Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78425
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Sate Sampattagul | - |
dc.contributor.advisor | Tanongkiat Kiatsiriroat | - |
dc.contributor.advisor | Pruk Aggarangsi | - |
dc.contributor.author | Netchanakan Sununta | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-11T10:09:37Z | - |
dc.date.available | 2023-07-11T10:09:37Z | - |
dc.date.issued | 2021-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78425 | - |
dc.description.abstract | Thailand's waste problem has accumulated for a long time due to inadequate waste management. Much of Thailand's waste management is conducted by municipalities which continue to mainly use landfill method causing problems in terms of space management. If it is not managed well, it can result in many consequences ranging from overflowing waste, fire in landfills, and methane generated from landfills which is a key greenhouse gas (GHG) contributing to global warming and climate change. For this reason, the government has made solving waste problems a national agenda and formulated a national strategy to reduce GHG emissions to 20-25 percent by 2030. Although the policy has been clearly formulated, it is still unable to address these problems since the solution is inconsistent with the reality. One of the causes of these problems is the failure of inaccurate forecasts. Therefore, this research aims to evaluate GHG emissions from municipal waste management and to develop a multivariate gray model for forecasting waste and GHG emissions from municipal waste management that will occur in the future and for using the results to develop a suitable waste management method to reduce GHG emissions in a concrete way. The study evaluated GHG emissions from 90 municipal waste management sites, comprising 10 city municipalities, 55 town municipalities, and 25 subdistrict municipalities, based on the calculation method from the 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories Intergovernmental Panel on Climate Change: The IPCC. Primary data used were field visits through the project of Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) or TGO to ask for information on the amount of waste and the management model in all 90 municipalities. Secondary data were such as information on the composition of the waste based on the Pollution Control Department and studies from textbooks, manuals, or research published in academic journals. For the development of a model for forecasting the amount of waste and GHGs from municipal waste management using a multivariate gray model, factors affecting the amount of waste generated from interviews with 90 municipalities were analyzed to make the model consistent with the context of the municipality. Data from Nakhon Ratchasima City Municipality, Cha-am Town Municipality and Ban Klang Subdistrict Municipality were used to develop a prototype model for municipalities of similar sizes. The data used to develop the model were from two parts: 1) municipality, ie. the amount of waste, the population density and household size, and 2) National Statistical Office, i.e. the household expenditure, Gross Provincial Product and the proportion of labor. In addition, greenhouse gas reduction guidelines have been analyzed to provide guidelines for municipalities to use in their decision-making in selecting technologies that are appropriate for their contexts by referring to the method in calculating the amount of GHG reduction from Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER), solid waste management, sewage and waste materials project developed by TGO, which consists of five methods: 1) MSW Incineration, 2) production of compost or soil amendments from organic waste, 3) RDF production from MSW, 4) methane capture from anaerobic organic waste treatment for utilization and 5) methane recovery from MSW management for utilization or flaring. The findings showed that the city municipality had the highest - lowest GHG emissions of 147,826.98 - 2,493.67 tonCO2eq. The town municipality had the highest - lowest GHG emissions of 43,767.61 - 540.77 tonCO2eq. The subdistrict municipality had the highest - lowest GHG emissions of 11,435.99 - 14.98 tonCO2eq. The average GHG emissions of the city, town, and sub-district municipality were 45,012.52, 11,806.99 and 2,273.60 tonCO2eq, respectively. Waste management by landfill is not only the most popular method, but it is also the waste management method with the highest amount of GHG emissions. For waste management with different types of waste separation, in addition to reducing the amount of waste that goes to landfill, it can also help reduce the amount of GHG emissions. For the development of a model to predict the amount of waste and GHGs from municipal waste management in the future, the amount of waste generated affected the amount of GHGs. If the amount of waste increased, it also increased the amount of GHGs. The factors affecting forecasting varied depending on the nature of the data and the context of the municipality. GM (1,3) was the most suitable model for the city municipality. GM (1,4) was the most suitable model for town and subdistrict municipalities since it had the least MAPE value. The factor affecting the forecast of city municipality the most was gross provincial product, followed by population density. The factor affecting the forecast of town municipality the most was population density, followed by proportion of employment and household expenditure, respectively. The factor affecting the forecast of the subdistrict municipality the most was gross provincial product, followed by population density and household size, respectively. According to the analysis of the amount of greenhouse gas reduction from waste utilization in accordance with Thailand's policy using the methodology of Thailand Voluntary Emission Reduction Program, solid waste management, sewage and waste materials project developed by TGO, if the municipality maximizes the use of waste by collects CH4 from a landfill for electricity generation, using tree branches/leaves for composting, using organic waste to produce biogas and using plastic and paper waste to make RDF, it will reduce the amount of GHG emissions 1,016,094 tonCO2eq | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Evaluation of greenhouse gas emissions from municipal solid waste management and forecasting by multivariate grey model | en_US |
dc.title.alternative | การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะเทศบาลและการพยากรณ์โดยใช้เกรย์โมเดลแบบหลายตัวแปร | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Greenhouse gases | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Greenhouse gas mitigation | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Refuse and refuse disposal | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Waste minimization | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Sanitary landfill closures | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Pollution prevention | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปัญหาขยะของไทยเป็นปัญหาที่สะสมมานานเนื่องจากยังไม่มีการจัดการขยะที่ดีพอ การจัดการ ขยะในประเทศไทยส่วนใหญ่ดำเนินการโดยเทศบาลและยังคงใช้วิธีการฝังกลบเป็นหลัก ซึ่งการ ฝั่งกลบนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการจัดการพื้นที่แล้ว หากมีการจัดการที่ไม่ดีพอจะ ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะล้นบ่อ ไฟไหม้บ่อขยะ ยิ่งกว่านั้นคือ ก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากบ่อขยะซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งแม้ว่าจะมีการกำหนดนโยบายออกมาอย่างชัดเจนแต่ก็ยังไม่สามารถจัดการปัญหา เหล่านี้ได้ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง หนึ่งในสาเหตุของปัญหา เหล่านี้เป็นผลมาจากความล้มเหลวของการพยากรณ์ที่ไม่แม่นยำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระ จกจากการจัดการขยะเทศบาลและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เกรย์โมเดลแบบหลายตัวเปรสำหรับพยากรณ์ปริมาณขยะและก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ เทศบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำผลที่ได้ไปสู่แนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมและลดก๊าซ เรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป การศึกษาวิจัยนี้ทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะเทศบาล จำนวน 90 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนคร 10 แห่ง เทศบาลเมือง 55 แห่ง และเทศบาลตำบล 25 แห่ง โดย อ้างอิงวิธีการคำวณตามคู่มือ 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories มีการ ใช้ข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การลงพื้นที่ผ่านโครงการขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อสอบถามข้อมูลปริมาณขยะและรูปแบบการจัดการ ในพื้นที่เทศบาล ทั้ง 90 แห่ง และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลองค์ประกอบขยะที่อ้างอิงจากกรมควบคุมมลพิษ การศึกษา ค้นคว้าจากหนังสือ คู่มือ หรืองานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เป็นต้น สำหรับการพัฒนา แบบจำลองการพยากรณ์ปริมาณขยะและก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะเทศบาลโดยใช้หลักการ เกรย์โมเดลแบบหลายตัวแปร จะวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่เทศบาลทั้ง 90 แห่ง เพื่อให้แบบจำลองมีความสอดคล้องกับบริบทของเทศบาลและได้มีการ นำข้อมูลของเทศบาลนครนครราชีมา เทศบาลเมืองชะอำ และเทศบาลตำบลบ้านกลาง มาใช้ในการ พัฒนาแบบจำลองเพื่อเป็นต้นแบบให้กับเทศบาลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ในการนำผลที่ได้จากการ คำนวณเกรย์โมเดลแบบหลายตัวแปร ไปใช้ในการคาดการณ์ปริมาณขยะและก๊าซเรือนกระจกได้อย่าง แม่นยำ สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองมาจาก 2 ส่วน คือ 1) จากเทศบาล ได้แก่ ปริมาณ ขยะ ความหนาแน่นของประชากร และขนาดครัวเรือน 2) อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้แก่ ส่วนค่าใช้จ่ายครัวเรือน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และสัดส่วนของแรงงาน นอกจากนี้ได้มีการ วิเคราะห์แนวทางการลดก๊ซเรือนกระจกเพื่อเป็นแนวทางให้กับเทศบาลในการนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง โดยอ้างอิงวิธีการคำนวณปริมาณการลด ก๊าซเรือนกระจกจากโครงการลดก๊ซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ประเภท โกรงการการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และวัสดุเหลือใช้ที่ อบก. พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ระเบียบวิธี ได้แก่ 1) การเผาขยะมูลฝอยชุมชนด้วยเตาเผา 2) การผลิตปุ้ยหรือสารปรับปรุงดินจากขยะ อินทรีย์ 3) การผลิตเชื้อเพลิงขยะจากขยะมูลฝอยชุมชน 4) การกักเก็บก๊าซมีเทนจากการหมักขยะ อินทรีย์แบบไร้อากาศขนาดเล็กเพื่อนำไปใช้ประ โซชน์ และ 5) การรวบรวมก๊าซมีเทนจากการจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือเผาทำลาย จากผลการศึกษาของงานวิจัยครั้งนี้ พบว่า เทศบาลนครมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการ จัดการขยะอยู่ในช่วงระหว่าง 147,826.98 ถึง 2,493.67 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เทศบาลเมือง มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระ จกจากการจัดการ ขยะอยู่ในช่วงระหว่าง 43,767.61 ถึง 540.77 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และเทศบาลตำบลมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะอยู่ ในช่วงระหว่าง เท่ากับ 11,435.99 ถึง 14.98 ตันคาร์บอน ใดออกไซด์เทียบเท่า ค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกจากการจัดการขยะของเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล เท่ากับ 45,012.52, 11,806.99 และ 2,273.60 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามลำดับ โดยการจัดการขยะด้วยวิธีการ ฝังกลบนอกจากจะเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดแล้ว ยังเป็นวิธีการจัดการขยะที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกมากที่สุดอีกด้วย สำหรับการจัดการขยะที่มีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ นอกจากจะเป็นการช่วยลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบแล้วยังสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ได้อีกด้วย สำหรับการพัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ปริมาณขยะและก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ เทศบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พบว่า ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นนั้นล้วนส่งผลต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจก หากปริมาณขยะเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการ พยากรณ์จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและบริบทของเทศบาล โคยแบบจำลอง GM (1,3) เป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเทศบาลนคร GM (1,4) เป็นแบบจำลองที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล เนื่องจากมีค่า MAPE น้อยที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อ การพยากรณ์ของเทศบาลนครมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด รองลงมา คือ ความหนาแน่น ของประชากร ตามลำดับปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ของเทศบาลเมืองมากที่สุด คือ ความหนาแน่น ของประชากร รองลงมา คือ สัดส่วนการจ้างงาน และค่าใช้จ่ายครัวเรือน ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มี ผลต่อการพยากรณ์ของเทศบาลตำบลมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด รองลงมา คือ ความ หนาแน่นของประชากร และขนาดของครัวเรือน ตามลำดับ ในส่วนการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลคลงได้จากการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดตามนโยบายของประเทศไทยโดยใช้หลักการของระเบียบวิธีของโครงการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ประเภทโครงการการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และ วัสดุเหลือใช้ที่ อบก. พัฒนาขึ้น พบว่า หากเทศบาลสามารถนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย รวบรวมก๊าซมีเทนจากหลุมฝั่งกลบเพื่อผลิตไฟฟ้า นำกึ่งไม้/ใบไม้ผลิตสารปรับปรุงดิน ขยะอินทรีย์ ผลิตก๊าซชีวภาพ ขยะพลาสติกและกระดาษผลิต RDF จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากการคำเนิน โครงการลงได้ถึง 1,016,094 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590651022 เนตรชนากานต์ สุนันตา.pdf | 35.97 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.