Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78676
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ก้องภู นิมานันท์ | - |
dc.contributor.author | กฤษฎา อินดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-22T00:40:09Z | - |
dc.date.available | 2023-08-22T00:40:09Z | - |
dc.date.issued | 2023-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78676 | - |
dc.description.abstract | The objective of this independent research was to study the methods for improving the efficiency of house construction operations using cast-in-place wall system of Sukniran Housing Estate. Identify the causes of problems by interviewing 21 staff of Sukniran Housing Estate and observing an on-site operation, using observational records, observation check sheets and interviewing reports. The collected data were analyzed using the Pareto Chart to group and analyze significant problems occurring in the construction process. The Cause & Effect Diagram is used to analyze the sub-causes of the problems, and the Value Analysis to identify non-value-added activities. Then, it was used to improve the construction process based on the principles of Lean Construction. After that, the result will be compared with the data before operational adjustments : the result will be presented in decreased working time and the form of a percentage of the project’s cost The study of the initial state (before the adjustments), the results showed that the construction of reinforcement two-story residential houses Using Cast in Place Load Bearing Wall System included 9 main activities with 75 minor activities. The time spent in the project was 105 days in which some of the activities can be done at the same time. Then, the empirical study showed that material expenses amounted to 691,699.13 Baht, labor expenses amounted to 429,793.96 Baht, administrative expenses amounted to 61,250.00 Baht, resulting in a total profit of 97,256.91 Baht. From the study of the problems through interviews and observations. These problems caused delays in the construction process. Therefore, the problems were analyzed using the Pareto Chart and the main problems with high significance and frequency were identified as follows: 1. Waiting for workers, 2. Waiting for tools and machinery, 3. Repairs and rework, 4. Design revisions, 5. Waiting for materials, 6. Insufficient expertise of worker, 7. Unclear work orders. The problem-solving planning begins with investigating the construction blueprint, structural models, construction process visualizations, and process improvement planning. The Value Analysis technique was used to identify non-value-added activities which were then used to develop a plan to adjust the construction process based on the ECRS. Such process includes Time Function Mapping, Gantt Charts, Process Flow Charts, On-time material planning, Labor plan, Laborer management, and Internal Management Plans. By adopting the adjusted plan, the construction wastes of reinforcement two-story residential houses decrease substantially. The results showed that able to reduce construction activities from 9 main activities with 75 minor activities, to only 9 main activities with 54 minor activities resulting in the reduction in time spent to 105 days, 31 days less than the first house. For construction cost, material expenses amounted to 664,370.51 Baht, labor expenses amounted to 420,813.96 Baht, administrative expenses amounted to 43,750.00 Baht, resulting in a total profit of 151,065.53 Baht. The amount of money saved means the increase in profit of 53,808.62 Baht or 4.20% of the construction project's value. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการก่อสร้างบ้านด้วยระบบผนังรับน้ำหนักแบบหล่อในที่ของโครงการหมู่บ้านสุขนิรันดร์ | en_US |
dc.title.alternative | Efficiency improvement of house construction operations using cast-in-place load bearing wall system of Sukniran housing estate | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การสร้างบ้าน | - |
thailis.controlvocab.thash | ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง | - |
thailis.controlvocab.thash | ผนัง -- การออกแบบและการสร้าง | - |
thailis.controlvocab.thash | การก่อสร้าง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานการก่อสร้างบ้านด้วยระบบผนังรับน้ำหนักแบบหล่อในที่ของหมู่บ้านสุขนิรันดร์ โดยการหาสาเหตุของปัญหาจากการสัมภาษณ์ผู้รับเหมาช่วงและพนักงานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหมดจำนวน 21 ราย และมีการสังเกตการทำงานหน้างาน รวมถึงบันทึกสภาพการทำงานหน้างานจริง มีการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตแบบรายงาน แบบ Check Sheet และแบบบันทึกสัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนั้นใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้แผนภูมิพาเรโต (Pareto Chart) เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลและวิเคราะห์หาปัญหาหลักที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง และใช้แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุย่อยของปัญหา และวิเคราะห์คุณค่า (Value Analysis) เพื่อระบุกิจกรรมที่มีความสูญเปล่าเกิดขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงในการดำเนินการก่อสร้างด้วยหลักการของลีน คอนสตรั๊คชั่น(Lean Construction) แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างและหลังปรับปรุงกระบวนการก่อสร้าง โดยรายงานจำนวนระยะเวลาทำงานที่ลดลง และรายงานผลเป็นร้อยละของต้นทุนโครงการ ผลการศึกษาสภาพเริ่มต้น (ก่อนปรับปรุง) พบว่า การดำเนินการก่อสร้างบ้านพักอาศัย ค.ส.ล. 2 ชั้น ด้วยระบบผนังรับน้ำหนักแบบหล่อในที่ มีขั้นตอนในการก่อสร้าง 9 กิจกรรมหลัก 75 กิจกรรมย่อย ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด 105 วัน (ในบางกิจกรรมสามารถดำเนินการไปพร้อมกัน) และจากการศึกษาต้นทุนพบว่า มีค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ เท่ากับ 691,699.13 บาท ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เท่ากับ 429,793.96 บาท ค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ เท่ากับ 61,250.00 บาท ทำให้มีกำไรเท่ากับ 97,256.91 บาท จากการศึกษานั้นพบปัญหาในการทำงานจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ ซึ่งมีความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความล่าช้าในการดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้นจึงวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิพาเรโต (Pareto Chart) พบปัญหาหลักที่มีความสำคัญและเกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ 1. รอคอยช่าง 2. รอคอยเครื่องมือทำงานและเครื่องจักร 3. แก้ไขงานและซ่อมงาน 4. มีการแก้ไขแบบ 5. รอคอยวัสดุก่อสร้าง 6. ช่างขาดความเชี่ยวชาญในการทำงาน 7. การสั่งงานไม่ชัดเจน การวางแผนแก้ไขปัญหา เริ่มจากศึกษาและทบทวน แบบแปลน แบบโครงสร้าง แบบจำลองแสดงภาพงานโครงสร้างและรายละเอียดการก่อสร้าง และการวางแผนปรับปรุงขั้นตอนการก่อสร้าง โดยทำการใช้เครื่องมือวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม (Value Analysis) เพื่อระบุกิจกรรม งานที่ไม่สร้างคุณค่า แล้วนำมาทำแผนปรับปรุงกระบวนการก่อสร้าง ตามกระบวนการ ECRS เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นลดลง จัดทำขั้นตอนการทำงานเป็น Flow Chart แบบ Time Function Mapping แผนการทำงาน แบบ Gantt Chart แผนภูมิกระบวนการ แบบ Flow Process Chart แผนการใช้วัสดุทันเวลา แผนการใช้แรงงาน วางแผนการจัดการแรงงาน การบริหารจัดการภายใน หลังจากมีการดำเนินการก่อสร้างบ้านพัก ค.ส.ล. 2 ชั้น หลังที่ 2 ตามแผนที่วางไว้ พบว่าหลังจากปรับปรุงการดำเนินการก่อสร้างนั้น มีความสูญเสียลดลง โดยสามารถลดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการจาก 9 กิจกรรมหลัก และ 75 กิจกรรมย่อย เหลือ 9 กิจกรรมหลัก และ 54 กิจกรรมย่อย ส่งผลให้ระยะเวลาในการดำเนินการลดลงได้ 31 วัน เมื่อตรวจสอบข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายการดำเนินการหลังที่ 2 (หลังปรับปรุง) พบว่า มีค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ เท่ากับ 664,370.51 บาท ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เท่ากับ 420,813.96 บาท ค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ เท่ากับ 43,750.00 บาท ทำให้มีกำไร เท่ากับ 151,065.53 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังมีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการก่อสร้างแล้วทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น 53,808.62 บาท คิดเป็น 4.20% ของมูลค่างานก่อสร้าง | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
กฤษฎา อินดี-631532037.pdf | 7.66 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.