Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78802
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Nannaphat Saenghong | - |
dc.contributor.author | Saipin Sungkitsin | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-09T06:10:06Z | - |
dc.date.available | 2023-09-09T06:10:06Z | - |
dc.date.issued | 2023-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78802 | - |
dc.description.abstract | This participatory action research aimed to develop culturally responsive art instructional management guidelines for student teachers. The study involved 48 participants, including fourth-year art education student teachers, university lecturers, and school teachers. Through the implementation of a participatory action research process, the study integrated culturally responsive teaching and other relevant concepts into two art teaching methods courses, with each course being conducted per semester. Data collection methods included interviews, self-assessments, observations, and document analysis, with qualitative data undergoing content analysis and quantitative data being statistically analyzed. The development of the art instructional management guidelines followed a four-step process: preparations for change, taking actions for change, teaching leading to change, and reflection. The program incorporated principles and guidelines related to culturally responsive teaching, diverse learners, cultural diversity, learner-centered teaching, partnership collaboration, and inclusive classrooms. The results demonstrated a significant improvement in the participants' multicultural competence upon the completion of the courses, with noticeable changes observed in multicultural knowledge, skills, and attitudes. Competencies were categorized into five groups, representing varying levels of development. The findings, derived from a comprehensive analysis of qualitative and quantitative data, provided valuable insights into the participants' progress. The study identified five key factors influencing competency development, including cultural capital, awareness of classroom conflicts, art instructional approaches for multicultural students, positive attitudes towards culturally responsive teaching, and the application of cultural capital to instructional management. In conclusion, the integration of culturally responsive teaching into foundational art education courses shows promise in enhancing the multicultural competence of student teachers. This research provides valuable insights and recommendations for teacher education programs aiming to foster cultural inclusivity and facilitate effective art instruction in diverse classrooms. Keywords: culturally responsive teaching, multicultural competence, student teachers, art instruction, teacher training. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Development of art teaching management for student teachers based on culturally responsive teaching | en_US |
dc.title.alternative | การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับนักศึกษาครูตามแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Arts -- Study and teaching | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Student teachers | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับนักศึกษาครู ตามแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม 2) ศึกษาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ตามแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมในการวิจัยประกอบด้วย 3 กลุ่ม ที่มีการกำหนดคุณสมบัติ ได้แก่ 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา จำนวน 36 คน 2) อาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน 3) ครูในโรงเรียน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 48 คน โดยการเข้าร่วมตามความสมัครใจ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การประเมินตนเองด้าน พหุวัฒนธรรม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม การประเมินการสอน และการประเมินชิ้นงานของนักศึกษา ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประการแรก การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับนักศึกษาครู ตามแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมต้นทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการสู่พื้นที่จริง และขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนย้อนคิด โดยมีหลักการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว ประกอบด้วย 1) การมีความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการตามแนวคิดการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม 2) การมีความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้เรียน 3) ต้นทุนด้านความรู้และประสบการณ์ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้เรียน 4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5) การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และ 6) การสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่คลอบคลุม (Inclusive classroom environment) ประการที่สอง สมรรถนะพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนศิลปะ ตามแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ตามข้อมูลเชิงปริมาณจากการประเมินตนเองด้านสมรรถนะพหุวัฒนธรรม พบว่า หลังเรียน มีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านความรู้มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทักษะ และด้านเจคติ ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลรวมของทั้ง 3 ด้าน พบว่า นักศึกษามีการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมในระดับปานกลาง แต่ค่าเฉลี่ยของทั้งก่อนเรียน-หลังเรียน แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีพัฒนาการในเชิงบวก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ผลรวมแล้ว สามารถแบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษาที่สมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีพัฒนาการระดับสูงมาก 2) นักศึกษาที่สมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีพัฒนาการระดับสูง 3) นักศึกษาที่สมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีพัฒนาการระดับปานกลาง 4) นักศึกษาที่สมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีพัฒนาการระดับต้น และ 5) นักศึกษาที่สมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีพัฒนาการลดลง โดยสรุปผลจากข้อมูลเชิงปริมาณ แสดงให้เห็นในภาพรวมว่านักศึกษามีการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ตามข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ แผนการสอน สื่อการสอน โครงการทางศิลปศึกษา และโครงงานสร้างสรรค์ พบว่า นักศึกษามีการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมมีทั้งสอดคล้องกันและแตกต่างกัน กล่าวคือ ข้อมูลทั้งสองชุดชี้ให้เห็นว่านักศึกษามีการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมในเชิงบวก แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่านักศึกษาเกิดการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมน้อยเมื่อเทียบกับข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนั้น การใช้ข้อมูลชุดเดียวไม่สามารถประเมินนักศึกษาได้อย่างครอบคลุม นอกจากนี้ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา มี 5 ประการ ได้แก่ 1) การมีต้นทุนทางวัฒนธรรม 2) การมองเห็นความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมปรากฏในห้องเรียน 3) การมีมุมมองต่อการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งผลดีต่อผู้เรียนพหุวัฒนธรรม 4) การมีมุมมองเชิงบวกต่อการบูรณาการแนวการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ในวิชาการสอนศิลปะ และ 5) การประยุกต์ใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน กล่าวโดยสรุป การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การนำแนวคิดการสอนที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม เข้าไปบูรณาการในกลุ่มวิชาการสอนในหลักสูตรของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลักสูตรเดิมได้ หรือหลักสูตรที่ไม่มีรายวิชา หรือไม่มีการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพหุวัฒนธรรม เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาครู | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590251012 นางสาวสายพิณ สังคีตศิลป์.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.