Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78354
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรชร มณีสงฆ์-
dc.contributor.authorอานุวัฒน์ อินล๊อกฟองen_US
dc.date.accessioned2023-07-07T00:58:22Z-
dc.date.available2023-07-07T00:58:22Z-
dc.date.issued2021-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78354-
dc.description.abstractThis independent study aimed to study attitude of pharmaceutical sales representatives towards impact of artificial intelligence (AI) on sales jobs. In this study, data collection was relied on the specific method to gather data from pharmaceutical sales representatives in Thailand in which three attitude components i.e. cognitive component, affective component, and behavioral component were in focus. Based upon Taro Yamane’s sample population calculation formula, questionnaires were distributed, accordingly to the purposive sampling, to 281 pharmaceutical sales representatives in Thailand. Then, the data obtained were analysed by the statistics i.e. percentage, mean, standard deviation; and t-test in order to find attitude’s priority value of the pharmaceutical sales representatives towards impact of artificial intelligence (AI) on sales jobs in Thailand. The finding revealed that most respondents were female in the age of 31-40 years old with the education background in Bachelor’s degree. Their monthly income (as counted only from the monthly wage) was 50,001 Baht or more and their working period as the pharmaceutical sales representative was over 5 years. Most of them worked at Sandoz company in the position of Sales Representative. Their company had used AI: Veeva and other operating systems, in their business for over 4 years. These operating systems could demonstrate current and previous circulations of the company itself or even its competitors as reference for marketing strategy planning and sales reporting. In terms of customer relationship management, the AI was applied for meeting arrangement and creating sales opportunities. It was also used as the main tool to construct marketing strategies, especially in increasing sell and launching new product for continuing customers. In addition, the AI was applied in discovering customer requirements and conveying the sales representatives to propose the right products with preferable benefits to the customers in accordance with the customer behavior prediction’s results. Results of the study on attitude of pharmaceutical sales representatives towards impact of AI on sales jobs in Thailandpresented that the behavioral component had the highest level of mean value. The top three sub-components included the capacity of AI in delivering data to a large number of customers at one time; the need of inputting every new data into the system as the AI could not detect data by itself at the beginning; and the accessibility to Big Data to increase sale efficiency, respectively. In consideration of the length of working period, the results suggested that attitudes of those with less than 5 years and with over 5 years of working periods in cognitive and affective components were indifferent. In behavioral component, those with less than 5 years of working period trusted in traditional sales system much more than the AI’s; while those with over 5 years of working period were ready to adjust themselves to rely their works on AI. In consideration of the current company where the pharmaceutical sales representatives were working at, the results suggested that attitudes of the pharmaceutical sales representatives from both original and local pharmaceutical companies in cognitive and affective components were indifferent. In behavioral component, those who worked at original pharmaceutical companies could apply their works and cooperated with AI well; while those who worked at local pharmaceutical companies were ready to adjust themselves to rely their works on AI. In consideration of the length of duration in applying AI to the jobs, the results suggested that attitudes of those with less than 4 years and with over 5 years of duration in applying AI to the jobin cognitive, affective, and behavioral components were indifferent.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติของผู้แทนยาต่อผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่องานของผู้แทนยาในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeAttitude of pharmaceutical sales representatives towards impact of artificial intelligence on sales jobs in Thailanden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashผู้แทนยา-
thailis.controlvocab.thashปัญญาประดิษฐ์-
thailis.controlvocab.thashเภสัชกร-
thailis.controlvocab.thashพนักงานขาย-
thailis.controlvocab.thashการบริบาลทางเภสัชกรรม -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashการขาย -- ยา -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้แทนยาต่อผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การเก็บข้อมูลแบบเจาะจง (Specific Method) ผู้แทนยาในประเทศไทยในองค์ประกอบทัศนคติทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึกหรืออารมณ์ และด้านพฤติกรรม จากแบบสอบถามโดยใช้สูตรการคำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 281 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าทางสถิติ ได้แก่ การหาค่าอัตราร้อยละ มีรายงานตารางแจกแจง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานการแจกแจงแบบที่ (t-test) ของค่าลำดับความสำคัญของทัศนคติของผู้แทนยาต่อผลกระทบของ Artificial Intelligence (AI) ต่อาชีพผู้แทนยาในประเทศไทย จากผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 -40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ (เฉพาะเงินเดือน) 50,001 บาทขึ้นไป ซึ่งมีระยะเวลาการทำงานในอาชีพผู้แทนยา 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ทำงานที่บริษัท Sandoz ตำแหน่งผู้แทนยา โดยมีการนำระบบ AI มาใช้ในการทำงานเป็นระยะเวลา 4 ปีขึ้นไป ซึ่งระบบ AI ที่บริษัทนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการ Veeva และระบบปฏิบัติการอื่น ๆ โดยที่ระบบปฏิบัติการดังกล่าวสามารถแสดงยอดขายปัจจุบันและย้อนหลังของบริษัทตนเองหรือคู่แข่งได้เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทรวมไปถึงการนำมาใช้ในการทำรายงานการขาย ส่วนทางด้านการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า มีการนำระบบ AI มาช่วยในการกำหนดประชุม และช่วยในเรื่องการสร้างโอกาสในการขาย การนำระบบ AI มาช่วยสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ในเรื่องของการขายเพิ่ม (Increase sell) หรือขายสินค้าใหม่ (New product) ให้กับลูกค้ารายเดิม และการนำระบบ AI มาช่วยในเรื่องของการค้นพบความต้องการของลูกค้าและสามารถขายสินค้าด้วยการคาดเดาพฤติกรรมของผู้ซื้อให้ตรงกับสินค้าและประโยชน์ที่ได้รับ จากผลการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของผู้แทนยาต่อผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่ออาชีพผู้แทนยาในประเทศไทย พบว่า ทัศนคติทางด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูงสุด เมื่อพิจารณาปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ย 3 ลำดับแรก คือ ระบบ AI สามารถส่งข้อมูลให้กับลูกค้าจำนวนมากในเวลาเดียวกัน รองลงมา คือ ระบบ AI ต้องมีการป้อนข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากยังไม่สามารถหาข้อมูลได้เองในช่วงแรก และระบบ AI ช่วยให้ผู้แทนยาสามารถข้าถึงข้อมูลชุดใหญ่ (Big Data) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายได้ ตามลำดับ เมื่อทำการจำแนกตามระยะเวลาการทำงาน พบว่า ระยะเวลาในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี และระยะเวลาในการทำงาน 5 ปีขึ้นไปมีทัศนคติต่อผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ ด้านความเข้าใจและด้านความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านพฤติกรรม ผู้แทนยาที่มีระยะเวลาในการทำงานต่ำกว่า 5 ปีนั้นมีความเชื่อมั่นในระบบการขายแบบเดิมมากกว่าการใช้งานระบบ AI แต่ผู้แทนยาที่มีระยะเวลาในการทำงาน 5 ปีขึ้นไปนั้นมีความพร้อมในการปรับตัวต่อ Al เมื่อจำแนกตามบริษัทที่ทำงานในปัจจุบัน พบว่า ผู้แทนยาที่ทำงานในบริษัทยาต้นฉบับและบริษัทยาเลียนแบบมีทัศนคติต่อผลกระทบของปัญญาประดิบฐ์ ด้านความเข้าใจและด้านความรู้สึกหรืออารมรณ์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านพฤติกรรม ผู้แทนยาที่ทำงานในบริษัทยาต้นฉบับสามารถประยุกต์การทำงานและ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับระบบ AI แต่ผู้แทนยาที่ทำงานในบริษัทยาเลียนแบบนั้นมีความพร้อมในการปรับตัวต่อ AI เมื่อจำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ระบบ AI พบว่า ผู้แทนยาที่ใช้ระบบ AI ต่ำกว่า 4 ปี และผู้แทนยาที่ใช้ระบบ AI มากกว่า 4 ปี มีทัศนคติต่อผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้สึกหรืออารมรณ์ และด้านพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532072 อานุวัฒน์ อินล๊อกฟอง.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.