Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78485
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพียรชัย คำวงษ์-
dc.contributor.advisorอักษรา ทองประชุม-
dc.contributor.authorขนิษฐา วงค์ลังกาen_US
dc.date.accessioned2023-07-15T04:36:28Z-
dc.date.available2023-07-15T04:36:28Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78485-
dc.description.abstractMusculoskeletal disorders (MSDs) are one of the most important causes of disability which are major problems in health systems worldwide. The prevalence of MSDs among drivers has been shown in high level.The aim of this study was to investigate prevalence and factors associated with musculoskeletal disorders and evaluate the exposure of individual drivers to ergonomic risk factors among taxi drivers in Chiang Mai Province. Analytic cross-sectional descriptive study was conducted in 344red car taxi drivers and 24 red car taxi driver were participated in the Rapid Upper Limb Assessment. Participated were recruited by convenience sampling and data were collected period from August 2021 to November 2021. Data were collected using geneal information questionnaires which included personal and health factors, ergonomic factors, Standardized Nordic Questionnaire to determine MSDs, Rapid Upper Limb Assessment (RULA) to determine ergonomic risk, and Job Content Questionnaire (JCQ) to determine stress factor.The data were analyzed using descriptive statistic and presented in frequency, percentage, and mean. Correlation between pain and associated risks were analyzed using multiple logistic regression.The results showed that the top three areas of pain prevalence in the past 7 days were found at the shoulder joint (7.6%), lower back (4.9%) and knee (2.9%), respectively. The results showed that the top three areas of pain prevalence in the past 12 months were found at the lower back (43.3%), shoulder joint (22.4%) and hip/thighs (14.5%), respectively. Factors associated with MSDs in the past 7 days were include age > 60 ปี (OR = 4.53, 95%CI =1.09 - 22.13) compared to younger people. Work experience 1– 10 years (OR = 0.40, 95%CI = 1.28 - 15.07) compared to those with more experience. Driving continuously without resting > 2 hours (OR= 2.94 , 95%CI = 1.27 - 6.80) compared to those who drive continuously without rest less than 2 hours. The whole body vibration (OR = 0.23 , 95%CI = 0.08 - 0.70) risk to MSDs less than those who do not impede driving from the vibration 77%. Posture with the legs stretched straight while stepping on the pedal (OR =1.87, 95%CI = 1.09 - 3.89) compared to those who have never practiced or sometimes. Low levels of stress (OR =0.35, 95%CI = 0.14 - 0.89) risk to MSDs less than people with high levels of stress from overwork 65%.Factors associated with musculoskeletal disorders in the past 12 mounth were include body mass index, Obesity level 1 (OR= 3.89 , 95%CI = 1.34 - 11.29) and obesity level 2 (OR = 4.05 , 95%CI = 1.47 - 11.14) compared to that of thin/normal body mass index. Work experience 1-10 years (OR = 0.42 , 95%CI = 0.24 - 0.94) and 11 - 20 years (Adj.OR = 0.33 , 95%CI = 0.11 - 0.96) risk to MSD less than to work experience >30 years 58 % and 67 %. Exercise < 3 time/week (OR = 0.38 , 95% = CI 0.13 - 0.87), exercise 3-5 time/week (OR = 0.09 , 95%CI = 0.03 - 0.31) and exercise >5 time/week (OR= 0.27 , 95%CI = 0.07 - 0.95) risk to MSDs less than those who had never exercised 62 %, 91% and 73 %. Ride a bike (OR= 0.33 , 95%CI = 0.11 - 0.96) risk to MSDs less than did not exercise by ride a bike 67%. The whole body vibration (OR= 2.79 , 95%CI = 1.88 - 8.78) compared to those who do not impede driving from the vibration. The results of this study showed that the ergonomic risks were at level 2 (83.3%).That mean the job is risky, there should be more studies and continuous monitoring and measurement. Followed by level 3 (16.7 %). That means that job started to be a problem, should be further studied and improved. In conclusion, personal and health factors, ergonomic factor and stress factor was associated with musculoskeletal disorders in red car taxi drivers. Therefore, should promote a basic knowledge of work posture correction including regular exercise activities and stress management appropriately.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeMusculoskeletal disorders among taxi drivers in Chiang Mai provinceen_US
thailis.controlvocab.thashกล้ามเนื้อ-
thailis.controlvocab.thashระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก-
thailis.controlvocab.thashคนขับรถ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการขับรถยนต์ -- แง่สรีรวิทยา-
article.epageThesis-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพ ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับระบบสุขภาพทั่วโลก และยังพบความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและ กล้ามเนื้อในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างอยู่ในระดับสูง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมถึง ประเมินความเสี่ยงของท่าทางในการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการศึกษาพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานขับรถโดยสารรับจ้าง(สี่ล้อแดง) ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 344 คน และกลุ่มตัวอย่างในการประเมินความเสี่ยงของท่าทางในการทำงาน จำนวน 24 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ช่วงระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ตั้งแต่ สิงหาคม 2564 ถึง พฤศจิกายน 2564 ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและสุขภาพ แบบสอบถามปัจจัยด้านงาน แบบสอบถามความผิดปกติทางโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Standardized Nordic Questionnaire) แบบสอบถามความเครียดจากงาน (Job Content Questionnaire) และแบบประเมิน ท่าทางร่างกายส่วนบน (Rapid Upper Limp Assessment; RULA) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าในรูปแบบความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษา พบว่าความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 7 วัน 3 อันดับแรก ได้แก่ ไหล่/แขนส่วนบน (ร้อยละ 7.6 หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 4.9) และเข่า (ร้อยละ 2.9) และ พบความชุกของผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 12 เดือน 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 43.3) ไหล่/แขนส่วนบน (ร้อยละ 22.4 และสะโพกต้นขา (ร้อยละ 14.5) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 7 วัน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ > 60 ปี (OR = 4.53 , 95%CI = 1.00 - 22.1 3) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ประสบการณ์การขับรถ 1 - 10 ปี (OR = 4.40 , 95%CI = 1.28 - 15.07) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีประสบการณ์ ขับรถมากกว่า การขับรถต่อเนื่องโดย ไม่พัก > 2 ชั่วโมง (OR= 2.94 , 95%CI = 1.27 - 6.80) เมื่อเทียบกับผู้ที่ขับรถต่อเนื่องโดยไม่พักน้อยกว่า 2 ชั่วโมง แรงสั่นสะเทือนที่เบาะคนขับ (OR = 0.23 , 95%CI = 0.08 - 0.70) ผู้ที่มีอุปสรรดการขับรถจาก แรงสั่นสะเทือนที่เบาะคนขับ มี โอกาสที่จะพบความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ น้อยกว่า ผู้ที่ไม่มีอุปสรรคการขับรถจากแรงสั่นสะเทือนที่เบาะคนขับ ร้อยละ 77 ผู้ที่บริเวณขาจะมีลักษณะเหยียด ตรงเมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกจนสุด (Adj.OR = 1.87, 95%CI = 1.09 - 3.89) พบความผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ 1.87 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติหรือบางครั้ง ความเครียดจากการทำงาน หนักระดับต่ำ (Adj.OR = 0.35 , 95%CI = 0.14 - 0.89) มีโอกาสที่จะพบความผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อในช่วง 7 วัน ที่ผ่านมา น้อยกว่า ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานหนักระดับสูงร้อยละ 67 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 12 เดือน ได้แก่ ผู้ที่ มีดัชนีมวลกายอ้วนระดับ 1 (OR- 3.89 , 95%CI = 1.34 - 11.29) และอ้วนระดับ 2 (OR =4.05 , 95% = CI 1.47 - 11.14) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีดัชนีมวลกายผอม/ปกติ ประสบการณ์ขับรถ 1 - 10 ปี (OR = 0.42 , 95%CI = 0.24 - 0.94) และ 11 - 20 ปี (Adj.OR = 0.33 , 95%CI = 0.11 - 0.96) มีโอกาสที่จะพบความ ผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ น้อยกว่า ผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถมากกว่า 30 ปี ร้อยละ 58 และ 67 ผู้ที่ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (OR = 0.38 , 95%CI = 0.13 - 0.87) ออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ (OR = 0.09 , 95% CI = 0.03 - 0.31) และมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (OR= 0.27 , 95% = CI 0.07- 0.95) มี โอกาสที่จะพบความผิดปกติทางระบบโครงร่าง น้อยกว่า ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายร้อยละ 62, 91 และ 73 การออกกำลังกายโดยปั่นจักรยาน (OR= 0.33 , 95%CI = 0.11 - 0.96) มีโอกาสที่จะพบความ ผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ น้อยกว่า ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายโดยปั่นจักรยาน ร้อยละ 67 แรงสั่นสะเทือนที่เบาะคนขับ (OR= 2.79 , 95%CI = 1.88 - 8.78) มีโอกาสที่จะพบความผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ 2.79 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีอุปสรรคการขับรถจากแรงสั่นสะเทือนที่เบาะ คนขับ ส่วนการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเครื่องมือ RULA พบว่าระดับความเสี่ยงด้านการย ศาสตร์ อยู่ในระดับ 2 (ร้อยละ 83.3) งานนั้นมีความเสี่ยง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่าง ต่อเนื่องอาจต้องปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยง รองลงมา คือ ระดับ 3 (ร้อยละ 16.7) งานนั้นเริ่มเป็นปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและปรับปรุง โดยสรุปการศึกษานี้ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลและสุขภาพ ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้าน ความเครียด มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานขับรถโดยสาร รับจ้าง (สี่ล้อแดง) ดังนั้นจึงควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง รวมถึงส่งเสริมให้มี กิจกรรมการออกกำลังกายและการบริหารจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมen_US
thesis.concealPublish (Not conceal)en_US
Appears in Collections:PH: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
622232012-ขนิษฐา วงค์ลังกา.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.