Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78697
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิส ชาร์ป-
dc.contributor.authorชุติณัฎ บุญวัฒนาen_US
dc.date.accessioned2023-08-24T01:06:23Z-
dc.date.available2023-08-24T01:06:23Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78697-
dc.description.abstractการกำจัดขยะพลาสติกอย่างไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมาไมโครพลาสติกเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาของมลพิษจากขยะพลาสติกที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ไมโครพลาสติก คือ พลาสติกพอลิเมอร์ที่มีขนาดอนุภาค < 5 mm โรงบำบัดน้ำเสียชุมชนถือเป็นเส้นทางหนึ่งในการปลดปล่อยไมโครพลาสติกออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ของระบบบำบัดน้ำเสียจะสามารถกำจัดไมโครพลาสติกบางส่วนออกได้ ก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วออกสู่แหล่งน้ำ แต่ยังสามารถพบไมโครพลาสติกในน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยตรวจสอบประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกของระบบบำบัดน้ำเสีย ศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพและเคมีของไมโครพลาสติก และทดสอบประสิทธิภาพความสามารถในการกำจัดไมโครพลาสติกของวัสดุกรองน้ำในระดับห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างไมโครพลาสติกจากน้ำเสีย น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว และกากตะกอนถูกรวบรวมด้วยการกรองผ่านชุดตะแกรงกรองโลหะขนาด 1 mm, 0.250 mm และ 0.125 mm การสุ่มตัวอย่างดำเนินการภายในพื้นที่โรงบำบัดน้ำเสีย ณ โรงกำจัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนไมโครพลาสติกเฉลี่ยที่ตรวจพบในน้ำเสีย น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว และกากตะกอนเท่ากับ 56.01 ± 8.60 อนุภาค/ลิตร, 5.78 ± 1.85 อนุภาค/ลิตร และ 734.67 ± 185.49 อนุภาค/kgWW (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ การกระจายรูปร่างของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสีย พบไมโครพลาสติกรูปร่างไร้รูปแบบมากที่สุดในกากตะกอน ถึง 77.22% น้ำเสีย และน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วเท่ากับ 46.74% และ 26.84% ตามลำดับ ไมโครพลาสติกรูปร่างเส้นใยพบมากที่สุดในน้ำเสียเท่ากับร้อยละ 73.16 น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว และกากตะกอน พบไมโครพลาสติกรูปร่างเส้นใยเท่ากับร้อยละ 53.26 และร้อยละ 22.78 ตามลำดับ ในบรรดาไมโครพลาสติกเหล่านี้ เส้นใยเป็นรูปร่างหลักที่พบในน้ำเสียและน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว ไมโครพลาสติกรูปร่างไร้รูปแบบที่พบส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ในช่วงขนาด 0.1 mm - 0.5 mm และไมโครพลาสติกรูปร่างเส้นใยที่พบมีขนาด >2.5 mm พบพอลิเมอร์ 4 ชนิดจากการตรวจระบุชนิดพอลิเมอร์ด้วย ATR-FTIR ได้แก่ Alkyd, PES, PVC และ LDPE ซึ่งเป็นประเภทพอลิเมอร์ที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกของระบบบำบัดน้ำเสียมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 89.68 และการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกของวัสดุกรอง โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกรองของชุดทดลองทรายกรองและชุดทดลองทรายกรองและแอนทราไซต์ พบว่าชุดกรองทั้งสองแบบมีประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกที่ใกล้เคียงกัน ชุดทดลองทรายกรองมีประสิทธิภาพกรองไมโครพลาสติกขนาด 0.25 – 1 mm และ 0.125 – 0.25 mm เท่ากับร้อยละ 98.42 และร้อยละ 99.80 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น จากการศึกษาวิเคราะห์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียยืนยันได้ว่าระบบบัดน้ำเสียสามารถกำจัดไมโครพลาสติกส่วนใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม การกำจัดไมโครพลาสติกรูปร่างเส้นใยควรมีการพิจารณาเพิ่มเติมถึงวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัด และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในกากตะกอนเป็นสิ่งที่น่าเป็นกังวลเนื่องจากกากตะกอนจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรต่อไป ดังนั้นในอนาคตจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นพิษของไมโครพลาสติกหรือสารพิษที่เกาะติดบนไมโครพลาสติกต่อสิ่งมีชีวิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียและการศึกษาวิธีการกำจัดไมโครพลาสติกในระดับห้องปฎิบัติการen_US
dc.title.alternativeAnalysis of microplastics contamination in wastewater treatment plant and study of laboratory scale microplastics removal methodsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashไมโครพลาสติก-
thailis.controlvocab.thashน้ำเสีย -- การบำบัด-
thailis.controlvocab.thashน้ำ -- การปนเปื้อน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractImproper disposal of plastic waste creates environmental problems, including the issue of microplastics that countries worldwide face. Microplastics are plastic polymers with particle sizes < 5 mm. Municipal wastewater treatment is one source that releases microplastics into the environment. Although the wastewater treatment processes can remove some of the microplastics, we still can find them in the effluent. This study aimed to analyze the contamination of microplastics in the wastewater treatment system to determine the efficiency of microplastic removal. The study also analyzed the physical and chemical characteristics of microplastics. Lastly, the study tests the efficiency of the microplastic removal ability of water filter materials. Microplastic samples from influent, effluent, and sludge were collected by filtration through a series of metal sieves: 1 mm, 0.250 mm, and 0.125 mm. Samples were collected randomly from the wastewater treatment plant of Chiang Mai University. The mean values of microplastics detected in influent, effluent, and sludge were 56.01 ± 8.60 particles/l, 5.78 ± 1.85 particles/l, and 734.67 ± 185.49 particles/KgWW (wet weight), respectively. Irregular-shaped microplastics were found the most in sludge at 77.22%, and influent and effluent at 46.74% and 26.84%, respectively. On the other hand, fiber-shaped microplastics were the most abundant in wastewater at 73.16%, effluent, and sludge and were found to be 53.26% and 22.78%, respectively. Fibers are the main shapes found in influent and effluent. However, in sludge, irregular shape microplastics are predominantly located. Most irregular-shaped microplastics were found to be in the 0.1mm - 0.5mm range and fiber-shaped microplastics were found to be >2.5 mm. Four polymers were identified from ATR-FTIR analysis: Alkyd, PES, PVC, and LDPE, the common types of polymers found in everyday life. The average microplastic removal efficiency of the wastewater treatment system was 89.68%. The microplastic removal efficiency of the filter media was done by comparing the filtration efficiency of the sand filter set and the sand and anthracite filter set. It was found that both filters had similar efficiency in removing microplastics. The sand filter set has a filtering efficiency of 0.25 – 1 mm and 0.125 – 0.25 mm microplastics at 98.42% and 99.80%, respectively. However, this study is only a laboratory scale. In the future, there should be a study on the toxicity of microplastics on living organisms.en_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610531101-Chutinat Boonwattana.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.