Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78678
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ก้องภู นิมานันท์ | - |
dc.contributor.author | จิรพัฒน์ ตียาภรณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-22T00:49:40Z | - |
dc.date.available | 2023-08-22T00:49:40Z | - |
dc.date.issued | 2023-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78678 | - |
dc.description.abstract | The objective of this independent research is to study how to improve Efficiency of House Construction operations of T Town-Tha Rua Housing Estate. Identify the cause of problem by interviewing 19 responsible staffs of T-town-Tha Rua Housing Estate and observing an on-site operation, using observational records, observational check sheets and interviewing reports. The collected data was analyzed by using Pareto chart and Cause and Effect Diagram to group the data to find the root causes of problems in construction operations include Value Analysis to identify non-value added activities. Then, adjust construction operations by Lean construction. After that, the result will be compared with data before operational adjustments. The result will be presented in the form of a percentage of project’s cost and decreased working days. The study of the current condition (before the adjustments), the results showed that the construction operations of one-story twin house have 49 main activities with 126 minor activities. The time spent in the project was 185 days in which some of the activities can be done in the same time. The empirical study showed that 627,093.37 Bath was spent on materials, 241,681.10 Bath was spent on wages, 739,500.00 Bath was spent on land (43.5 sq m.) development, 154,030.00 Bath was spent on selling expenses, 93,929.00 Bath was spent on administrative management and 88,753.31 Bath was spent on Tax (20%) resulting in a total net profit of 355,013.23 Bath. From the study and analyze the problem with Pareto diagram, it was found that the primary cause affect cost and operation time, namely waiting for operator, waiting for material, waiting for equipment and machine and operator’s malfunctioning. The problem-solving planning starts with investigation the construction blueprint and plans. Then, the non-valued added activities are identified and eliminated while an adjusted construction plan was created using the ECRS process. Such process includes Time function mapping, Gantt chart, On-time planning, Laborer management, Critical path method and Employee training plan by using Work Instruction (WI) and Flow Diagram to set the interoperability standard. By adopting the adjusted plan, cost of the second house decrease substantially. the results showed that able to reduce construction activities from 49 main activities with 126 minor activities, to only 49 main activities with 102 minor activities resulting in the reduction in time spent to 153.125 days, 31.875 days less than the first house. For construction cost, material cost was 622,576.40 Bath, wage cost was 241,681.10 Bath, land (43.5 sq m.) development cost was 739,500.00 Bath, selling expenses was 154,030.00 Bath, administrative management cost was 81,929.00 Bath and Tax (20%) cost was 92,056.70 Bath resulting in a total net profit of 368,226.80 Bath. The amount of money saved means the increase in profit of 13,213.57 Bath or 0.72% of house price. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการก่อสร้างบ้าน | en_US |
dc.subject | โครงการบ้านจัดสรร ธีร์ทาวน์-ท่ารั้ว | en_US |
dc.subject | Efficiency Improvement of House Construction Operations | en_US |
dc.title | การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการก่อสร้างบ้านของโครงการบ้านจัดสรร ธีร์ทาวน์-ท่ารั้ว | en_US |
dc.title.alternative | Efficiency improvement of house honstruction operations of T Town-Tha Rua housing estate | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การสร้างบ้าน | - |
thailis.controlvocab.thash | ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง | - |
thailis.controlvocab.thash | บ้าน | - |
thailis.controlvocab.thash | การก่อสร้าง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการก่อสร้างบ้านของโครงการบ้านจัดสรร ธีร์ทาวน์-ท่ารั้ว โดยทำการหาสาเหตุของปัญหาจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 19 ราย และการสังเกตสภาพการทำงานหน้างานจริง มีการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตทั้งแบบรายงาน แบบ Check Sheet และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้แผนภูมิพาเรโตในการจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อหาสาเหตุหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการก่อสร้าง และใช้แผนผังแสดงเหตุ และผลวิเคราะห์หาสาเหตุย่อย รวมไปถึงการวิเคราะห์คุณค่า (Value Analysis) เพื่อหากิจกรรมที่สูญเปล่า แล้วจึงปรับปรุงการดำเนินการก่อสร้างโดยใช้หลักการของลีน คอนสตรั๊กชั่น (Lean Construction) แล้วนำข้อมูลก่อน และหลังปรับปรุงกระบวนการทำงานมาเปรียบเทียบกันโดยรายงานผลเป็นร้อยละของต้นทุนโครงการ และจำนวนวันทำงานที่ลดลง ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน (ก่อนปรับปรุง) พบว่าการดำเนินการก่อสร้างบ้านแฝดชั้นเดียวของโครงการบ้านจัดสรร ธีร์ทาวน์-ท่ารั้ว มีขั้นตอนในการก่อสร้าง 49 กิจกรรมหลัก 126 กิจกรรมย่อย ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 185 วัน (โดยกิจกรรมบางกิจกรรมสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้) เมื่อศึกษาเรื่องต้นทุนในการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง พบว่ามีต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 627,093.37 บาท ต้นทุนค่าแรงงาน เท่ากับ 241,681.10 บาท ต้นทุนค่าที่ดินพัฒนาแล้ว (43.5ตร.ว.) เท่ากับ 739,500.00 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย เท่ากับ 154,030.00 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหาร เท่ากับ 93,929.00 บาท และต้นทุนค่าภาษี (TAX 20%) เท่ากับ 88,753.31 บาท ทำให้มีกำไรสุทธิ 355,013.23 บาท จากการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการก่อสร้างด้วยแผนภูมิพาเรโต พบว่าสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการก่อสร้าง คือ การรอคอยวัตถุดิบ การรอคอยช่าง การรอคอยเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร และการทำงานที่ผิดพลาดของช่าง การวางแผนแก้ไขปัญหามีการศึกษาแบบแปลน และรายละเอียดการก่อสร้าง และการวางแผนปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการก่อสร้างโดยการวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรมเพื่อหากิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า แล้วกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นด้วยการใช้วิธีการปรับปรุงงานแบบ ECRS โดยมีการจัดทำ แผนภาพการดำเนินการก่อสร้าง Time Function Mapping แผนกำหนดเวลา Gantt Chart แผนโครงการ Critical Path Method (CPM) แผนการใช้วัสดุแบบทันเวลา แผนการใช้แรงงาน แผนการฝึกอบรมแรงงานโดยใช้คู่มือวิธีปฏิบัติงาน (WORK INSTRUCTION, WI) และแผนภูมิการไหล Flow Diagram เพื่อกำหนดมาตรฐานในการทำงาน หลังจากดำเนินการก่อสร้างบ้านหลังที่ 2 ตามแผนที่วางไว้ พบว่าหลังจากปรับปรุงการดำเนินการก่อสร้างมีความสูญเสียลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยสามารถลดกิจกรรมในการก่อสร้าง จาก 49 กิจกรรมหลัก 126 กิจกรรมย่อย เหลือเพียง 49 กิจกรรมหลัก 102 กิจกรรมย่อย ส่งผลให้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างเหลือ 153.125 วัน ซึ่งสามารถลดระยะเวลาการดำเนินการก่อสร้างลงได้ 31.875 วัน เมื่อตรวจสอบผลการดำเนินการก่อสร้างบ้านหลังที่ 2 (หลังปรับปรุง) พบว่าต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 622,576.40 บาท ต้นทุนค่าแรงงาน เท่ากับ 241,681.10 บาท ต้นทุนค่าที่ดินพัฒนาแล้ว (43.5ตร.ว.) เท่ากับ 739,500.00 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย เท่ากับ 154,030.00 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหาร เท่ากับ 81,929.00 บาท และต้นทุนค่าภาษี (TAX 20%) เท่ากับ 92,056.70 บาท ทำให้มีกำไรสุทธิ 368,226.80 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังปรับปรุงมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 13,213.57 บาท คิดเป็น 0.72% ของราคาขายบ้าน | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
จิรพัฒน์ ตียาภรณ์-631532042.pdf | 9.74 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.