม่เกิน 4 คน มีแรงจูงใจในการเดินทางแบบผลักดันด้วยการเติมพลังให้กับตัวเองมากที่สุด ส่วนผู้ที่เดินทางกับแฟน/สามี-ภรรยา ครอบครัว และเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน 5 คนขึ้นไป มีแรงจูงใจ ในการเดินทางแบบผลักดันด้วยการเสริมความสัมพันธ์ด้วยประสบการณ์มากที่สุด ในส่วนผู้ที่มีระยะเวลาในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบผลักดันด้วยการเติมพลังให้กับตัวเองมากที่สุด ในส่วนผู้ที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบผลักดันด้วยการเสริมความสัมพันธ์ด้วยประสบการณ์มากที่สุด ส่วนของแรงจูงใจแบบดึงดูด กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า ในส่วนผู้เดินทางและผู้ร่วมเดินทาง ผู้ที่มีระยะเวลาในการท่องเที่ยว และผู้ที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบดึงดูดด้วยความสวยงามและปลอดภัยมากที่สุด ผลวิเคราะห์ความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่าในส่วนผู้เดินทางและผู้ร่วมเดินทาง ผู้ที่มีระยะเวลาในการท่องเที่ยว และผู้ที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนใหญ่ มีความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ด้านเศรษฐกิจมากที่สุดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ปวีณา อัศวนิก-641532086.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.