Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78738
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNannaphat Saenghong-
dc.contributor.advisorOmsin Jatuporn-
dc.contributor.authorWu, Changjuen_US
dc.date.accessioned2023-08-29T01:30:57Z-
dc.date.available2023-08-29T01:30:57Z-
dc.date.issued2023-06-19-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78738-
dc.description.abstractThis qualitative research examines the multicultural education approaches implemented in Singapore and South Korea. The study applies Sleeted and Grant’s (1999) approach to multicultural education as a theoretical framework. The study aims to address the following research questions: What approaches to multicultural education are employed in the multicultural education policies of Singapore and South Korea? Which social identities are included within the multicultural education policies of Singapore and South Korea? What are the approaches to multicultural education embedded in teacher preparation policies of Singapore and South Korea? The study utilizes critical discourse analysis as the tool to analyze official government documents including education act, multicultural education policies, teacher professional standards, and teacher training programs/courses released. The study's findings reveal that both Singapore and South Korea have multicultural policies with liberal foundations. Singapore places emphasis on the "Human Relations", “Single-Group Studies” and "Multicultural Education" approaches, while South Korea primarily follows the “Human Relations” approach. The policies for preparing teachers to be multicultural competent also reflect this liberal stance, with Singapore prioritizing the multicultural education approach and South Korea focusing on the human relations approach. The study's findings underscore the commitment of both Singapore and South Korea to creating inclusive and diverse educational environments that celebrate cultural differences and foster positive social interactions. However, it also highlights the need for a critical stance to ensure that multicultural education is inclusive, equitable, and addresses systemic oppression and discrimination, while promoting a well-rounded education that embraces cultural diversity. Moreover, the study findings reveal that Singapore's multicultural education policies primarily encompass identities related to national identity, nationality groups, ethnicity, language, and religion. Similarly, in South Korea, the focus is on children of multicultural families, while identities related to different genders, diverse social classes, and disabilities are not adequately addressed. These findings underscore the need for greater inclusion of a broader range of identities in the multicultural education policies of both countries to ensure a more comprehensive and equitable educational framework. The study provides valuable insights for other contexts grappling with multicultural education, particularly in the areas of policy development and teacher preparation to promote multicultural competency.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleThe Study of multicultural education policies: Singapore and South Koreaen_US
dc.title.alternativeการศึกษานโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรม: สิงคโปร์และเกาหลีใต้en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshEducation -- Singapore-
thailis.controlvocab.lcshEducation -- South Korea-
thailis.controlvocab.lcshCultural pluralism -- Singapore-
thailis.controlvocab.lcshCultural pluralism -- South Korea-
thailis.controlvocab.lcshMulticulturalism -- Singapore-
thailis.controlvocab.lcshMulticulturalism -- South Korea-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม (multicultural education approaches) ของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของ Sleeter and Grant (1999) เป็นแนวคิดในการวิจัย โดยมีคำถามการวิจัยดังนี้ (1) นโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีใต้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมแนวทางใด (2) นโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีใต้ครอบคลุมอัตลักษณ์ทางสังคมใดบ้าง (3) นโยบายการผลิตครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีใต้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมแนวทางใด การวิจัยนี้เก็บรวบรวมเอกสารสำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา นโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรม มาตรฐานวิชาชีพครู และโครงการฝึกอบรมครู และใช้การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (critical discourse analysis) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีสะท้อนฐานคิดเชิงเสรีนิยมเป็นหลัก กล่าวคือ ประเทศสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับแนวทาง “มนุษยสัมพันธ์” ร่วมกับ แนวทาง“การศึกษาเฉพาะกลุ่ม” และแนวทาง“การศึกษาพหุวัฒนธรรม” ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ยึดแนวทาง “มนุษยสัมพันธ์” เป็นหลัก ด้านนโยบายการผลิตครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศก็พบว่าสะท้อนฐานคิดเชิงเสรีนิยมเช่นเดียวกับนโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรม โดยประเทศสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับแนวทาง “การศึกษา พหุวัฒนธรรม” และประเทศเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับแนวทาง “มนุษยสัมพันธ์” ข้อค้นพบ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักและความมุ่งมั่นของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลีใต้ในการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ครอบคลุมและส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเน้นการเฉลิมฉลองความแตกต่างทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาแนวทางการศึกษาแบบ พหุวัฒนธรรมที่อิงฐานคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อให้การศึกษาพหุวัฒนธรรมมีความครอบคลุม เสมอภาค และขจัดการกดขี่และการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ พร้อมกับการส่งเสริมการศึกษารอบด้านที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้พบว่านโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์ครอบคลุมอัตลักษณ์ด้านเอกลักษณ์ประจำชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ในขณะที่นโยบายการศึกษาพหุวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้มุ่งให้ความสำคัญกับ อัตลักษณ์เด็กที่เป็นสมาชิกของครอบครัวพหุวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตลักษณ์ด้านเพศ ชนชั้นทางสังคม และความพิการได้รับความสำคัญน้อย ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม อัตลักษณ์เหล่านี้ในนโยบายของทั้งสองประเทศเพื่อให้ครอบคลุมและเท่าเทียมกันมากขึ้น การศึกษานี้นำเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาวิจัยหรือดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา พหุวัฒนธรรมในบริบทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนานโยบายและการเตรียมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะพหุวัฒนธรรมen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630231006 CHANGJU WU.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.