Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78525
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วราภรณ์ บุญเชียง | - |
dc.contributor.advisor | ปาริฉัตร องอาจบริรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ปัทมาภรณ์ หินเพ็ชร | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-21T01:12:35Z | - |
dc.date.available | 2023-07-21T01:12:35Z | - |
dc.date.issued | 2022-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78525 | - |
dc.description.abstract | The current trend of high blood pressure risk groups is increasing, which could be life threatening. However, high blood pressure can be prevented through behavioral changes. The purpose of this quasi-experimental study was to determine the effectiveness of a health behavior change program for the Pga K'nyau ethnic at hypertension risk Group in Galyani Vadhana district, Chiang Mai province. The study used simple random sampling to assign two villages, each with 30 people for the intervention and control groups, for a total of 60 participants. The intervention group received a health behavior change program for hypertension prevention based on the prevention motivation theory. A questionnaire was used to collect data, and it included general information, perceived severity of hypertension, perceived susceptibility of hypertension, self-efficacy in hypertension prevention, response efficacy in hypertension prevention, and hypertension prevention behaviors. Blood pressure levels were also measured. All data were collected three times: at baseline, post-intervention, and follow-up. The study lasted 10 weeks, from February to April 2021. The Chi-square tests revealed that there was no difference in the general information of participants at baseline between the intervention and control groups. The Independent t-test revealed that the mean score of perceived severity, perceived susceptibility, self-efficacy, response efficacy, and hypertension prevention behaviors, as well as average blood pressure levels, were not different between the intervention and control groups at baseline. Whereas these variables in the intervention group significantly improved when compared to those in the control group at post-intervention and follow-up (p<0.05). The Paired t-test revealed that the intervention group's mean score of perceived severity, perceived susceptibility, self-efficacy, response efficacy, and hypertension prevention behaviors, as well as average blood pressure levels, significantly improved at post-intervention and follow-up when compared to baseline (p<0.05). The control group showed no difference at baseline, post-intervention, and follow-up. In conclusion, health behavior change program for hypertension prevention based on the prevention motivation theory could be used to improve health behavior for preventing hypertension among the Pga K'nyau ethnic at hypertension risk Group, as well as in other populations and areas with similar characteristics. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The effectiveness of health behavior changing program for Pga K’nyau ethnic group with hypertension risk, Galyani Vadhana district, Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | กลุ่มชาติพันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | กะเหรี่ยงสะกอ | - |
thailis.controlvocab.thash | ปกาเกอะญอ | - |
thailis.controlvocab.thash | ความดันเลือดสูง | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมสุขภาพ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปัจจุบันแนวโน้มของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีมากขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้ (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 30 คน สำหรับกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ รวมจำนวนทั้งหมด 60 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติในการป้องกันโรค และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการตรวจวัดระดับความดันโลหิต เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3 ครั้ง ทั้งในช่วงก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตาม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาในการศึกษา 10 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square test พบว่า ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะประชากรในช่วงก่อนทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Independent t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในช่วงก่อนทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนในช่วงหลังทดลองและระยะติดตามพบว่ากลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ประสิทธิผลในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตในช่วงหลังทดลอง และระยะติดตาม ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนทดลอง (p<0.05) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันทั้งในช่วงก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตาม สรุปได้ว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคสามารถนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและในประชากรหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ | en_US |
thesis.conceal | Publish (Not conceal) | en_US |
Appears in Collections: | RIHES: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
612232007-ปัทมาภรณ์ หินเพ็ชร.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.