Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณภา นบนอบ-
dc.contributor.advisorอิ่มใจ ชิตาพนารักษ์-
dc.contributor.authorอริศรา จิระวรรธนะen_US
dc.date.accessioned2023-07-09T07:10:23Z-
dc.date.available2023-07-09T07:10:23Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78402-
dc.description.abstractIntroduction: Helical Tomotherapy (HT) is the recent treatment technique for post-mastectomy radiation therapy (PMRT) with regional nodal irradiation (RNI). HT can deliver highly conformal dose distribution to the tumor while avoiding the high dose to the organ at risk (OARs). However, HT increases in the low-dose region due to the 360-degree treatment delivery. Therefore, using the block structure to limit the beam direction is the alternative technique for helical tomotherapy treatment planning. Purpose: To improve helical tomotherapy plan efficiency by using virtual structures with block techniques, and compare the efficacy to reduce the radiation dose to OARs, low dose volume and treatment time for determining the suitable planning technique for left-sided PMRT with RNI. Method: Ten left-sided PMRT with the chest wall and regional nodal irradiation who treated by HT. Six virtual block structures were created as organ-based virtual block with a margin of 2 cm and 3 cm from PTV (OB2cm and OB3cm respectively), L-shaped virtual block inside and outside body contour (LB In and LB Out respectively), and C-shaped virtual block with a margin of 9 cm and 10 cm from PTV (CB9cm and CB10cm respectively). Furthermore, all six techniques were compared with the reference plans including Unblocked and Organ-based directional block (OBDB). The target coverage, homogeneity index, conformation number, OARs dose, whole-body volume received dose 5 Gy (V5Gy), integral dose, treatment time, and block structure contouring workload of the six virtual block techniques were assessed. The plan quality scores were used to investigate the suitable technique. Result: Overall dosimetric comparison, the CB9cm plans can reduce the low dose to the contralateral breast but significantly increased in treatment time and block structure contouring workload with the highest plan quality score. However, the LB Out plans can achieve acceptable criteria and significantly reduced treatment time and block structure contouring workload when compared with other plans. Furthermore, the LB Out technique showed the highest plan quality score when considering in plan efficiency parameters. Conclusion: The LB Out is the suitable technique for helical tomotherapy treatment planning for Left-sided PMRT with RNI because LB out decreases the low dose volume and reduces the treatment time while achieving acceptable criteria for OARs.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับปรุงประสิทธิภาพแผนรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนโดยใช้เทคนิคการจำกัดทิศทางลำรังสีสำหรับการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดด้านซ้ายen_US
dc.title.alternativeImprovement of helical tomotherapy plan efficiency with block technique for left-sided post-mastectomy radiation therapyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเต้านม -- มะเร็ง-
thailis.controlvocab.thashเต้านม -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบทนำ: ปัจจุบันการฉายรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนเป็นเทคนิคในการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดที่รอยโรคครอบคลุมบริเวณต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากสามารถทำให้การกระจายปริมาณรังสีเข้ารูปกับอวัยวะเป้าหมาย และหลีกเลี่ยงปริมาณรังสีสูงต่ออวัยวะปกติข้างเคียงได้ดี แต่พบว่าปริมาตรร่างกายที่ได้รับปริมาณรังสีต่ำครอบคลุมบริเวณกว้าง เนื่องจากลำรังสีมีทิศทางมาจากรอบตัวผู้ป่วย ทำให้แนวทางในการจำกัดทิศทางลำรังสี เป็นทางเลือกหนึ่งในการวางแผนรังสีรักษาผู้ป่วยฉายรังสีเทคนิคตัดขวางแบบเกลียวหมุน วัตถุประสงค์: เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพแผนรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนโดยใช้เทคนิคโครงร่างจำลองจำกัดทิศทางลำรังสี และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดปริมาณรังสีแก่อวัยวะสำคัญข้างเคียง ปริมาตรที่ได้รับปริมาณรังสีต่ำ และระยะเวลาในการฉายรังสี เพื่อกำหนดวิธีการจำกัดลำรังสีที่เหมาะสมในการวางแผนรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดด้านซ้ายที่ครอบคลุมบริเวณต่อมน้ำเหลือง วิธีการวิจัย: วางแผนรังสีรักษาเทคนิคตัดขวางแบบเกลียวหมุนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้านซ้ายที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณผนังทรวงอกและต่อมน้ำเหลือง จำนวน 10 ราย โดยใช้โครงร่างจำลองในการจำกัดทิศทางเข้าลำรังสี จำนวน 6 รูปแบบ ได้แก่ 1. เทคนิคโครงร่างจำลองตามรูปร่างอวัยวะปกติที่ขยายระยะห่างจากรอยโรค 2 เซนติเมตร (OB2cm) และ 3 เซนติเมตร (OB3cm) 2.เทคนิคโครงร่างจำลองรูปตัวแอลภายใน (LB In) และภายนอกลำตัวผู้ป่วย (LB Out) 3. เทคนิคโครงร่างจำลองรูปตัวซีแนบกับผิวลำตัวด้านนอกของผู้ป่วย โดยมีระยะห่างจากรอยโรค 9 เซนติเมตร (CB9cm) และ 10 เซนติเมตร (CB10cm) และเปรียบเทียบกับเทคนิคที่ไม่ใช้โครงร่างจำลองที่กำหนดให้เป็นเทคนิคอ้างอิง ได้แก่ เทคนิคไม่จำกัดทิศทางเข้าลำรังสี (Unblocked) และเทคนิคจำกัดทิศทางเข้าลำรังสีโดยกำหนดตัวเลือกจากอวัยวะปกติข้างเคียง (OBDB) โดยใช้การประเมินค่าตัวแปรเชิงรังสีคณิตได้แก่ ความครอบคลุมอวัยวะเป้าหมาย ดัชนีความสม่ำเสมอ ดัชนีความเข้ารูป ปริมาณรังสีที่อวัยวะปกติข้างเคียงได้รับ ปริมาตรร่างกายที่ได้รับปริมาณรังสีอย่างน้อย 5Gy ปริมาณรังสีรวมที่ปริมาตรร่างกายได้รับ ระยะเวลาในการฉายรังสี และระยะเวลาในการสร้างโครงร่างก่อนเริ่มวางแผนรังสีรักษา และใช้คะแนนคุณภาพแผนรังสีรักษาในการหาเทคนิคที่เหมาะสม ผลการวิจัย: จากการประเมินค่าตัวแปรเชิงรังสีคณิตทั้งหมดพบว่า เทคนิค CB9cm มีคะแนนคุณภาพแผนรังสีรักษารวมสูงสุด ซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีต่ำที่เต้านมด้านตรงข้ามรอยโรคได้ดี แต่ใช้ระยะเวลาในการฉายรังสีและระยะเวลาในการสร้างโครงร่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่เทคนิค LB Out สามารถทำให้ปริมาณรังสีที่อวัยวะเป้าหมายและอวัยวะข้างเคียงปกติผ่านเกณฑ์การยอมรับ และสามารถลดระยะเวลาในการฉายรังสีและระยะเวลาในการสร้างโครงร่างจำกัดทิศทางได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น โดยมีคะแนนรวมสูงสุดเมื่อพิจารณาจากตัวแปรเชิงประสิทธิภาพแผนรังสีรักษา สรุปผลการวิจัย: เทคนิค LB Out เหมาะสมสำหรับการวางแผนรังสีรักษาเทคนิคตัดขวางแบบเกลียวหมุนในการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดด้านซ้ายที่รอยโรคครอบคลุมบริเวณต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดปริมาตรที่ได้รับปริมาณรังสีต่ำ และลดระยะเวลาในการฉายรังสีโดยที่ปริมาณรังสีที่อวัยวะเป้าหมายและอวัยวะข้างเคียงปกติผ่านเกณฑ์การยอมรับen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620731010 นส.อริศรา จิระวรรธนะ.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.