Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78820
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร-
dc.contributor.authorปรพร เต็งเฉี้ยงen_US
dc.date.accessioned2023-09-09T07:48:04Z-
dc.date.available2023-09-09T07:48:04Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78820-
dc.description.abstractThis thesis creates a conceptual framework to point out the impact of development that causes structural violence, creating inequality in access to marine resources between local fishermen and entrepreneurs on Ban Don Bay, Khlong Rang Village, Lee Led Subdistrict, Phun Phin District, Surat Thani Province as well as seeking new development methods that can solve the structural violence and create a sustainable use of marine resources together. The objects of this thesis is to analyze the structural violence in the development of marine resource allocation and to find a development approach that leads to the sustainable development of the local fishermen community through the integration of 3 theoretical concepts, development theory, violence triangle and interest groups theory. The study found that the form of structural violence is divided into 3 which are 1) Sea Food Bank Project in 2004 that aims to promote occupation and reduce poverty for local fisherman but there are few groups that can access to the marine resources. Therefore, Sea Food Bank is a project that affect to the way of life and occupation of local fisherman. 2) Surat Thani provincial consensus in 2014 that aims to stop the conflict between local fisherman and entrepreneurs but the resolution of Surat Thani provincial consensus resulted in the conflict escalate into violence and 3) Law enforcement and operational efficiency of local government which separate into 3 forms which are 3.1) inequities in law enforcement among local government agencies, 3.2) the enforcement of different laws between Surat Thani Provincial Fisheries Office and the Marine Surat Thani Regional Office and 3.3) efficiency of government mechanisms in problem solving which divide into 2 part, Surat Thani Provincial Fisheries Committee and obstacles in the operation of local government agencies. These three forms cause inequality in access to marine resources between local fishermen and entrepreneurs that led to conflicts of land, conflicts of life and property safety and conflicts in the use of fishing gear. The effort of local government to stop the conflict is to announce the Surat Thani provincial consensus in 2014 but conflict management failed. Finally, the conflicts escalate to direct violence. Throughout the conflict, the stakeholders have been formed that consist of local fishermen, entrepreneurs, local government, civil society, scholar, Thai Maritime Enforcement Command Center 2, Surat Thani and reporter. The interests of these stakeholders lead to a problem solutions by using 6 Sustainable Development Goals as a model and indicator which consist of Goal 10, Reduce Inequality, Goal 12, Responsible Consumption and Production, Goal 14, Life Below Water, Goal 15, Life on Land, Goal 16, Peace Justice and Strong Institution and Goal 17, Partnership for the Goals. These 6 Goals are divided to 2 phases. Phases 1 aim to develop the humans and organization potential, reduce conflicts and violence first. When the community is strong both economically and politically including the relationship between local fisherman and entrepreneur and the relationship between local fisherman and local government agencies are improved then, phases 2 begin. Phases 2 aim to create sustainability in the marine resource allocation including joint actions between stakeholders.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรุนแรงเชิงโครงสร้างในการพัฒนาด้านการจัดสรรทรัพยากรทางทะเลบนอ่าวบ้านดอน หมู่บ้านคลองราง ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeStructural violence in the development of marine resource allocation on Ban Don Bay, Khlong Rang village, Lee Led subdistrict, Phun Phin district, Surat Thani provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรทะเล -- สุราษฎร์ธานี-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรทะเล -- การจัดการ-
thailis.controlvocab.thashแหล่งประมง -- สุราษฎร์ธานี-
thailis.controlvocab.thashการจัดการประมง -- สุราษฎร์ธานี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการสร้างกรอบแนวคิดเพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบจากการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สร้างความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการบนอ่าวบ้านดอน หมู่บ้านคลองราง ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจนแสวงหาแนวทางการพัฒนารูปแบบใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และสร้างความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรทางทะเลร่วมกัน การศึกษาวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงเชิงโครงสร้างในการพัฒนาด้านการจัดสรรทรัพยากรทางทะเลและวิเคราะห์แสวงหาแนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ผ่านการผนวกรวมกันของ 3 แนวคิดทฤษฎี คือ การพัฒนา สามเหลี่ยมความรุนแรง และกลุ่มผลประโยชน์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะของความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แบ่งเป็น 3 รูปแบบ 1) โครงการ Sea Food Bank ปี พ.ศ. 2547 ที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพและลดปัญหาความยากจนให้กับความประมงพื้นบ้าน แต่กลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้กลับกลายเป็นเพียงกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น โครงการ Sea Food Bank จึงเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน 2) มติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ที่มีจุดประสงค์เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการ ในปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ แต่มติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีกลับส่งผลให้ความขัดแย้งบานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรง และ 3) การบังคับใช้กฎหมายและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อยดังนี้ 3.1) ความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ 3.2) การบังคับใช้กฎหมายคนละฉบับระหว่างสำนักงานประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีและสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี และ 3.3) ประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ที่แบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทั้ง 3 รูปแบบข้างต้น ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการใช้ทรัพยากรทางทะเลระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการ จนนำไปสู่ความขัดแย้งด้านที่ดินทำมาหากิน ความขัดแย้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความขัดแย้งในด้านการใช้เครื่องมือประมง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ได้เข้ามาจัดการความขัดแย้งผ่านการออกมติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกมาในปี พ.ศ. 2557 แต่การจัดการความขัดแย้งล้มเหลว ส่งผลให้ในท้ายที่สุดความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรง ท่ามกลางความขัดแย้ง ได้เกิดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขึ้นมากมาย อันประกอบไปด้วยชาวประมงพื้นบ้าน ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) สุราษฎร์ธานี และสื่อ โดยจุดสนใจของแต่ละกลุ่มจะนำไปสู่การแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นแม่แบบและตัวชี้วัด รวม 6 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย เป้าหมายที่ 10 การลดความไม่เสมอภาค เป้าหมายที่ 12 การสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 การปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 การส่งเสริมสังคมที่สงบสุข ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลในการรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ และเป้าหมายที่ 17 การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 6 เป้าหมายข้างต้น จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และหน่วยงานภาครัฐ ลดปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงก่อน เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการ และความสัมพันธ์ระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ดีขึ้น ก็จะนำไปสู่ระยะที่ 2 คือเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดสรรพื้นที่ในการใช้ทรัพยากร รวมถึงการดำเนินการร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631931003 ปรพร เต็งเฉี้ยง.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.