Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78515
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล อุดพ้วย-
dc.contributor.authorChanin Maetmueangen_US
dc.date.accessioned2023-07-19T00:45:29Z-
dc.date.available2023-07-19T00:45:29Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78515-
dc.description.abstractGeophysical surveys including electrical resistivity tomography (ERT), ground penetrating radar (GPR), and multichannel analysis of surface wave (MASW) were acquired at Nong Pla Sawai reservoir area, Lamphun province and Lower Huai Muang reservoir area, Chiang Mai Province, northern Thailand. The surveys aim to detect seepage locations and pathways of both reservoirs because it is suspected that the reservoirs may have had seepage problems since they cannot retain adequate volume of water even in the rainy season. ERT, GPR and MASW surveys were performed along the flat surface of the dam ridge of the reservoirs. Additional ERT surveys were acquired on the reservoirfloor area, and across main channel of the watershed of each reservoir. Geological field surveys at the areas surrounding the two reservoirs were also conducted to investigate the geologic setting and to support geophysical data interpretation. At Nong Pla Sawai reservoir, a possible reason of the seepage is that the basement of the reservoir is unconsolidated sediments. Moreover, the basement beneath the dam ridge also has an inhomogeneous characteristic. This basement interpretation is based on corresponding anomaly locations in both ERT and MASW sections at the dam ridge and is also supported by the geological field data. Additional information about the unconsolidated sediments is from the ERT sections at the reservoir floor area and across the main channel of the watershed. The ERT results show that the unconsolidated sediment layer has a possible thickness of greater than 47 m beyond the maximum depth of investigation. The unconsolidated sediments have high permeability; therefore, water can seep through the basement of the reservoir. At Lower Huai Muang reservoir, all geophysical surveys at the dam ridge do not show any reservoir seepage anomaly in the dam core. The main reason that causes the seepage problem is uncompact material in the basement below the dam ridge. This is indicated by the ERT and MASW surveys that show high resistivity anomalies and low (less than 180 m/s) respectively. The geologic field data show that Lower Huai Muang reservoir is located on unconsolidated sediments, the same as Nong Pla Sawai reservoir. Moreover, the nearby borehole data show that the thickness of the unconsolidated sediments is more than 72 m. Therefore, this could make the reservoir unable to retain water because of the high permeability of the reservoir basement. The results about locations and causes of the seepage of both reservoirs from this study can be very helpful for the reservoir remediationen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleการสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบบูรณาการเพื่อตรวจสอบการซึมของอ่างเก็บน้ำหนองปลาสะวาย จังหวัดลำพูน และอ่างเก็บน้ำห้วยม่วงตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeIntegrated geophysical surveys for seepage detection of Nong Pla Sawai reservoir, Lamphun Province and lower Huai Muang reservoir, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshGeophysical - - Survey-
thailis.controlvocab.lcshReservoir - - Chiang Mai-
thailis.controlvocab.lcshReservoir - - Lamphun-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการสำรวจธรณีฟิสิกส์แบบบูรณาการบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และอ่างเก็บน้ำห้วยม่วงตอนล่าง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยการสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้า เรคาร์ทะลุผ่านพื้นดิน และคลื่นพื้นผิวแบบวิเคราะห์หลายช่องสัญญาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบตำแหน่งและเส้นทางการซึมของอ่างเก็บน้ำเนื่องจากทั้งสองอ่างเก็บน้ำอาจมีปัญหาการรั่วซึม เพราะไม่สามารถกักเก็บน้ำในปริมาณที่เพียงพอในฤดูฝนได้ ในการศึกษานี้ ได้ทำการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทั้ง 3 วิธี บริเวณบนสันอ่างเก็บน้ำ และทำการสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้าเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่กักเก็บน้ำ และบริเวณทางน้ำหลักของแต่ละอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจทางธรณีวิทยาบริเวณพื้นที่ศึกษาเพื่อตรวจสอบลักษณะทางธรณีวิทยา และช่วยในการแปลความหมายข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์ ผลการศึกษาพบว่า อ่างเก็บน้ำหนองปลาสะวายมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วซึมจากการที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาสะวายตั้งอยู่บนตะกอนไม่แข็งตัว และบริเวณใต้สันอ่างเก็บน้ำมีความไม่เป็นเนื้อเดียวกันหรือเป็นตะกอน ไม่แข็งตัว โดยมาจากการแปลความที่สอดคล้องกันของตำแหน่งค่าผิดปกติในผลการสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้าและคลื่นพื้นผิวแบบวิเคราะห์หลายช่องสัญญาณที่บริเวณสันอ่างเก็บน้ำ และยังสอดคล้องกับข้อมูลธรณีวิทยาภาคสนามอีกด้วย นอกจากนี้การสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้าบริเวณพื้นที่กักเก็บน้ำ และบริเวณทางน้ำหลัก พบว่าตะกอนไม่แข็งตัวมีความหนามากกว่า 47 เมตร ซึ่งมากกว่าความลึกสูงสุดที่ได้จากการสำรวจ โดยตะกอนไม่แข็งตัวนี้มีค่าความสามารถในการซึมผ่านได้สูง ทำให้น้ำสามารถซึมลงใต้ดินได้จากทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำและทางน้ำหลัก การสำรวจธรณีฟิสิกส์ทั้ง 3 วิธีที่อ่างเก็บน้ำห้วยม่วงตอนล่าง พบว่า บริเวณของสันของอ่างเก็บน้ำนั้นไม่มีตำแหน่งผิดปกดิที่จะเกิดการรั่วซึม และพบสาเหตุความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วซึมคือ ความไม่แน่นหรือหลวมบริเวณฐานของสันอ่างเก็บน้ำ โดยตรวจสอบได้จากผลของการสำรวจสภาพต้านทานไฟฟ้าที่แสดงค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าสูง และการสำรวจคลื่นพื้นผิวแบบวิเคราะห์หลายช่องสัญญาณที่แสดงความเร็วคลื่นเฉือนต่ำ (น้อยกว่า 180 เมตร/วินาที) นอกจากนี้ข้อมูล ธรณีวิทยาภาคสนาม ข้อมูลธรณีวิทยาหลุมเจาะบริเวณใกล้เคียง ยังพบว่า อ่างเก็บน้ำห้วยม่วงตอนล่างตั้งอยู่บนตะกอนไม่แข็งตัวเช่นเดียวกับอ่างเก็บน้ำหนองปลาสะวาย และตะกอนไม่แข็งตัวดังกล่าวยังมีความหนามากกว่า 72 เมตร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยม่วงตอนล่าง ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพราะว่าตะกอนไม่แเข็งตัวมีความซึมผ่านได้สูง ผลการศึกษานี้ที่สามารถระบุถึงสาเหตุและตำแหน่งที่คาคว่ามีการรั่วซึมบริเวณอ่างเก็บน้ำจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำทั้งสองได้en_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620535912 ชนินทร์ แมตเมือง.pdf18.4 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.