Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78435
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนาภรณ์ อาวิพันธ์-
dc.contributor.advisorนราวดี เนียมหุ่น-
dc.contributor.authorอัทธยา พิจอมบุตรen_US
dc.date.accessioned2023-07-11T11:01:26Z-
dc.date.available2023-07-11T11:01:26Z-
dc.date.issued2564-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78435-
dc.description.abstractMost of terminal cancer patients suffer from pain. It was found that more than 50 percent of cancer patients experienced pain and 1 in 3 have moderate to severe pain. From the survey at Thoen Hospital, terminal cancer patients had problems in pain management such as adverse drug reaction problem and other complexities problems that affect pain management. These patients have primary caregivers taking care of them and administer medication to them. This study is an action research which aims to develop and evaluate a caregiver pain management program for caring terminal cancer patients. This research focuses on collaborative analysis of the problems, finding solutions, planning, implementing and evaluating plans among 15 co - researchers of doctors, nurses and pharmacists working in Palliative Care clinic, including 19 pairs of patients' caregivers. Data was collected by observation, unofficial interview and brainstorming. The process outcomes consisted of two phases: Phase 1: studying the situations and needs of the Palliative Care clinic that is appropriate to the context of the hospital. It was found that the provider's problems were providing services in palliative care clinics, the different experience of service team, availability of medications, availability of location, and service team's understanding of using pain diary. Client's problems (patients and caregivers) were readiness to acquire knowledge, attitudes to take strong opioids and attitudes about service team. Phases 2: creating and developing a caregivers' pain management program for caring of terminal cancer patients. The researchers and the co-researchers determined 5 expected change issues that affect to the development of caregiver pain management programs. These included: 1) Providers have positive attitude towards palliative care. 2) Providers have knowledge and skills in pain management and palliative care. 3) Thoen hospital has Kapanol® for the use of patient with Nasograstic tube feeding. 4) Providers have separating areas for providing pharmaceutical care to terminal cancer patients 5) Operational guidelines and developing pain management program for terminal cancer patients has improve by caregivers. The process of creation and development were performed in 2 cycles, each cycle consisted of 4 sub-steps: planning, implementing plans, observing and reflecting on performance. The process of creation and development were performed in 2 cycles, each cycle consisted of 4 sub-steps: planning, implementing plans, observing and reflecting on performance. The results about provider outcomes found that: the service team has a greater understanding about the concept of palliative care and has a positive attitude towards patient care after developing a caregivers' pain management program. The results about client outcomes compared between 1st and 3rd months of developing showed that: patients had a decrease in their current pain score and maximum pain score in 24 hours (p<0.05) but the minimum pain scores at 24 hours were not different (p>0.05). The number of problems encountered with drug use especially non-compliance problems have decreased. Caregivers have higher knowledge score on the principles of pain management and the use the analgesics for pain management (p<0.001). Caregivers also have higher self-efficacy score in pain management (p<0.001) and their satisfaction was at a very satisfied level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการจัดการความปวดโดยผู้ดูแลสำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายen_US
dc.title.alternativeThe Development and evaluation of pain management program by caregivers for terminal cancer patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลเถิน-
thailis.controlvocab.thashความเจ็บปวด -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- ผู้ป่วย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายส่วนใหญ่ทุกข์ทรมานจากความปวด โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 มี ประสบการณ์ความปวด 1 ใน 3 มีความปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง จากการสำรวจสถานการณ์ ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายของโรงพยาบาลเถิน พบปัญหาในการจัดการความปวด เช่น อาการ ไม่พึงประสงค์ จากขาและปัญหาที่มีความซับซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการจัดการความปวด มีผู้ดูแลหลักที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ทำหน้าที่ดูแล บริหารยาและมีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลผู้ป่วย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการจัดการความปวดโดยผู้ดูแล สำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ดำเนินการวิจัยโดยเน้นการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา การหาแนว ทางการแก้ไข การวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ซึ่งได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในคลินิกประดับประคอง จำนวน 15 คน รวมถึงการ เก็บข้อมูลจากผู้ดูแลหลักจำนวน 19 คน รวบรวมข้อมูลโดยการบันทึก การสังเกต การสัมภาษณ์อย่างไม่ เป็นทางการ และการประชุมระดมสมอง ผลการวิจัยในส่วนผลลัพธ์เชิงกระบวนการประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษา สภาพการณ์ของคลินิกประดับประคองของโรงพยาบาลเถิน พบว่าปัญหาจากการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้าน ระบบการให้บริการในคลินิกประกับประคองด้านความแตกต่างของประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคองของผู้ปฏิบัติงาน ด้านความพร้อมของเวชภัณฑ์ยา ด้านสถานที่ และความเข้าใจของ ผู้ปฏิบัติงานต่อการใช้ pain diary ส่วนปัญหาด้านผู้รับบริการ (ผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก) คือ ความพร้อม ของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักในการรับข้อมูล และทัศนคติต่อการใช้ยาระงับปวดมอร์ฟิน ทัศนคติต่อผู้ ให้บริการ และในขั้นตอนที่ 2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการจัดการความปวดโดย ผู้ดูแลนั้น ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันกำหนดประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง ที่ส่งผลต่อการพัฒนา โปรแกรมการจัดการความปวด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบ ประดับประคอง 2) ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และ ทักษะในการจัดการความปวดและการดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคอง 3) มี Kapanol® เพื่อใช้ในผู้ป่วยที่ใส่สายอาหาร 4) มีการแยกพื้นที่ในการให้บริการด้าน ยาแก่ผู้ป่วยระยะท้ายชัดเจน และ 5) ปรับปรุงแนวปฏิบัติงานและ พัฒนาโปรแกรมการจัดการความปวด โดยผู้ดูแล ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง การวิจัยแบ่งกระบวนการสร้างและพัฒนาเป็น 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ การวางแผน ปฏิบัติตามแผน การสังเกต และการสะท้อนผลการปฏิบัติ ผลลัพธ์ด้านผู้ให้ให้บริการ พบว่า ทีมผู้ให้บริการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบประกับประกองมากขึ้นหลังการ พัฒนาโปรแกรมการจัดการความปวดโดยผู้ดูแล ผู้ให้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยแบบ ประกับประคอง ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการเปรียบเทียบระ หว่างเดือนแรกกับเดือนที่ 3 ของการพัฒนา พบว่าค่ามัธยฐานคะแนนความปวดปัจจุบันและความปวดที่มากที่สุดใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยลดลงอย่าง มีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่คะแนนความปวดที่น้อยที่สุดใน 24 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน (p>0.05) จำนวน ปัญหาที่พบจากการใช้ยาลดลง โดยเฉพาะปัญหาผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ผู้ดูแลมีความรู้ความ เข้าใจในหลักการจัดการความปวดสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก แตกต่างจากก่อน การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ผู้ดูแลมีสมรรถนะแห่งตนในการจัดการความปวดสำหรับผู้ดูแล ผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง แตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ดูแลมี ความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับสูงen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601031009 อัทธยา พิจอมบุตร.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.