Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78735
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดรุณี โอวิทยากุล | - |
dc.contributor.advisor | เพ็ญพิชชา วนจันทรรักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | ศิริวุฒิ สุขขี | - |
dc.contributor.author | พีรฉัตร มารศรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-29T01:19:20Z | - |
dc.date.available | 2023-08-29T01:19:20Z | - |
dc.date.issued | 2023-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78735 | - |
dc.description.abstract | Object: This study aimed to investigate and compare the reduction of inflammation and wound healing effect of coconut oil mouthwash on human gingival fibroblast cells, comparing with 0.12% chlorhexidine gluconate (CHX). Methods: In vitro study, Human gingival fibroblast cell (HGFCs) and RAW 264.7 cells were cultured in completed medium containing 10% FBS and 1% antibiotic. Coconut oil mouthwash formulation (CoMW), containing 60% virgin coconut oil (VCO), 30% propylene glycol (PG), and 10% distilled water, was prepared. Its ingredients such as VCO and PG, and 0.12% CHX were determined for cytotoxicity test to calculate IC50 and sub-IC50 concentration. The reduction of inflammation effect was investigated via the inhibition against E. coli lipopolysaccharide-activated nitric oxide production on HGFCs and RAW 264.7, and expression of proinflammatory mediators interleukin-1β, interleukin-6, and cyclooxygenase-2 on HGFCs. The wound healing property was determined by scratch assay. Results: The results demonstrated that 12.5% (v/v) CoMW and 0.001875% (v/v) CHX showed no cytotoxicity to HGFCs. 12.5% (v/v) CoMW significantly increased nitric oxide production from LPS-activated HGFCs (P<0.01), opposite to 0.0001875% (v/v) CHX that significantly suppressed LPS-induced nitric oxide production (P<0.001). 12.5% (v/v) CoMW significantly reduced interleukin-6 and cyclooxygenase-2 gene expression in LPS-activated HGFCs (P<0.001, P<0.05), However 12.5% (v/v) CoMW showed the reduction of inflammation was lower statistically significant than the group that was treated with 0.001875% (v/v) CHX (P<0.001). However, 12.5% (v/v) CoMW induced HGFCs migration faster than control group, similarly to 0.001875% (v/v) CHX. In addition, PG had no anti-inflammation and wound healing properties. Conclusion: Sub-IC50 of CoMW formula containing 7.5% VCO induced LPS-activated HGF cells to increase nitric oxide production. It reduced IL-6 and COX-2 gene expression, but the level of reductions were not less than sub-IC50 CHX. However, sub-IC50 of coconut oil mouthwash and sub-IC50 of chlorhexidine gluconate increased wound healing similarly and faster than non-treated cells. Therefore, the developed coconut oil mouthwash formula could be used as an adjunct treatment for oral inflammation. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การอักเสบ | en_US |
dc.subject | ฤทธิ์สมานแผล | en_US |
dc.subject | น้ำยาบ้วนปาก | en_US |
dc.subject | น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น | en_US |
dc.subject | เซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ | en_US |
dc.title | ฤทธิ์ลดการอักเสบและฤทธิ์สมานแผลของน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริษุทธิ์ต่อเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ | en_US |
dc.title.alternative | The Reduction of inflammation and wound healing effect of coconut oil mouthwash on human gingival fibroblast cells | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | น้ำยาบ้วนปาก | - |
thailis.controlvocab.thash | เหงือกอักเสบ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรคปริทันต์อักเสบ | - |
thailis.controlvocab.thash | เหงือก -- โรค | - |
thailis.controlvocab.thash | การอักเสบ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบและฤทธิ์สมานแผลของน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เปรียบเทียบกับคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตความเข้มข้นร้อยละ 0.12 วิธีการศึกษา: ศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยนำเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ และเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจ (RAW 264.7) ซึ่งเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ชนิดคอมพลีทมีเดียที่มีส่วนผสมของซีรัมลูกอ่อนวัว ร้อยละ 10 และยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 1 มาทดสอบกับน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่มีส่วนประกอบของ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริสุทธิ์ ร้อยละ 60 โพรไพลีนไกลคอล ร้อยละ 30 และ น้ำกลั่น ร้อยละ 10 เปรียบเทียบกับ คลอเฮกซิดีนกลูโคเนตความเข้มข้นร้อยละ 0.12 โดยทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ด้วยวิธีการเอ็มทีที เพื่อหาความเข้มข้นของน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริสุทธิ์ โพรไพลีนไกลคอล และคลอเฮกซิดีนกลูโคเนต ความเข้มข้นในระดับยับยั้งการทำงานของเซลล์ร้อยละ 50 หรือ ไอซี 50 (IC50) และใช้ค่าความเข้มขึ้นที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ หรือ ซับไอซี 50 (sub-IC50) ทดสอบฤทธิ์ลดการอักเสบด้วยการวิเคราะห์การสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์ (nitric oxide production) จากเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปาก และเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจ (RAW 264.7) ด้วยปฏิกิริยากรีส(griess reaction) และ การแสดงออกของยีน อินเตอร์ลิวคิน-1 เบต้า อินเตอร์ลิวคิน-6 และไซโคลออกซิจิเนส-2 ในเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากที่ถูกกระตุ้นด้วยแอลพีเอส (lipoplysaccharide; LPS) ของเชื้ออีโคไล (E.coli) ด้วยปฏิกิริยาปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์ด้วยการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ (quantitative real-time polymerase chain reaction : RT-qPCR) และทดสอบฤทธิ์สมานแผล (wound healing effect) ของน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตต่อเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ด้วยการทดสอบการยึดติดของเซลล์ด้วยวิธีการขูดขีด (scratch assay) ผลการศึกษา: น้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 12.5 และ คลอเฮกซิดีนกลูโคเนต ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.001875 ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่ซับไอซี 50 ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปาก โดยน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ความเข้มข้นร้อยละ 12.5 สามารถกระตุ้นให้เซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากที่ถูกกระตุ้นการอักเสบด้วยแอลพีเอสของเชื้ออีโคไลสามารถสร้างไนตริกออกไซด์ (P<0.01) ในขณะที่คลอเฮกซิดีนกลูโคเนต ความเข้มข้นร้อยละ 0.001875 มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์จากเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจ (RAW 264.7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และ น้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นสามารถลดการอักเสบด้วยการลดการแสดงออกของยีนอินเตอร์ลิวคิน-6 และ ไซโคลออกซิจิเนส-2 ในเซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากที่ถูกกระตุ้นด้วยแอลพีเอสของเชื้ออีโคไล อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) แต่น้อยกว่าคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตความเข้มข้นร้อยละ 0.001875 อย่างนัยสำคัญ (P<0.001) อย่างไรก็ตาม เซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ที่เลี้ยงในน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมีความไวในการเคลื่อนตัวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตที่เวลา 48 ชั่วโมง (P>0.05) โดยโพรไพลีนไกลคอลไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบและฤทธิ์สมานแผล สรุปผลการศึกษา: ซับไอซี 50 ของตำรับน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริสุทธิ์ร้อยละ 7.5 โดยปริมาตร กระตุ้นให้เซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยแอลพีเอสของเชื้ออีโคไลสร้างสารไนตริกออกไซด์ นอกจากนี้ยังช่วยลดการแสดงออกของยีนอินเตอร์ลิวคิน-6 และไซโคลออกซิจีเนส-2 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคลอเฮกซิดีนกลูโคเนต พบว่าที่ซับไอซี 50 ตำรับน้ำยาบ้วนปากจาก น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นสามารถลดการแสดงออกของยีน อินเตอร์ลิวคิน-1 เบต้า และอินเตอร์ลิวคิน-6 ได้น้อยกว่าคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ซับไอซี 50 เซลล์สร้างเส้นใยในช่องปากของมนุษย์ที่เลี้ยงในตำรับน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และคลอเฮกซิดีนกลูโคเนต มีฤทธิ์สมานแผลใกล้เคียงกัน และมากกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นตำรับน้ำยาบ้วนปากจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นอาจใช้เป็นสารทางเลือกเพื่อส่งเสริมในการรักษาอาการอักเสบในช่องปากได้ | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630931021-พีรฉัตร มารศรี.pdf | 11.45 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.