Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78499
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล | - |
dc.contributor.author | เบญจลักษณ์ ศรีดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-15T07:10:52Z | - |
dc.date.available | 2023-07-15T07:10:52Z | - |
dc.date.issued | 2022-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78499 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to study. 1)the level of burnout at work. 2)the level of organizational engagement. 3)relationship of personal data factors, working data factors, and perceptions of job characteristics and the working environment with the level of burnout at work. 4)relationship of personal data factors, working data factors, and perceptions of job characteristics and the working environment with the level of organizational engagement. And 5)the relationship between work burnout and the level of organizational engagement of pharmacists in a private hospital, Thailand. The research method was cross-sectional analytical study. A questionnaire by mail and online was a tool in this research. Data were collected from 351 private hospital pharmacists in Thailand, performing the multi-stage sampling method between September 1 to November 1, 2020. Data were analyzed using descriptive statistics. At first the relationship between independent factors and burnout factors at work and organizational engagement were analyzed by using univariate analysis. Then, the relationship of factors with a p-value <0.20 were following analyzed by multiple linear regression. The relationship between the level of work burnout and the level of organizational engagement was analyzed using Pearson correlation. Data were analyzed by using STATA version 14.0. The confidence interval was determined at 95%. The results showed that most of the samples were female (78.06%), mean age was 32.73±6.89 years, and 44.16% worked in outpatient and inpatient services. The number of working hours per month was 201-250 hours (46.16%). Their perceptions of job characteristics and the working environment were moderate, mean of 3.58±0.81. Most of participants were perceived about job success, followed by perception of professional competence.The burnout of private hospital pharmacists found that emotional exhaustion and depersonalization were low level (49.57% and 73.22%), the reduced personal accomplishment was high level (96.01%). The organizational engagement of private hospital pharmacists found that the mental aspect is at a high level (52.71%), persistence and normative were moderate level (46.72% and 43.30%). As a result of analyzing factors related to work burnout, it was found that emotional exhaustion was a congenital disease (R2 = 0.3058). The depersonalization was regarding job achievement perceptions (R2 = 0.268), and the reduced personal accomplishment was management system perception (R2 = 0.242). Moreover, factors related to organizational engagement found that the mental aspect was the perceived aspect of job success (R2 = 0.320), the persistence was educational level (R2 = 0.2186), and the normative was hospital size (R2 = 0.2062). As for the relationship between burnout at work and organizational engagement, it was found that the emotional exhaustion was associated with the mental aspect (r = -0.360, p-value <0.001) and the normative (r = -0.237, p-value = 0.001). The depersonalization was associated with the mental (r = -0.273, p-value <0.001) and normative(r = -0.164, p-value = 0.001) and the reduced personal achievement was associated with the normative (r = 0.108, p-value = 0.044). The results of this study could be used for an executives as a guideline for preventing worker burnout of pharmacists, which would positively affect the work efficiency of private hospital pharmacists in Thailand. Including the promoting organizational engagement to pharmacists, it will increase the sense of corporate when burnout is reduced. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to burnout syndrome and organizational engagement of Pharmacists in Private Hospitals, Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | เภสัชกร -- ไทย | - |
thailis.controlvocab.thash | ความล้า | - |
thailis.controlvocab.thash | ความผูกพันต่อองค์การ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลเอกชน -- ไทย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับความเหนื่อยล้าในการทำงาน 2)ระดับความผูกพันต่อองค์กร 3)ความสัมพันธ์ของปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการทำงาน และปัจจัยการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับระดับความเหนื่อยล้าในการทำงาน 4)ความสัมพันธ์ของปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการทำงาน และปัจจัยการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับระดับความผูกพันต่อองค์กร และ 5)ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานกับระดับความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional analytical study) โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์และออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศไทย จำนวน 351 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงาน ข้อมูลการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อมูลความเหนื่อยล้าในการทำงาน และข้อมูลความผูกพันต่อองค์กรด้วยสถิติเชิงพรรณนา รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรด้วยสถิติ Univariate analysis และเลือกความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีค่า p-value <0.20 ไปวิเคราะห์ต่อด้วยสถิติ Multiple Linear Regression ด้วยโปรแกรม STATA version 14.0 กำหนดช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานกับระดับความผูกพันต่อองค์กรด้วยสถิติ Pearson Correlation ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.06 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 32.73±6.89 ปี ปฏิบัติงานบริการผู้ป่วยนอกและใน ร้อยละ 44.16 มีจำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติงานต่อเดือนอยู่ที่ 201-250 ชั่วโมง ร้อยละ 46.16 มีการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58±0.81 ส่วนใหญ่เป็นด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน รองลงมา คือด้านการรับรู้ต่อความสามารถเชิงวิชาชีพ ส่วนความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน พบว่าด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 49.57 และ 73.22 ตามลำดับ ด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.01 ส่วนความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนพบว่าด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.71 ด้านการคงอยู่และด้านบรรทัดฐานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.72 และ 43.30 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานแยกตามรายด้าน พบว่าด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ คือโรคประจำตัว (R2 = 0.3058) ด้านการลดค่าความเป็นบุคคล คือการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.268) และด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล คือการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการรับรู้ต่อระบบบริหาร (R2 = 0.242) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรพบว่าด้านจิตใจ คือการรับรู้ต่อลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R2 = 0.320) ด้านการคงอยู่ คือระดับการศึกษา (R2 = 0.2186) และด้านบรรทัดฐาน คือขนาดโรงพยาบาล (R2 = 0.2062) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้าในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร พบว่าความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ (r= -0.360, p-value <0.001) กับด้านบรรทัดฐาน (r = -0.237, p-value = 0.001) ความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความเป็นบุคคลมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ (r = -0.273, p-value <0.001) กับด้านบรรทัดฐาน (r = -0.164, p-value = 0.001) และความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน (r = 0.108, p-value = 0.044) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการป้องกันความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศไทย รวมถึงสร้างความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรที่เมื่อมีความเหนื่อยล้าในการทำงานที่ลดลงจะทำให้ความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรมีมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611031007-เบญจลักษณ์ ศรีดี.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.